WGJP open letter on Appointment of Subcommittee on the South of the NHRCจดหมายเปิดผนึกเรื่องการแต่งตั้งอนุกรรมการภาคใต้ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

27 November 2009
Attention: Chairperson of the National Human Rights Commission
Subject: Appointment of Subcommittee on the South

Dear Sir,

In pursuance to my being appointed as part of the Subcommittee on the South, I feel deeply appreciated for that. In the past four years of working with the Working Group on Justice for Peace (WGJP) to address human rights issues in the Deep South, I find the issues there highly complicated. A number of people have been treated unjustly, have their rights violated and been subjected to gross discrimination. Many of them are women and children, and even the Buddhists minority.

Judging from the letter of appointment with the list of members in the Subcommittee, to me, the Subcommittee’s memberships are confined to just human rights advocates including those working on rights and liberty in life and body and justice. None of them have had experience working with issues concerning children, women or minorities. In addition, a half of the members come from the same organization, or organizations working closely with each other. It tends to given them domination over the rest of the committee members. As a result, it might compromise the ability of other committee members to act independently in protection of all citizenry groups in the Southern border provinces, as provided for by the 2007 Constitution.
27 พฤศจิกายน 2552
เรียน ท่านประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภาคใต้

เนื่องจากดิฉันได้รับหนังสือแต่งตั้งจากท่านให้ดำรงตำแหน่ง อนุกรรมการภาคใต้ แล้วด้วยความขอบพระคุณยิ่ง ในฐานะที่ดิฉันและคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ได้มีโอกาสทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นระยะเวลาประมาณ ๔ ปี ดิฉันมีความเห็นว่ามิติด้านสิทธิมนุษยชนใน จชต นั้น มีความซับซ้อน และมีผู้คนหลากหลายซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรม ยังคงถูกละเมิดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนเหล่านี้มีทั้งผู้หญิง เด็ก หรือแม้แต่คนไทยพุทธ ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่

เมื่อพิจารณาจากหนังสือแต่งตั้งซึ่งมีรายชื่อคณะอนุกรรมการฯที่ท่านได้ส่งมานั้น พบว่าคณะอนุกรรมการฯ มีการจำกัดอยู่กับผู้ทำงานเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะด้านสิทธิ และเสรีภาพ ในชีวิต ร่างกาย และด้านการยุติธรรม เท่านั้น มิได้มีส่วนประกอบของผู้ทำงานด้านเด็ก ผู้หญิง หรือชนกลุ่มน้อยต่างๆ อีกทั้งองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ในอนุกรรมการฯชุดนี้ เกือบครึ่งของคณะกรรมการฯ เป็นบุคคลที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน หรือเป็นเครือข่ายซึ่งทำงานใกล้ชิดกัน จึงอาจทำให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวกุมเสียงข้างมากในคณะอนุกรรมการฯ และอาจส่งผลให้อนุกรรมการฯ ท่านอื่นไม่สามารถหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่พลเมืองทุกกลุ่มในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๒

Also, several members in the current Subcommittee on the South were members of the Subcommittee against Torture appointed during the previous NHRC. Their lack of impartiality has already been subjected to concerns raised by security officials working in the Southern border provinces. Against conflict of interest, it is also improper to appoint them in the new subcommittee again since they can be both the complainant of the case and the inquirer at the same time. It appears that some members in the subcommittee have previously made attempts to investigate the implementation of governmental officials using their NGO status. But when they were rejected by concerned officials, they decided to use their status in the Subcommittee to persist on their investigation. It has simply given rise to confusion, a lack of trust and credibility in the NHRC Subcommittee as far as its impartiality is concerned.

As widely known, the current NHRC has been subjected to questions raised by many human rights organizations inside and outside the country as to a lack of experience and understanding in human rights issues among certain NHRC members. Their integrity and ability has also been questioned by the Asian NGOs Network on National Human Rights Institutions (ANNI), a network of organisations monitoring and assessing the performance of NHRIs in Asia. In 2008, the ANNI had submitted a report in 2008 to the Sub-Committee on Accreditation of the International Coordinating Committee of National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights (ICC) for the accreditation review of the National Human Rights Commission of Thailand. As a result of that review, in November 2008, the ICC Sub-Committee on Accreditation made several recommendations to the NHRCT. One of these recommendations was that there is a need for a broad consultation in the nomination and selection of Commission members, including with civil society and vulnerable groups. The ICC Sub-Committee on Accreditation referred the NHRCT to its General Observation 2.1, where it stated that one of the ways by which to achieve pluralism in conformity with the Paris Principles is through pluralism in procedures enabling effective cooperation with diverse societal groups, for example advisory committees, networks, etc.; or in this case, the Subcommittee on the South.

