End Violence Now!แถลงการณ์ขอให้ยุติความรุนแรงทุกชนิด

The political conflict since 14 March 2010 between the United Front of Democracy against Dictatorship (UDD) and the government of Prime Minister Abhisit Vejjajiva has led to violence, human rights abuses and danger to the lives and property of the people to an unprecedented degree in Thai society. Since April 10th 2010 to May 13th 2010 the government through the Centre for the Resolution of the Emergency Situation (CRES), under the leadership of the armed forces and police, has declared ‘containment’ measures to resolve the crisis by carrying out suppression measures through imposing the Emergency Decree 2005 17 provinces. This empowers the state to use force to control the area around protest sites, prevent movement, cut off communications, cut off public utilities (electricity and water) and prevent supply trucks containing food and water from entering the area. At the same time, some groups of protestors are using force to respond to the government’s measures. This has resulted in ongoing violence to an extent that is difficult to control and affects broader sections of the innocent population.

This kind of situation may be described as Thailand entering a state of turmoil, civil war or “internal unrest” where fundamental rights of the individual to conduct her/his life have been violated. This is contrary to the Universal Declaration of Human Rights (UDHR) and especially International Humanitarian Law (IHL) which are binding on all member states of the United Nations in cases of armed conflict.

WGJP, as a local human rights organization, expresses its deep regret that this situation has arisen and wished to condemn all parties that practice violence. WGJP calls for an end to all uses of violence. WGJP therefore calls on all parties, especially those using violence, as follows.

จากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง นับแต่วันที่ 14 มีนาคม 2553 ระหว่างแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนนำมาสู่ความรุนแรง การละเมิดสิทธิมนุษยชน และความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทย นับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2553 เรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 รัฐบาล โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ซึ่งนำโดยกองกำลังทหารและตำรวจ ได้ประกาศใช้มาตราการ “ปิดล้อม” กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. เพื่อพยายามคลี่คลายวิกฤต โดยได้ดำเนินมาตรการกดดัน ด้วยการประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และประกาศกฎอัยการศึกใน 17 จังหวัด ซึ่งให้อำนาจรัฐในการใช้กำลังปิดล้อมพื้นที่รอบบริเวณที่ชุมนุม ไม่ให้มีการสัญจรไปมา ปิดการสื่อสาร มีการตัดสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา ห้ามมิให้รถเสบียงนำอาหารและน้ำเข้าไปในพื้นที่ ในขณะเดียวกันได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนที่ใช้กำลังตอบโต้กับมาตราการของรัฐบาล ดังปรากฎเป็นความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจน ยากที่จะควบคุมได้ และส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์

เหตุการณ์ในลักษณะนี้อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะของการจลาจล สงครามการเมือง หรือ “ความไม่สงบภายใน” ที่มีการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของบุคคล อันเป็นการขัดกับหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) ซึ่งมีผลบังคับใช้กับทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ ในกรณีเกิดการสู้รบขึ้น
คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ในฐานะที่เป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง ขอประนามผู้ที่ก่อความรุนแรงทุกฝ่าย ขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงทุกชนิด ทั้งนี้คณะทำงานฯ มีข้อเรียกร้องต่อทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้ที่ใช้ความรุนแรงดังนี้

1.To strictly uphold International Humanitarian Law, especially in preventing violations of the rights of civilians, children, women, detainees, and those not involved with the conflict. The wounded must receive immediate treatment regardless of race, religion, gender, economic status or political beliefs or principles. The practice of torture is forbidden. Enforced disappearances and actions that degrade human dignity are forbidden. It is forbidden to pass any sentence that does not follow the judicial process in an independent and public court. This all accords with the content of the Fourth Geneva Convention on the protection of civilians in a time of war or armed conflict and the 2nd Additional Protocol to the Geneva Convention on the protection of victims of non-international armed conflict such as civil war and conflict between the government and insurgent forces (www.icrc.org).

2.To uphold and respect the basic human rights of all parties, especially the right to freedom of expression and the right to political expression which are guaranteed under the Thai constitution international law. Demonstrations must peaceful without weapons and at the same time if it is necessary for the state to end the protest, this must respect international rules of engagement and must especially protect the lives of protestors.

