“อังคณา” ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง ปธ.คณะกรรมการสิทธิฯ ร้องแต่งตั้ง “คณะกรรมการภาคใต้” ใหม่“อังคณา” ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง ปธ.คณะกรรมการสิทธิฯ ร้องแต่งตั้ง “คณะกรรมการภาคใต้” ใหม่
Category: Network
(9 ธ.ค.52) นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ หนึ่งในผู้ได้รับแต่ตั้งให้ดำรงตำแหน่งอนุกรรมการภาคใต้ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ส่งจดหายเปิดผนึกถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภาคใต้ ให้พิจารณาการแต่งตั้งคณะกรรมการภาคใต้อีกครั้ง เพื่อให้คณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง เพื่อสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของคนทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมตามเจตนารมณ์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญ
(9 ธ.ค.52) นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ หนึ่งในผู้ได้รับแต่ตั้งให้ดำรงตำแหน่งอนุกรรมการภาคใต้ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ส่งจดหายเปิดผนึกถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภาคใต้ ให้พิจารณาการแต่งตั้งคณะกรรมการภาคใต้อีกครั้ง เพื่อให้คณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง เพื่อสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของคนทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมตามเจตนารมณ์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญ
จดหมายดังกล่าวระบุถึงเหตุผลว่า จากหนังสือแต่งตั้งซึ่งมีรายชื่อคณะอนุกรรมการฯ พบว่าคณะอนุกรรมการฯ มีการจำกัดอยู่กับผู้ทำงานเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะด้านสิทธิ และเสรีภาพ ในชีวิต ร่างกาย และด้านการยุติธรรม แต่ไม่ได้มีส่วนประกอบของผู้ทำงานด้านเด็ก ผู้หญิง หรือชนกลุ่มน้อยต่างๆ อีกทั้ง องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ในอนุกรรมการฯ ชุดนี้ เกือบครึ่ง เป็นบุคคลที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน หรือเป็นเครือข่ายซึ่งทำงานใกล้ชิดกัน จึงอาจทำให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวกุมเสียงข้างมากในคณะอนุกรรมการฯ และอาจส่งผลให้อนุกรรมการฯ ท่านอื่นไม่สามารถหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ
อีกทั้ง จากข้อเท็จจริง ในคณะอนุกรรมการด้านการต่อต้านการทรมานฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งในคณะอนุกรรม การฯ ชุดนี้ ได้เคยถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งข้อสังเกตุว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่มีความเป็นกลาง อีกทั้งไม่มีความเป็นธรรม เนื่องจากอนุกรรมการบางท่าน ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ร้องเรียน และผู้ตรวจสอบในเวลาเดียวกัน และในบางกรณีปรากฏมีอนุกรรมการบางท่านได้พยายามตรวจสอบการทำงานของเจ้า หน้าที่รัฐ ในฐานะเจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อได้รับการปฏิเสธก็ได้ใช้สถานภาพของอนุกรรมการฯ เข้าไปตรวจสอบ จึงก่อให้เกิดความสับสนในระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และส่งผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจในความเป็นกลาง
นอกจากนี้ยังแสดงความห่วงใยถึงการตรวจสอบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดปัจจุบัน โดยองค์กรสิทธิฯทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ถึงการขาดประสบการณ์ และความเข้าใจในมิติสิทธิมนุษยชนสากล ของคณะกรรมการบางท่าน รวมทั้งการทำงานของคณะกรรมการสิทธิฯ ว่าจะสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของพลเมืองไทยทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกันตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน ฉบับต่างๆ ของสหประชาชาติหรือไม่
ทั้งนี้รายชื่ออนุกรรมการภาคใต้ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์อมรม พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการ นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ รองประธานอนุกรรมการคนที่ 1 นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ รองประธานอนุกรรมการคนที่ 2 นายสมชาย หอมลออ อนุกรรมการ นายมูฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ อนุกรรมการ นายโชคชัย วงศ์ตานี อนุกรรมการ นางอังคณา นีละไพจิตร อนุกรรมการ นายอับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ อนุกรรมการ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ อนุกรรมการ นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ อนุกรรมการ