With deepest concern as explained above, I would like to call on you to reconsider the appointment of the current Subcommittee on the South. Efforts should be made to ensure fair representation of all sectors in the Subcommittee and to guarantee that it can deliver to protect rights and liberties of all groups effectively and in accordance with the spirit of the law to enact NHRC and Thailand’s Constitution.

Thank you for your attention.

Sincerely yours,

(Angkhana Neelapaijit)
Chairperson, Working Group on Justice for Peace

Namelist of NHRCT, Sub-committee on the south
Prof Amara Pongsapich Chairperson
Mr Niran Pitakwachara The 1st Deputy
Mr Piboon Warahapaiboon The 2nd Deputy
Mr Somchai Homla-or Sub-committee
Mr Muhammadzakee Jaeha Sub-committee
Mr Chockchai Wongthani Sub-committee
Ms Angkhana Neelapaijit Sub-committee
Mr Abdulaziz Tadae-in Sub-committee
Ms Pornpen Kongkachornkiet Sub-committee
Mr Sitthipong Chandarawirot Sub-committee

จากข้อเท็จจริง ในคณะอนุกรรมการด้านการต่อต้านการทรมานฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งในคณะอนุกรรมการฯชุดนี้ ได้เคยถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งข้อสังเกตุมาแล้วว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ไม่มีความเป็นกลาง อีกทั้งไม่มีความเป็นธรรม เนื่องจากอนุกรรมการบางท่านในคณะกรรมการฯชุดดังกล่าว ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ร้องเรียน และผู้ตรวจสอบในเวลาเดียวกัน และในบางกรณีปรากฏมีอนุกรรมการบางท่านได้พยายามตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ในฐานะเจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อได้รับการปฏิเสธก็ได้ใช้สถานภาพของอนุกรรมการฯ เข้าไปตรวจสอบ จึงก่อให้เกิดความสับสนในระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และส่งผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจในความเป็นกลางของอนุกรรมการฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ดังเป็นที่ทราบแล้วว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดปัจจุบันได้ถูกตรวจสอบจากองค์กรสิทธิฯทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ถึงการขาดประสบการณ์ และความเข้าใจในมิติสิทธิมนุษยชนสากล ของคณะกรรมการบางท่าน อีกทั้งเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน ด้านสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแห่งเอเชีย (Asian NGOs Network on National Human Rights Institutions – ANNI) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยได้ร่วมมือทำงานอย่างสม่ำเสมอกับคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศของสถาบันระดับชาติเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (International Coordinating Committee of National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights -ICC) ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ภายใต้อำนาจของ อนุกรรมการว่าด้วยการรับรองคุณสมบัติองค์กร (ICC Sub-Committee on Accreditation) ได้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทยชุดปัจจุบันว่าจะสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของพลเมืองไทยทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกันตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน ฉบับต่างๆของสหประชาชาติหรือไม่

ด้วยความห่วงใยดังกล่าวดิฉันจึงมีหนังสือฉบับนี้มายังท่านเพื่อโปรดพิจารณาการแต่งตั้งคณะกรรมการภาคใต้อีกครั้ง เพื่อให้คณะอนุกรรมการฯชุดดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง เพื่อสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของคนทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมตามเจตนารมณ์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

เรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ

(นางอังคณา นีละไพจิตร)
ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

รายชื่ออนุกรรมการภาคใต้
ศาสตราจารย์อมรม พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการ
นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ รองประธานอนุกรรมการคนที่ ๑
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ รองประธานอนุกรรมการคนที่ ๒
นายสมชาย หอมลออ อนุกรรมการ
นายมูฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ อนุกรรมการ
นายโชคชัย วงศ์ตานี อนุกรรมการ
นางอังคณา นีละไพจิตร อนุกรรมการ
นายอับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ อนุกรรมการ
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ อนุกรรมการ
นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ อนุกรรมการ