SEMINAR IN CONJUNCTION WITH INTERNATIONAL DAY OF THE DISAPPEARED โครงการเสวนาทางวิชาการเนื่องในวันผู้สูญหายสากล

30 August 2010
Jamjuree Room 2, Pathumwan Princess Hotel, Bangkok, Thailand

This seminar aims to
(i) To create understanding and raise awareness of the General Comment on the right to the truth in relation to enforced disappearance;
(ii) To share thoughts on how to implement this general comment into the Thai society;
(iii) To campaign for the Thai government to urgently ratify the International Convention and remark the day to commemorate victims and the struggle of victimsˇ family around the world; and
(iv) discuss legal aspects regarding the ratification of the convention. The seminar brings together representatives from various government departments, academic, members of civil society and victims of disappeared.หัวข้อ สังคมไทยกับการเข้าถึงสิทธิในการรับทราบความจริงกรณีการบังคับบุคคลสูญหาย: พิจารณาสิทธิในการรับทราบความจริงจากการอรรถาธิบายความอนุสัญญาป้องกันการบังคับบุคคลสูญหายของสหประชาชาติ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ตั้งแต่เวลา 09.00-12.30น.

ณ ห้องประชุม จามจุรี 2 โรงแรมปทุมวัน พริ๊นเซส กรุงเทพฯ

Programme

08:30-09:00 Registration
09:00-09:30 Opening Remarks

– Minister, Ministry of Foreign Affairs, Mr. Kasit Piromya**
– General Deputy, Rights and Liberties Protection Department , Ministry
of Justice, Mrs. Suwanna Suwannajuta

09:30 – 12:00 Panel Discussion:

“Thai society and the right to know the truth on the disappearance case:
In view of the right to know the truth from the general comment of the
International Convention on the Protection of All Persons from Forced
Disappearance”

1. Prof. Vitit Muntraporn, Faculty of Law, Chulalongkorn University
2. Dr. Kittipong Kittiyarak, Permanent Secretary, Ministry of Justice **
3. Mr. Basil Fernando, President, Asian Human Rights Commission
4. Mrs. Angkhana Neelapaijit, President, Justice for Peace Foundation

Moderator: Ms. Pratubjit Neelapaijit, Justice for Peace Foundation
12:00-12:30 Roundtable Discussion:
(with participation by the victimˇs network and audience)

* 10.00-10.15
Break

** Names in italics indicate speakers who have yet to confirm their
participation.
***Simultaneous translation will be provided.

หลักการและเหตุผล

วันที่ 30- 31 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันที่ทั่วโลกร่วมกันรำลึกถึงผู้ถูกบังคับให้สูญหาย และถือเป็นวันผู้สูญหายสากล (The International Day of the Disappeared) ซึ่งเป็นวันที่คนทั่วโลกมาร่วมกันเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม หรือการปราบปรามการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอยู่ในหลายประเทศ และส่งผลให้มีผู้สูญหายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ความหมายของ การบังคับให้บุคคลสูญหาย ตามอนุสัญญาการป้องกันบุคคลจากการบังคับให้สูญหายขององค์การสหประชาชาติ (The International Convention on The Protection of All Persons from Forced Disappearance) หมายถึงการทำให้บุคคลสูญเสียเสรีภาพไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดหรือด้วยเหตุผลใดซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มคนที่กระทำโดยการได้รับคำสั่ง ได้รับการสนับสนุน หรือการยินยอมจากรัฐ และรวมทั้งการไม่เปิดเผยข้อมูลหรือการปฏิเสธในการรับรู้ถึงการสูญเสียเสรีภาพหรือการสูญหายของบุคคล หรือการปิดบังข้อมูลความจริงหรือสถานที่ของบุคคลผู้สูญหาย ภายใต้คำจำกัดความนี้บุคคลทั้งหมดนี้ได้กระทำการหรือสั่งให้มีการปิดบังหรือไม่เปิดเผยถิ่นพำนักของบุคคลที่หายตัวไป ก็จัดว่าเป็นการกระทำภายใต้การทำให้บุคคลสูญหายตามอนุสัญญาฯฉบับนี้ด้วย

