พิเคราะห์ “ลมปาก” นักการเมือง จาก “คำประกาศปัตตานี-ปฏิญญายะลา” ถึง “นครปัตตานี” พิเคราะห์ “ลมปาก” นักการเมือง จาก “คำประกาศปัตตานี-ปฏิญญายะลา” ถึง “นครปัตตานี”

bigjewโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา

“นครปัตตานี” กลายเป็นวาทกรรมแห่งปีฉลูที่ “ร้อนที่สุด” คำหนึ่งในบริบทของปัญหาไฟใต้ นอกเหนือจากคำว่า “การเมืองนำการทหาร” และ “สบ.ชต.” ที่สืบเนื่องจากความพยายามปรับทิศนโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

แต่ความแตกต่างระหว่างวาทะ “นครปัตตานี” กับ “การเมืองนำการทหาร” และ “สบ.ชต.” (ล่าสุดเปลี่ยนกลับไปเป็น ศอ.บต.แล้ว) ก็คือคำว่า “นครปัตตานี” ถูกจุดประเด็นขึ้นจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะประธานพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน และยังเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหา “ไฟใต้คุโชนรอบใหม่” หลังปี 2547 เป็นต้นมาด้วย

วาทกรรม “นครปัตตานี” นับว่าถูกใจคนบางกลุ่มในพื้นที่ชายแดนใต้ และนำมาซึ่งการสานต่อโดยองค์กรภาคประชาสังคมหลายๆ องค์กรที่หยิบไปตั้งเป็นประเด็นถกเถียงในหลายๆ เวที
bigjewโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา

“นครปัตตานี” กลายเป็นวาทกรรมแห่งปีฉลูที่ “ร้อนที่สุด” คำหนึ่งในบริบทของปัญหาไฟใต้ นอกเหนือจากคำว่า “การเมืองนำการทหาร” และ “สบ.ชต.” ที่สืบเนื่องจากความพยายามปรับทิศนโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

แต่ความแตกต่างระหว่างวาทะ “นครปัตตานี” กับ “การเมืองนำการทหาร” และ “สบ.ชต.” (ล่าสุดเปลี่ยนกลับไปเป็น ศอ.บต.แล้ว) ก็คือคำว่า “นครปัตตานี” ถูกจุดประเด็นขึ้นจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะประธานพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน และยังเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหา “ไฟใต้คุโชนรอบใหม่” หลังปี 2547 เป็นต้นมาด้วย

วาทกรรม “นครปัตตานี” นับว่าถูกใจคนบางกลุ่มในพื้นที่ชายแดนใต้ และนำมาซึ่งการสานต่อโดยองค์กรภาคประชาสังคมหลายๆ องค์กรที่หยิบไปตั้งเป็นประเด็นถกเถียงในหลายๆ เวที

อันที่จริง ข้อเสนอที่เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดการปกครองแบบพิเศษที่เหมาะสมกับสภาพ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในแง่ของสังคม วัฒนธรรม กฎหมาย  และเศรษฐกิจนั้น ถูกหยิบยกเอามาเป็นนโยบายเพื่อใช้หาเสียงในการเลือกตั้งหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา

โดย พล.อ.ชวลิต เคยพูดเรื่องนี้ครั้งเดินสายปราศรัยหาเสียงที่มัสยิดกรือเซะเมื่อหลายปีก่อน ข้อเสนอก็คือจัดรูปการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ คล้ายๆ กับกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา แต่แนวคิดของ พล.อ.ชวลิต ไม่ได้เป็นนโยบายของพรรคไทยรักไทยที่เจ้าตัวเข้าร่วมรัฐบาลในเวลาต่อมา ซึ่ง นอกจากรูปแบบการปกครองแบบพิเศษแล้ว พล.อ.ชวลิต ยังเห็นด้วยกับแนวทางการเปิดโต๊ะเจรจาด้วย

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ในฤดูการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี 2548 ได้จัดระดมความเห็นของนักวิชาการท้องถิ่น กระทั่งตกผลึกเป็นนโยบายของพรรคที่ใช้ในการรณรงค์ขอคะแนนจากชาวบ้านที่ชื่อ “คำประกาศปัตตานี” สาระก็คือสนับสนุนให้มี “องค์กรหลัก” ที่มีกฎหมายรองรับ ทำหน้าที่ประสานงานและบริหารจัดการแก้ไขปัญหาในทุกมิติของจังหวัดชายแดนภาคใต้

