เสียงคนรุ่นใหม่…ชำแหละปัญหาผู้นำท้องถิ่นแดนใต้ “งบลงแต่ไร้งาน-ไม่เห็นหัวชาวบ้าน” เสียงคนรุ่นใหม่…ชำแหละปัญหาผู้นำท้องถิ่นแดนใต้ “งบลงแต่ไร้งาน-ไม่เห็นหัวชาวบ้าน”
Category: Network
ปรัชญา โต๊ะอิแต
โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา
ท่ามกลางการไหลเทลงพื้นที่ของงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อดับไฟความรุนแรง ที่จังหวัดปลายด้ามขวาน หลายๆ ครั้งโครงการพัฒนาไม่ได้นำพาไปสู่ความสงบที่จริงแท้ แต่กลับทำให้เกิดรอยปริร้าวขึ้นในชุมชนจากความขัดแย้งของผู้นำในท้องถิ่นที่ รัฐใช้เป็นมือไม้ในการจัดการปัญหาในพื้นที่นั่นเอง
และนั่นคือประเด็นที่ถูกหยิบไปพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันกันในเวที “ศุกร์เสวนา” เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งใช้ชื่อหัวข้อว่า “ชุมชน มลายูท่ามกลางความรุนแรง” โดยมีนักพัฒนารุ่นใหม่ที่ทำงานเกาะติด พื้นที่มานานร่วมกันแลกเปลี่ยนและบอกเล่าประสบการณ์ที่ถูกมองข้ามและแทบไม่ เคยนำมาพูดถึงในเวทีสาธารณะ
ปรัชญา โต๊ะอิแต
โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา
ท่ามกลางการไหลเทลงพื้นที่ของงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อดับไฟความรุนแรง ที่จังหวัดปลายด้ามขวาน หลายๆ ครั้งโครงการพัฒนาไม่ได้นำพาไปสู่ความสงบที่จริงแท้ แต่กลับทำให้เกิดรอยปริร้าวขึ้นในชุมชนจากความขัดแย้งของผู้นำในท้องถิ่นที่ รัฐใช้เป็นมือไม้ในการจัดการปัญหาในพื้นที่นั่นเอง
และนั่นคือประเด็นที่ถูกหยิบไปพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันกันในเวที “ศุกร์เสวนา” เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งใช้ชื่อหัวข้อว่า “ชุมชน มลายูท่ามกลางความรุนแรง” โดยมีนักพัฒนารุ่นใหม่ที่ทำงานเกาะติด พื้นที่มานานร่วมกันแลกเปลี่ยนและบอกเล่าประสบการณ์ที่ถูกมองข้ามและแทบไม่ เคยนำมาพูดถึงในเวทีสาธารณะ
งบลงแต่ไร้งาน
มู ฮัมหมัด ดือราโอะ อดีตเจ้าหน้าที่ภาคสนามโครงการชุมชนศรัทธา เปิดประเด็นอย่างตรงไปตรงมาว่า จากประสบการณ์หลายปีที่ทำงานในพื้นที่ เขาต้องเชื่อมประสานกับแกนนำระดับต่างๆ ของชุมชน ทำให้มองเห็นปัญหาของแกนนำเยอะมาก แม้แต่ผู้นำศาสนาส่วนหนึ่งก็ไม่ค่อยยอมมีส่วนร่วมกับงานพัฒนาชุมชนมากนัก แต่จะเน้นเรื่องพิธีกรรมเป็นหลักด้านเดียว
ส่วนผู้ใหญ่บ้านกับสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นปัญหา เวลางบประมาณของรัฐลงไป พบว่าไม่ค่อยถึงชาวบ้าน และไม่มีการชี้แจง แม้แต่เนื้องานก็ไม่เกิด ถามว่าทุกปีมีงบลงหรือไม่ คำตอบก็คือลง แต่มีอะไรเกิดเป็นรูปธรรมบ้าง คำตอบคือไม่มี มีก็แต่รายงานเป็นเอกสารที่ระบุว่าทำไปหลายอย่างแล้ว
“ผมเคยไปเจอ อบต.แห่งหนึ่ง เขาทำป้ายจัดประชุมโดยเกณฑ์คนเข้ามาร่วม แล้วก็ถ่ายรูป 2-3 รูป จากนั้นก็เสร็จ ชาวบ้านก็แยกย้ายกันกลับ มันเป็นการทำงานที่เรียกได้ว่าไม่โปร่งใสเอาเลย ถ้าโครงการนี้ใช้งบสิบล้าน ก็ได้ไปเลยสิบล้านเต็มๆ เสียแค่ค่าถ่ายรูปไม่กี่ร้อยบาท นี่คือความไม่จริงใจไม่จริงจังที่ชาวบ้านมองคนที่เป็นตัวแทนของภาครัฐในการ แก้ปัญหาสามจังหวัด เพราะมีหน้าที่แต่กลับไม่ทำ จึงถูกมองอย่างอคติ เนื่องจากชาวบ้านโดนอย่างนี้มาตลอด”