ในประเทศไทย บรรดาครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหายทั่วประเทศได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้ถูกบังคับให้สูญหายโดยถือเอาวันที่ 30 สิงหาคมเป็นวันแห่งการรำลึกถึงผู้เป็นที่รักของตนและร่วมแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับญาติผู้สูญหายทั่วโลกที่ต่างต้องเผชิญกับ “ความไม่รู้” ชะตากรรมของผู้ถูกบังคับให้สูญหายเหล่านั้นมาตั้งแต่ปี 2549 อาทิเช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อรำลึกถึงบรรดาผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทย ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นอกจากนี้ครอบครัวผู้สูญหายในประเทศไทยยังคงผนึกกำลังกับองค์กรภาครัฐและประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชนในการรณรงค์ให้ประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาป้องกันการบังคับให้บุคคลสูญหายของสหประชาชาติ (The International Convention on The Protection of All Persons from Forced Disappearance) ที่ผ่านความเห็นชอบจากนานาประเทศเมื่อปี 2549 เพื่อยุติปัญหาการบังคับบุคคลสูญหายโดยปราศการการรับผิดชอบจากผู้มีส่วนก่ออาชญากรรม และเพื่อเพิ่มพูนความสามารถและวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนด้านการเข้าถึง “ความจริง” เกี่ยวกับกรณีถูกบังคับสูญหายของเหยื่อจำนวนมากอันจะเป็นบทเรียนล้ำค่าสำหรับการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย

“สิทธิในการรับทราบความจริง” (Right to know the Truth) ในกรณีการบังคับบุคคลสูญหายถือเป็นหัวใจสำคัญของอนุสัญญาป้องกันการบังคับให้บุคคลสูญหายของสหประชาชาติ (The International Convention on The Protection of All Persons from Forced Disappearance) สิทธิดังกล่าวยังได้ถูกเน้นย้ำถึงในกฎหมายระหว่างประเทศที่รับรองโดยสหประชาชาติอีกหลายฉบับ ซึ่งต่อมาคณะทำงานด้านปัญหาการบังคับบุคคลสูญหาย หรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติ (UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances- UNWGEID) นำหลักการแห่งสิทธิดังกล่าวมาอรรถาธิบายเพิ่มเติมอย่างเป็นเอกเทศว่า สิทธิการรับทราบความจริง (ในกรณีคดีบังคับบุคคลสูญหาย) หมายถึงสิทธิที่จะรับทราบตลอดกระบวนการและผลลัพธ์ของกระบวนการสืบสวนสอบสวน รวมทั้งรับทราบชะตากรรมของผู้สูญหาย สภาพการณ์ที่เกิดการสูญหาย และรวมทั้งผู้ก่ออาชญากรรม ทั้งนี้การอรรถาธิบายเพิ่มเติมนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการพัฒนาเครื่องมือ และกลไกที่มีประสิทธิภาพในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ และมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลในการปกป้องส่งเสริมสิทธิทั้งในระดับบุคคลและสังคม เนื่องจากเน้นย้ำการแสดงข้อเท็จจริงที่ได้ต่อสาธารณะด้วย