Working Group on Justice for Peace
เรียน ท่านประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภาคใต้
เนื่อง จากดิฉันได้รับหนังสือแต่งตั้งจากท่านให้ดำรงตำแหน่งอนุกรรมการภาคใต้แล้ว ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง ในฐานะที่ดิฉันและคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ได้มีโอกาสทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นระยะเวลาประมาณ ๔ ปี ดิฉันมีความเห็นว่ามิติด้านสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้นั้น มีความซับซ้อน และมีผู้คนหลากหลายซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรม ยังคงถูกละเมิดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนเหล่านี้มีทั้งผู้หญิง เด็ก หรือแม้แต่คนไทยพุทธ ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่
เมื่อ พิจารณาจากหนังสือแต่งตั้งซึ่งมีรายชื่อคณะอนุกรรมการฯ ที่ท่านได้ส่งมานั้น พบว่าคณะอนุกรรมการฯ มีการจำกัดอยู่กับผู้ทำงานเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะด้านสิทธิ และเสรีภาพ ในชีวิต ร่างกาย และด้านการยุติธรรม เท่านั้น มิได้มีส่วนประกอบของผู้ทำงานด้านเด็ก ผู้หญิง หรือชนกลุ่มน้อยต่างๆ อีกทั้ง องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ในอนุกรรมการฯ ชุดนี้ เกือบครึ่งของคณะกรรมการฯ เป็นบุคคลที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน หรือเป็นเครือข่ายซึ่งทำงานใกล้ชิดกัน จึงอาจทำให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวกุมเสียงข้างมากในคณะอนุกรรมการฯ และอาจส่งผลให้อนุกรรมการฯ ท่านอื่นไม่สามารถหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่พลเมืองทุกกลุ่มในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๒
จาก ข้อเท็จจริง ในคณะอนุกรรมการด้านการต่อต้านการทรมานฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งในคณะอนุกรรม การฯ ชุดนี้ ได้เคยถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งข้อสังเกตุมาแล้วว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ไม่มีความเป็นกลาง อีกทั้งไม่มีความเป็นธรรม เนื่องจากอนุกรรมการบางท่านในคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ร้องเรียน และผู้ตรวจสอบในเวลาเดียวกัน และในบางกรณีปรากฏมีอนุกรรมการบางท่านได้พยายามตรวจสอบการทำงานของเจ้า หน้าที่รัฐ ในฐานะเจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อได้รับการปฏิเสธก็ได้ใช้สถานภาพของอนุกรรมการฯ เข้าไปตรวจสอบ จึงก่อให้เกิดความสับสนในระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และส่งผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจในความเป็นกลางของอนุกรรมการฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ดัง เป็นที่ทราบแล้วว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดปัจจุบันได้ถูกตรวจสอบจากองค์กรสิทธิฯทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างกว้างขวาง ถึงการขาดประสบการณ์ และความเข้าใจในมิติสิทธิมนุษยชนสากล ของคณะกรรมการบางท่าน อีกทั้งเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน ด้านสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแห่งเอเชีย (Asian NGOs Network on National Human Rights Institutions – ANNI) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยได้ร่วมมือทำงานอย่างสม่ำเสมอกับคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศของ สถาบันระดับชาติเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (International Coordinating Committee of National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights -ICC) ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ภายใต้อำนาจของ อนุกรรมการว่าด้วยการรับรองคุณสมบัติองค์กร (ICC Sub-Committee on Accreditation) ได้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทยชุด ปัจจุบันว่าจะสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของพลเมืองไทยทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกันตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน ฉบับต่างๆ ของสหประชาชาติหรือไม่
ด้วย ความห่วงใยดังกล่าวดิฉันจึงมีหนังสือฉบับนี้มายังท่านเพื่อโปรดพิจารณาการ แต่งตั้งคณะกรรมการภาคใต้อีกครั้ง เพื่อให้คณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง เพื่อสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของคนทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมตามเจตนารมณ์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
(นางอังคณา นีละไพจิตร)
ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
รายชื่ออนุกรรมการภาคใต้
ศาสตราจารย์อมรม พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการ
นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ รองประธานอนุกรรมการคนที่ ๑
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ รองประธานอนุกรรมการคนที่ ๒
นายสมชาย หอมลออ อนุกรรมการ
นายมูฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ อนุกรรมการ
นายโชคชัย วงศ์ตานี อนุกรรมการ
นางอังคณา นีละไพจิตร อนุกรรมการ
นายอับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ อนุกรรมการ
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ อนุกรรมการ
นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ อนุกรรมการ
จดหมายดังกล่าวระบุถึงเหตุผลว่า จากหนังสือแต่งตั้งซึ่งมีรายชื่อคณะอนุกรรมการฯ พบว่าคณะอนุกรรมการฯ มีการจำกัดอยู่กับผู้ทำงานเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะด้านสิทธิ และเสรีภาพ ในชีวิต ร่างกาย และด้านการยุติธรรม แต่ไม่ได้มีส่วนประกอบของผู้ทำงานด้านเด็ก ผู้หญิง หรือชนกลุ่มน้อยต่างๆ อีกทั้ง องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ในอนุกรรมการฯ ชุดนี้ เกือบครึ่ง เป็นบุคคลที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน หรือเป็นเครือข่ายซึ่งทำงานใกล้ชิดกัน จึงอาจทำให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวกุมเสียงข้างมากในคณะอนุกรรมการฯ และอาจส่งผลให้อนุกรรมการฯ ท่านอื่นไม่สามารถหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ
อีกทั้ง จากข้อเท็จจริง ในคณะอนุกรรมการด้านการต่อต้านการทรมานฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งในคณะอนุกรรม การฯ ชุดนี้ ได้เคยถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งข้อสังเกตุว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่มีความเป็นกลาง อีกทั้งไม่มีความเป็นธรรม เนื่องจากอนุกรรมการบางท่าน ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ร้องเรียน และผู้ตรวจสอบในเวลาเดียวกัน และในบางกรณีปรากฏมีอนุกรรมการบางท่านได้พยายามตรวจสอบการทำงานของเจ้า หน้าที่รัฐ ในฐานะเจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อได้รับการปฏิเสธก็ได้ใช้สถานภาพของอนุกรรมการฯ เข้าไปตรวจสอบ จึงก่อให้เกิดความสับสนในระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และส่งผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจในความเป็นกลาง
นอกจากนี้ยังแสดงความห่วงใยถึงการตรวจสอบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดปัจจุบัน โดยองค์กรสิทธิฯทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ถึงการขาดประสบการณ์ และความเข้าใจในมิติสิทธิมนุษยชนสากล ของคณะกรรมการบางท่าน รวมทั้งการทำงานของคณะกรรมการสิทธิฯ ว่าจะสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของพลเมืองไทยทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกันตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน ฉบับต่างๆ ของสหประชาชาติหรือไม่
ทั้งนี้รายชื่ออนุกรรมการภาคใต้ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์อมรม พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการ นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ รองประธานอนุกรรมการคนที่ 1 นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ รองประธานอนุกรรมการคนที่ 2 นายสมชาย หอมลออ อนุกรรมการ นายมูฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ อนุกรรมการ นายโชคชัย วงศ์ตานี อนุกรรมการ นางอังคณา นีละไพจิตร อนุกรรมการ นายอับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ อนุกรรมการ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ อนุกรรมการ นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ อนุกรรมการ
Working Group on Justice for Peace
เรียน ท่านประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภาคใต้
เนื่อง จากดิฉันได้รับหนังสือแต่งตั้งจากท่านให้ดำรงตำแหน่งอนุกรรมการภาคใต้แล้ว ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง ในฐานะที่ดิฉันและคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ได้มีโอกาสทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นระยะเวลาประมาณ ๔ ปี ดิฉันมีความเห็นว่ามิติด้านสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้นั้น มีความซับซ้อน และมีผู้คนหลากหลายซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรม ยังคงถูกละเมิดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนเหล่านี้มีทั้งผู้หญิง เด็ก หรือแม้แต่คนไทยพุทธ ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่