“ผมเคยถามว่าชาวบ้านว่าเวลาชาวบ้านมีกิจกรรมต่างๆ ทำไมไม่ยอมให้ อบต.มาช่วยงาน ชาวบ้านบอกว่าประสานแล้วแต่ไม่มีความคืบหน้า ทางอบต.อ้างว่าต้องรอให้นายก อบต.อนุมัติก่อน คือในทางปฏิบัติสมาชิกในพื้นที่ไม่มีบทบาทในการวางนโยบายหรือกำหนด ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเลย แต่เมื่อหันมามองอีกมุมหนึ่ง ชาวบ้านจะไปว่าเขาก็ไม่ได้ เพราะว่าตอนเลือกตั้ง ชาวบ้านเองก็โดนจ้างให้ไปเลือก ได้รับค่าตอบแทน 300-400 บาท ก็หมดหน้าที่ของชาวบ้านแล้ว ไม่มีสิทธิ์ที่จะมาใช้งานสมาชิกของตนเองได้อีก ตรงนี้เป็นสิ่งที่คนในพื้นที่ไม่เข้าใจ มันมีการซื้อเสียงกันสูงมาก ทำให้ความขัดแย้งยิ่งสูงตามไปด้วย”
“ยิ่งไปกว่านั้นการทำงานของข้าราชการหรือแม้แต่ อบต.ก็ไม่ค่อยได้ลงพื้นที่ ไม่ได้รับรู้ปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้านสักเท่าไหร่ คือเขาจะคิดมาจากข้างบน แล้วให้ผู้รับเหมาทำอีกที เรื่องคุณภาพชีวิตหรือความเป็นอยู่ของชาวบ้านจริงๆ แทบจะไม่แตะ ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงเรื่องศาสนาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับที่นี่ ซึ่งเขามักจะอ้างว่าไม่ได้อยู่ในแผนบ้าง ผิดหลักบ้าง ทั้งที่จริงๆ บริบทของพื้นที่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งนั้น แต่ไม่มีอะไรรองรับตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนโรงเรียนตาดีกา การละหมาดวันละ 5 เวลา สิ่งเหล่านี้จะถูกมองข้าม ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการสืบทอดอำนาจบารมีกันรุ่นต่อรุ่น มีการวางตัวให้ลูกชายตนเองสืบทอดต่อจากพ่อ เป็นผลทำให้ไม่มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างแท้จริง” มูฮัมหมัด กล่าว
ผู้นำท้องถิ่นเอาแต่ขัดแย้ง
อับดุลเลาะ หมัดอาด้ำ นักกิจกรรมทางสังคมในพื้นที่ มองคล้ายกันว่า ชุมชนมลายูท่ามกลางความรุนแรงในขณะนี้ มีประเด็นให้ต้องคิดต่อหลายเรื่อง ซึ่งยังแก้ไขปัญหาไม่ได้สักที โดยเฉพาะการทำงานของกลุ่มผู้ใหญ่บ้าน อบต. หรือผู้นำชุมชนซึ่งมีความขัดแย้งกันสูงมาก และเป็นเหมือนกันทุกพื้นที่
“ผมกำลังคิดว่าปัญหามันก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากใครหรือไม่ เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อนเรามีความสามัคคีกันมาก แตกต่างจากปัจจุบันนี้ที่ได้รับการพัฒนาโดยรัฐ โครงการต่างๆ ทำให้ชาวบ้านแตกแยกกันหรือเปล่า ตรงนี้เป็นประเด็นที่น่าคิด แต่ถ้ามองในแง่ดี ท่ามกลางวิกฤติก็ยังมีโอกาส เพราะชุมชนเองก็กำลังค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้ในอนาคต”