3.To call for the state to revoke the declaration of the use of the Emergency Decree in all areas and for protestors to stop using weapons of any kind and return to the demonstration peacefully and strictly according to rule of law in order to reduce any conditions that will lead to violence. The state should also use this approach to revoke the emergency decree in the Southern Border Provinces.

4.To call for the government and groups of demonstrators who support and oppose the government to use conscience and wisdom, based on patience and restraint in solving this problem in order to overcome this crisis together. All parties must show sincerity in the need to end violence without regard to personal benefits or wishes. All must apply non-violent means, respect the law and to be ready to show responsibility to the wounded and the killed. All parties must be subject to a fair trial under the judicial system and return to negotiations to prevent events from spreading to the point where the damage cannot be made good. WGJP presents this statement for the benefit of all the people of Thailand.

In solidarity,
Working Group on Justice for Peace (WGJP)

1.ให้ยึดหลักการของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการต้องปกป้องการละเมิดสิทธิต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับพลเรือน เด็ก สตรี ผู้ที่ถูกจับ และบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง รวมถึงผู้บาดเจ็บต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยทันที ไม่มีข้อยกเว้นหรือเลือกปฎิบัติทางด้าน เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความเชื่อถือหรืออุดมการณ์ทางการเมือง ห้ามมิให้มีการซ้อมทรมาน ห้ามมิให้มีการบังคับบุคคลให้สูญหาย หรือ การกระทำใดที่อาจเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และห้ามมิให้มีการตัดสินลงโทษใดๆที่ไม่ผ่านกระบวนการวินิจฉัยโดย ศาลที่เป็นอิสระ และโปร่งใส ทั้งนี้เป็นไปเนื้อความในอนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหาร และ พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 2 ว่าด้วยการคุ้มครองพลเรือนซึ่งได้รับผลกระทบจากการขัดแย้งทาง กำลังทหาร ที่มิใช่ระหว่างประเทศ เช่น สงครามกลางเมือง การขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ (www.icrc.org)

2.ยึดและเคารพในหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกฝ่าย โดยเฉพาะสิทธิในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งได้มีการรับรองไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และตามกติกาสากลระหว่างประเทศนั้น ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธเท่านั้น อีกทั้งหากมีเหตุจำเป็นหรือสุดวิสัยที่รัฐบาลต้องสลายการชุมชุมก็จำเป็นต้องยึดหลักปฎิบัติสากล (Rule of Engagement) และจำเป็นอย่างที่สุดในการต้องรักษาชีวิตของผู้ชุมนุม

3.ขอให้รัฐยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พรก.ฉุกเฉิน) ในทุกเขตพื้นที่ และ ขอให้ผู้ชุมนุมยุติการใช้อาวุธทุกชนิด กลับเข้าสู่ที่ชุมนุมอย่างสงบสันติ และเป็นไปตามครรลองของกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อลดการสร้างเงื่อนไขต่างๆอันจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ทั้งนี้รัฐควรนำแนวทางนี้ไปปรับใช้กับการยกเลิกพรก.ฉุกเฉินในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นกัน

4.คณะทำงานฯขอเรียกร้องยังรัฐบาล กลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาล ให้ใช้สติ และปัญญาบนพื้นฐานของความอดทน อดกลั้น ในการแก้ไขปัญหา เพื่อฝ่าวิกฤตินี้ร่วมกัน โดยทุกฝ่ายต้องแสดงความจริงใจในความต้องการยุติความรุนแรง ไม่ยึดถือประโยชน์ และความต้องการส่วนตนเป็นที่ตั้ง บนพื้นฐานของสันติวิธี การเคารพกฎหมาย และพร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต โดยการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม (Fair Trail Justice) หันกลับมาสู่การเจรจาเพื่อมิให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลายจนเป็นบาดแผลที่ยากเกินกว่าจะเยียวยาแก้ไข ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนไทยทุกคน

ด้วยความสมานฉันท์
คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