เมื่อ พิจารณาจากหนังสือแต่งตั้งซึ่งมีรายชื่อคณะอนุกรรมการฯ ที่ท่านได้ส่งมานั้น พบว่าคณะอนุกรรมการฯ มีการจำกัดอยู่กับผู้ทำงานเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะด้านสิทธิ และเสรีภาพ ในชีวิต ร่างกาย และด้านการยุติธรรม เท่านั้น มิได้มีส่วนประกอบของผู้ทำงานด้านเด็ก ผู้หญิง หรือชนกลุ่มน้อยต่างๆ อีกทั้ง องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ในอนุกรรมการฯ ชุดนี้ เกือบครึ่งของคณะกรรมการฯ เป็นบุคคลที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน หรือเป็นเครือข่ายซึ่งทำงานใกล้ชิดกัน จึงอาจทำให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวกุมเสียงข้างมากในคณะอนุกรรมการฯ และอาจส่งผลให้อนุกรรมการฯ ท่านอื่นไม่สามารถหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่พลเมืองทุกกลุ่มในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๒
จาก ข้อเท็จจริง ในคณะอนุกรรมการด้านการต่อต้านการทรมานฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งในคณะอนุกรรม การฯ ชุดนี้ ได้เคยถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งข้อสังเกตุมาแล้วว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ไม่มีความเป็นกลาง อีกทั้งไม่มีความเป็นธรรม เนื่องจากอนุกรรมการบางท่านในคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ร้องเรียน และผู้ตรวจสอบในเวลาเดียวกัน และในบางกรณีปรากฏมีอนุกรรมการบางท่านได้พยายามตรวจสอบการทำงานของเจ้า หน้าที่รัฐ ในฐานะเจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อได้รับการปฏิเสธก็ได้ใช้สถานภาพของอนุกรรมการฯ เข้าไปตรวจสอบ จึงก่อให้เกิดความสับสนในระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และส่งผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจในความเป็นกลางของอนุกรรมการฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ดัง เป็นที่ทราบแล้วว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดปัจจุบันได้ถูกตรวจสอบจากองค์กรสิทธิฯทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างกว้างขวาง ถึงการขาดประสบการณ์ และความเข้าใจในมิติสิทธิมนุษยชนสากล ของคณะกรรมการบางท่าน อีกทั้งเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน ด้านสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแห่งเอเชีย (Asian NGOs Network on National Human Rights Institutions – ANNI) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยได้ร่วมมือทำงานอย่างสม่ำเสมอกับคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศของ สถาบันระดับชาติเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (International Coordinating Committee of National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights -ICC) ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ภายใต้อำนาจของ อนุกรรมการว่าด้วยการรับรองคุณสมบัติองค์กร (ICC Sub-Committee on Accreditation) ได้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทยชุด ปัจจุบันว่าจะสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของพลเมืองไทยทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกันตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน ฉบับต่างๆ ของสหประชาชาติหรือไม่
ด้วย ความห่วงใยดังกล่าวดิฉันจึงมีหนังสือฉบับนี้มายังท่านเพื่อโปรดพิจารณาการ แต่งตั้งคณะกรรมการภาคใต้อีกครั้ง เพื่อให้คณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง เพื่อสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของคนทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมตามเจตนารมณ์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
(นางอังคณา นีละไพจิตร)
ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
รายชื่ออนุกรรมการภาคใต้
ศาสตราจารย์อมรม พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการ
นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ รองประธานอนุกรรมการคนที่ ๑
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ รองประธานอนุกรรมการคนที่ ๒
นายสมชาย หอมลออ อนุกรรมการ
นายมูฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ อนุกรรมการ
นายโชคชัย วงศ์ตานี อนุกรรมการ
นางอังคณา นีละไพจิตร อนุกรรมการ
นายอับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ อนุกรรมการ
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ อนุกรรมการ
นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ อนุกรรมการ