อับดุลเลาะ ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับงานด้านสิทธิมนุษยชนกับงานเยียวยาที่มีบทบาทสูงมาก ในระยะหลัง ว่า การเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบหรือการให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิจะทำแยก กันไม่ได้ เพราะวันนี้ทำด้านใดด้านหนึ่งไม่เพียงพอแล้ว เนื่องจากเรื่องปากท้องกับเรื่องคุณภาพชีวิตของชาวบ้านเป็นสิ่งสำคัญที่ชาว บ้านเองมักจะเอามาเป็นเงื่อนไขของการไม่ยอมรวมกลุ่มเพื่อต่อสู้กับปัญหา ไม่อยากแก้ไขความขัดแย้งในชุมชนของตนเอง ดังนั้นทั้งงานด้านสิทธิ งานเยียวยา และงานพัฒนาควรจะไปด้วยกัน ควรจะทำให้บูรณาการกัน
คนมีตำแหน่งไม่เห็นหัวชาวบ้าน
นายซอและ มะสอลา แกนนำนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเยาวชนรักษ์บ้านเกิด กล่าวว่า ทุกวันนี้คนมีตำแหน่งในชุมชนเหมือนจะทำตัวเหินห่างจากชาวบ้าน เหมือนดูถูกชาวบ้าน ไม่ได้รับรู้ว่าตอนนี้ชาวบ้านพัฒนาตัวเองไปมากแล้ว อาจจะมีบ้างสำหรับผู้นำที่ดีที่เริ่มเข้าหาชาวบ้าน แต่ก็ยังน้อยมาก และสภาพเช่นนั้นก็เกิดภายหลังจากที่ผู้นำได้เรียนรู้ที่จะทำร่วมกับชาวบ้าน และได้รับบทเรียนต่างๆ จากชุมชน แต่ยังมีผู้นำอีกมากที่มองข้ามจุดนี้
“ผมเคยร่วมกับเยาวชนและชาวบ้านในหมู่บ้านไม่กี่คนทำโครงการในชุมชนของตัวเอง สมาชิกก็ไม่ได้เรียนสูงอะไรมากมาย แต่เราก็สามารถจัดงานที่ดึงคนระดับสูงมาร่วมได้ ซึ่งตอนนั้น อบต.ตลอดจนผู้นำต่างๆ ไม่ได้มาร่วม เพราะไม่คาดคิดว่าเราจะทำได้ขนาดนี้ ซึ่งพวกเขาเองก็คงเสียหน้าพอสมควร ทำให้โครงการต่อมาที่เราจัดเขาก็ยื่นมือมาช่วยเหลือ อนุมัติอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ง่ายขึ้น คงกลัวว่าจะไม่มีส่วนร่วมกับโครงการอีก แต่พอเราของบบริจาค กลับได้แค่พันกว่าบาท ชาวบ้านก็บอกว่าถ้าสนับสนุนแค่นี้ไม่ต้องให้ดีกว่า”
“ที่เล่ามาเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจ ไม่จริงใจของตัวแทนภาครัฐในพื้นที่ และนี่ก็เป็นภาพสะท้อนอย่างหนึ่งให้กับรัฐบาลเหมือนกันว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ถอดบทเรียนการทำงานของตนเองเหมือนที่ชาวบ้านทำบ้าง หรือไม่ งบประมาณที่สูญเสียกับที่นี่มันได้ถูกใช้ให้คุ้มค่าหรือเปล่า แล้วที่ว่าแก้ปัญหาภาคใต้มาถูกทางนั้น รัฐบาลต้องไปดูใหม่ว่าถูกทางตรงไหน ชาวบ้านยังไม่เข้าใจ”
ขณะที่ อัสมาน เจ๊ะมะ เจ้าหน้าที่ของคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เห็นว่า สิ่งที่ทุกคนพูดสะท้อนว่าขณะนี้ชาวบ้านเริ่มหมดศรัทธา หมดหวังกับภาครัฐ ทำให้ชาวบ้านเอาแต่หาเช้ากินค่ำไปวันๆ ราคายางตกก็ไม่เป็นไร รอได้ อยู่ได้ไปวันๆ หนึ่ง ในขณะที่ภาครัฐเองก็อ้างว่าได้ช่วยเหลือภาคใต้เต็มที่แล้ว ได้ให้ทุกอย่างแล้วร้อยเปอร์เซ็นต์ การแก้ปัญหาก็มาถูกทางแล้ว
“ผมคิดว่าภาครัฐคงไม่รู้ว่าการให้นั้น บางพื้นที่ไปกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว บางทีสิ่งที่ชาวบ้านต้องการภาครัฐกลับไม่ได้ให้ แต่ไปให้ในสิ่งที่ชาวบ้านไม่ต้องการ ฉะนั้นภาครัฐต้องถอดบทเรียนเพื่อลดการสูญเสียเวลาและงบประมาณเหมือนที่ผ่าน มา”
นับเป็นเวทีที่สะท้อนปัญหาได้ตรงเป้า และคงแทงใจดำใครหลายๆ คน!