ในบริบทของสังคมไทย ปัญหาการบังคับบุคคลสูญหายเกิดขึ้นมายาวนานและส่งผลกระทบ อันใหญ่หลวงต่อเหยื่อ ครอบครัว ชุมชนและสังคม รวมทั้งระบบนิติรัฐของสังคมไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้จะมีการร้องเรียนเรื่องการบังคับสูญหายของผู้คนในสังคมไทย แต่กระบวนการยุติธรรมไทยก็ดูเฉยเมยต่อการแสดงความจริงจังในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ อีกทั้งองค์ความรู้ทางกฎมายไทยก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่า หากไม่ปรากฏศพผู้เสียชีวิต กฎหมายไทยจะรับผิดชอบ และเยียวยาครอบครัวผู้สูญหายอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อผู้บังคับให้บุคคลต้องสูญหายคือเจ้าหน้าที่รัฐ โดยสิ่งที่ครอบครัวผู้สูญหายต้องประสบมาโดยตลอดคือการปกปิดข้อมูล การทำลายพยานหลักฐาน และการข่มขู่คุกคามพยาน เป็นผลให้ญาติพี่น้องผู้สูญหายเกิดความไม่ไว้วางใจต่อกระบวนการร้องเรียนและการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมเรื่องการบังคับให้บุคคลต้องสูญหาย อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ทางรัฐบาลของประเทศไทยส่งสัญญาณที่ดีในการลงนามในอนุสัญญาป้องกันการบังคับบุคคลสูญหายของสหประชาชาติ ดังนั้นมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (Justice for Peace Foundation) ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาพันธ์คนหายแห่ง จึงถือเอาวันที่ 30 สิงหาคม 2553 ซึ่งตรงกับวันรำลึกถึงผู้สูญหายสากลเป็นโอกาสในการหยิบยกเอาประเด็นเรื่อง “ สิทธิในการรับทราบความจริง ” มาร่วมคิด และแลกเปลี่ยนถกเถียงเพื่อแสวงหาแนวทางร่วมกันในการเข้าถึงความจริงเพื่อใช้นำทางไปสู่ความสันติสุขที่ประกอบขึ้นด้วยความเป็นธรรมทางสังคม

จุดประสงค์การจัดงาน

1.เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเรื่อง สิทธิในการรับทราบความจริงตามอนุสัญญาป้องกันการบังคับบุคคลสูญหายแห่งสหประชาชาติ (General Comment on the right to the truth in relation to enforced disappearances)

2.เพื่อแลกเปลี่ยนถึงเงื่อนไขการปรับใช้ และเข้าถึงสิทธิดังกล่าวภายใต้บริบทสังคมไทย

3.เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศฯ อย่างเร่งด่วน และเป็นโอกาสในการแสดงความเคารพและรำลึกถึงเหยื่อและการต่อสู้ของบรรดาญาติทั่วโลก

เป้าหมายผู้เข้าร่วม

กลุ่มเครือข่ายครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทย องค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคม สื่อมวลชน บุคคลทั่วไปผู้สนใจทั้งระดับประเทศและนานาชาติ จำนวน 70 ท่าน

เอกสารประกอบการเสวนา

คำอรรถาธิบายเรื่อง สิทธิในการรับทราบความจริงโดยคณะทำงานด้านปัญหาการบังคับบุคคลสูญหาย สหประชาชาติ (General Comment on the right to the truth in relation to enforced disappearances)

องค์กรร่วมจัด

มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

กรมคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมาพันธ์คนหายแห่งเอเชีย

** ร่าง **

กำหนดการ

08.30 – 9.00 ลงทะเบียน

09:00 – 09.15 กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน

นางสุวณา สุวรรณจูฑะ**

อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

09.10 –09.30 กล่าวเปิด

นาย กษิต ภิรมย์ **

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ

09.30 – 12.00 การเสวนา หัวข้อ

“สังคมไทยกับการเข้าถึงสิทธิในการรับทราบความจริงกรณีการบังคับบุคคลสูญหาย: พิจารณาสิทธิในการรับทราบความจริงจากการอรรถาธิบายความอนุสัญญาป้องกันการบังคับบุคคลสูญหายของสหประชาชาติ”

ร่วมเสวนาโดย

ศ.วิทิต มันตราภรณ์

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.กิตติพงษ์ กิตติยารักษ์**

ปลัดกระทรวงยุติธรรม

Mr. Basil Fernando

ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย

นางอังคณา นีละไพจิตร

ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

12.00 – 12.30 อภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นโดยผู้เข้าร่วม

เสนอความคิดเห็นโดยตัวแทนญาติผู้สูญหายในประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย

น.ส. ประทับจิต นีละไพจิตร

มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

**วิทยากรอยู่ในระหว่างการติดต่อ

*** พักรับประทานอาหารว่างเวลา 10 .00 –10.15น.

**** มีล่ามแปลภาษาตลอดรายการ