———————————————————————-
บรรยายภาพ :
1 โปสเตอร์งานศุกร์เสวนา หัวข้อ “ชุมชนมลายูท่ามกลางความรุนแรง”
2 มูฮัมหมัด ดือราโอะ
3 อับดุลเลาะ หมัดอาด้ำ
4 ซอและ มะสอลา
งบลง แต่ไร้งาน
มู ฮัมหมัด ดือราโอะ อดีตเจ้าหน้าที่ภาคสนามโครงการชุมชนศรัทธา เปิดประเด็นอย่างตรงไปตรงมาว่า จากประสบการณ์หลายปีที่ทำงานในพื้นที่ เขาต้องเชื่อมประสานกับแกนนำระดับต่างๆ ของชุมชน ทำให้มองเห็นปัญหาของแกนนำเยอะมาก แม้แต่ผู้นำศาสนาส่วนหนึ่งก็ไม่ค่อยยอมมีส่วนร่วมกับงานพัฒนาชุมชนมากนัก แต่จะเน้นเรื่องพิธีกรรมเป็นหลักด้านเดียว
ส่วนผู้ใหญ่บ้านกับสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นปัญหา เวลางบประมาณของรัฐลงไป พบว่าไม่ค่อยถึงชาวบ้าน และไม่มีการชี้แจง แม้แต่เนื้องานก็ไม่เกิด ถามว่าทุกปีมีงบลงหรือไม่ คำตอบก็คือลง แต่มีอะไรเกิดเป็นรูปธรรมบ้าง คำตอบคือไม่มี มีก็แต่รายงานเป็นเอกสารที่ระบุว่าทำไปหลายอย่างแล้ว
“ผมเคยไปเจอ อบต.แห่งหนึ่ง เขาทำป้ายจัดประชุมโดยเกณฑ์คนเข้ามาร่วม แล้วก็ถ่ายรูป 2-3 รูป จากนั้นก็เสร็จ ชาวบ้านก็แยกย้ายกันกลับ มันเป็นการทำงานที่เรียกได้ว่าไม่โปร่งใสเอาเลย ถ้าโครงการนี้ใช้งบสิบล้าน ก็ได้ไปเลยสิบล้านเต็มๆ เสียแค่ค่าถ่ายรูปไม่กี่ร้อยบาท นี่คือความไม่จริงใจไม่จริงจังที่ชาวบ้านมองคนที่เป็นตัวแทนของภาครัฐในการ แก้ปัญหาสามจังหวัด เพราะมีหน้าที่แต่กลับไม่ทำ จึงถูกมองอย่างอคติ เนื่องจากชาวบ้านโดนอย่างนี้มาตลอด”
“ผมเคยถามว่าชาวบ้านว่าเวลาชาวบ้านมีกิจกรรมต่างๆ ทำไมไม่ยอมให้ อบต.มาช่วยงาน ชาวบ้านบอกว่าประสานแล้วแต่ไม่มีความคืบหน้า ทางอบต.อ้างว่าต้องรอให้นายก อบต.อนุมัติก่อน คือในทางปฏิบัติสมาชิกในพื้นที่ไม่มีบทบาทในการวางนโยบายหรือกำหนด ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเลย แต่เมื่อหันมามองอีกมุมหนึ่ง ชาวบ้านจะไปว่าเขาก็ไม่ได้ เพราะว่าตอนเลือกตั้ง ชาวบ้านเองก็โดนจ้างให้ไปเลือก ได้รับค่าตอบแทน 300-400 บาท ก็หมดหน้าที่ของชาวบ้านแล้ว ไม่มีสิทธิ์ที่จะมาใช้งานสมาชิกของตนเองได้อีก ตรงนี้เป็นสิ่งที่คนในพื้นที่ไม่เข้าใจ มันมีการซื้อเสียงกันสูงมาก ทำให้ความขัดแย้งยิ่งสูงตามไปด้วย”
“ยิ่งไปกว่านั้นการทำงานของข้าราชการหรือแม้แต่ อบต.ก็ไม่ค่อยได้ลงพื้นที่ ไม่ได้รับรู้ปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้านสักเท่าไหร่ คือเขาจะคิดมาจากข้างบน แล้วให้ผู้รับเหมาทำอีกที เรื่องคุณภาพชีวิตหรือความเป็นอยู่ของชาวบ้านจริงๆ แทบจะไม่แตะ ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงเรื่องศาสนาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับที่นี่ ซึ่งเขามักจะอ้างว่าไม่ได้อยู่ในแผนบ้าง ผิดหลักบ้าง ทั้งที่จริงๆ บริบทของพื้นที่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งนั้น แต่ไม่มีอะไรรองรับตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนโรงเรียนตาดีกา การละหมาดวันละ 5 เวลา สิ่งเหล่านี้จะถูกมองข้าม ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการสืบทอดอำนาจบารมีกันรุ่นต่อรุ่น มีการวางตัวให้ลูกชายตนเองสืบทอดต่อจากพ่อ เป็นผลทำให้ไม่มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างแท้จริง” มูฮัมหมัด กล่าว
ผู้นำ ท้องถิ่นเอาแต่ขัดแย้ง
อับดุลเลาะ หมัดอาด้ำ นักกิจกรรมทางสังคมในพื้นที่ มองคล้ายกันว่า ชุมชนมลายูท่ามกลางความรุนแรงในขณะนี้ มีประเด็นให้ต้องคิดต่อหลายเรื่อง ซึ่งยังแก้ไขปัญหาไม่ได้สักที โดยเฉพาะการทำงานของกลุ่มผู้ใหญ่บ้าน อบต. หรือผู้นำชุมชนซึ่งมีความขัดแย้งกันสูงมาก และเป็นเหมือนกันทุกพื้นที่
“ผมกำลังคิดว่าปัญหามันก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากใครหรือไม่ เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อนเรามีความสามัคคีกันมาก แตกต่างจากปัจจุบันนี้ที่ได้รับการพัฒนาโดยรัฐ โครงการต่างๆ ทำให้ชาวบ้านแตกแยกกันหรือเปล่า ตรงนี้เป็นประเด็นที่น่าคิด แต่ถ้ามองในแง่ดี ท่ามกลางวิกฤติก็ยังมีโอกาส เพราะชุมชนเองก็กำลังค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้ในอนาคต”
อับดุลเลาะ ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับงานด้านสิทธิมนุษยชนกับงานเยียวยาที่มีบทบาทสูงมาก ในระยะหลัง ว่า การเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบหรือการให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิจะทำแยก กันไม่ได้ เพราะวันนี้ทำด้านใดด้านหนึ่งไม่เพียงพอแล้ว เนื่องจากเรื่องปากท้องกับเรื่องคุณภาพชีวิตของชาวบ้านเป็นสิ่งสำคัญที่ชาว บ้านเองมักจะเอามาเป็นเงื่อนไขของการไม่ยอมรวมกลุ่มเพื่อต่อสู้กับปัญหา ไม่อยากแก้ไขความขัดแย้งในชุมชนของตนเอง ดังนั้นทั้งงานด้านสิทธิ งานเยียวยา และงานพัฒนาควรจะไปด้วยกัน ควรจะทำให้บูรณาการกัน
คนมี ตำแหน่งไม่เห็นหัวชาวบ้าน
นายซอและ มะสอลา แกนนำนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเยาวชนรักษ์บ้านเกิด กล่าวว่า ทุกวันนี้คนมีตำแหน่งในชุมชนเหมือนจะทำตัวเหินห่างจากชาวบ้าน เหมือนดูถูกชาวบ้าน ไม่ได้รับรู้ว่าตอนนี้ชาวบ้านพัฒนาตัวเองไปมากแล้ว อาจจะมีบ้างสำหรับผู้นำที่ดีที่เริ่มเข้าหาชาวบ้าน แต่ก็ยังน้อยมาก และสภาพเช่นนั้นก็เกิดภายหลังจากที่ผู้นำได้เรียนรู้ที่จะทำร่วมกับชาวบ้าน และได้รับบทเรียนต่างๆ จากชุมชน แต่ยังมีผู้นำอีกมากที่มองข้ามจุดนี้
“ผมเคยร่วมกับเยาวชนและชาวบ้านในหมู่บ้านไม่กี่คนทำโครงการในชุมชนของตัว เอง สมาชิกก็ไม่ได้เรียนสูงอะไรมากมาย แต่เราก็สามารถจัดงานที่ดึงคนระดับสูงมาร่วมได้ ซึ่งตอนนั้น อบต.ตลอดจนผู้นำต่างๆ ไม่ได้มาร่วม เพราะไม่คาดคิดว่าเราจะทำได้ขนาดนี้ ซึ่งพวกเขาเองก็คงเสียหน้าพอสมควร ทำให้โครงการต่อมาที่เราจัดเขาก็ยื่นมือมาช่วยเหลือ อนุมัติอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ง่ายขึ้น คงกลัวว่าจะไม่มีส่วนร่วมกับโครงการอีก แต่พอเราของบบริจาค กลับได้แค่พันกว่าบาท ชาวบ้านก็บอกว่าถ้าสนับสนุนแค่นี้ไม่ต้องให้ดีกว่า”
“ที่เล่ามาเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจ ไม่จริงใจของตัวแทนภาครัฐในพื้นที่ และนี่ก็เป็นภาพสะท้อนอย่างหนึ่งให้กับรัฐบาลเหมือนกันว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ถอดบทเรียนการทำงานของตนเองเหมือนที่ชาวบ้านทำบ้าง หรือไม่ งบประมาณที่สูญเสียกับที่นี่มันได้ถูกใช้ให้คุ้มค่าหรือเปล่า แล้วที่ว่าแก้ปัญหาภาคใต้มาถูกทางนั้น รัฐบาลต้องไปดูใหม่ว่าถูกทางตรงไหน ชาวบ้านยังไม่เข้าใจ”
ขณะที่ อัสมาน เจ๊ะมะ เจ้าหน้าที่ของคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เห็นว่า สิ่งที่ทุกคนพูดสะท้อนว่าขณะนี้ชาวบ้านเริ่มหมดศรัทธา หมดหวังกับภาครัฐ ทำให้ชาวบ้านเอาแต่หาเช้ากินค่ำไปวันๆ ราคายางตกก็ไม่เป็นไร รอได้ อยู่ได้ไปวันๆ หนึ่ง ในขณะที่ภาครัฐเองก็อ้างว่าได้ช่วยเหลือภาคใต้เต็มที่แล้ว ได้ให้ทุกอย่างแล้วร้อยเปอร์เซ็นต์ การแก้ปัญหาก็มาถูกทางแล้ว
“ผมคิดว่าภาครัฐคงไม่รู้ว่าการให้นั้น บางพื้นที่ไปกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว บางทีสิ่งที่ชาวบ้านต้องการภาครัฐกลับไม่ได้ให้ แต่ไปให้ในสิ่งที่ชาวบ้านไม่ต้องการ ฉะนั้นภาครัฐต้องถอดบทเรียนเพื่อลดการสูญเสียเวลาและงบประมาณเหมือนที่ผ่าน มา”
นับเป็นเวทีที่สะท้อนปัญหาได้ตรงเป้า และคงแทงใจดำใครหลายๆ คน!
———————————————————————-
บรรยายภาพ :
1 โปสเตอร์งานศุกร์เสวนา หัวข้อ “ชุมชนมลายูท่ามกลางความรุนแรง”
2 มูฮัมหมัด ดือราโอะ
3 อับดุลเลาะ หมัดอาด้ำ
4 ซอและ มะสอลา