วิธีการก็คือฟื้น ศอ.บต. หรือศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถูกยุบเลิกไปในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาใหม่ (ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก : เปิด “คำประกาศปัตตานี” ที่ถูกลืม แนวทางดับไฟที่ปฏิบัติได้จริงหรือ? <http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=1110&Itemid=86>)

ส่วนการจัดรูปการปกครองแบบพิเศษนั้น มาชัดเจนขึ้นในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งปี 2550 (เลือกตั้งครั้งแรกหลังการรัฐประหาร) โดยพรรคประชาธิปัตย์ให้น้ำหนักไปที่ “เขตพัฒนาพิเศษทางเศรษฐกิจ” มากกว่าจะชูประเด็นที่ตีความได้ว่าเป็น “เขตปกครองพิเศษ” ที่มีความอ่อนไหวอย่างยิ่งในประเทศนี้

ขณะที่องค์กรพิเศษซึ่งจะมาจัดการปัญหาภาคใต้ ได้มีการยกร่างกฎหมายจัดตั้งสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สบ.ชต. เป็นองค์กรที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันปรับร่างกฎหมาย และเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น ศอ.บต.)

อีกพรรคการเมืองหนึ่งที่เคยประกาศนโยบายหาเสียงเพื่อสร้างแกระแสในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ “พรรคมหาชน” ที่นำทัพโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งได้ประกาศ “ปฏิญญายะลา” เป็นสัญญาประชาคมเพื่อพี่น้องมุสลิม โดยมีสาระสำคัญคือมุ่งประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ให้สามารถรักษาอัตลักษณ์ และความแตกต่างทางวัฒนธรรมเอาไว้

วิธีการคือจัดตั้ง “องค์กรปกครองพิเศษ” ที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ได้ เช่น กำหนดวันหยุดราชการอย่างเป็นเอกเทศ อนุญาตให้ตั้งชื่อบุคคลเป็นภาษาอาหรับหรือภาษาถิ่นได้อย่างเต็มภาคภูมิ  ตลอดจนสามารถเปิดสอนภาษามลายูได้ และสามารถยกระดับเป็นภาษาประจำท้องถิ่นได้

แต่ทั้งหมดที่ไล่เรียงมา เมื่อพิจารณากับสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว ย่อมสรุปได้ว่ายังไม่มีนโยบายใดเป็นรูปธรรม มีเพียง “ลมปาก” ล้วนๆ

อย่างไรก็ดี ในวงเสวนาเล็กๆ ที่ชื่อ “ศุกร์เสวนา” เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์  สื่อมวลชน องค์กรภาคประชาสังคม และเยาวชนนักกิจกรรม ตั้งวงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหัวข้อ “สัญญาหน้าฝน….นครปัตตานี?” ที่สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ อ.เมืองปัตตานี กลับมองว่าแม้จุดเริ่มต้นของ “นครปัตตานี” จะมาจากลมปากของนักการเมือง แต่ก็สมควรที่รัฐบาลจะหยิบมาตั้งเป็นโจทย์เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ชิดชนก  ราฮิมมูลา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) กล่าวว่า ในสายตาของฝ่ายความมั่นคงอาจคิดว่าประเด็น “นครปัตตานี” เป็นแค่ความเห็นทางการเมือง แต่สำหรับคนในพื้นที่มันโดนใจ พรรคประชาธิปัตย์จึงควรใช้โอกาสนี้เชิญ พล.อ.ชวลิต ผู้ได้ฉายาว่า “ขงเบ้งแห่งกองทัพไทย” มาพูดคุยหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

“ในสมัยที่พรรคไทยรักไทยเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง และได้จัดตั้งรัฐบาล คุณทักษิณยังเปิดโอกาสให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้ไข ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ปรากฏการณ์ในครั้งนั้นถือว่าคุณทักษิณใจกว้างและกล้าพอที่รับข้อเสนอเกี่ยว กับ ‘คำประกาศปัตตานี’  ของพรรคฝ่ายค้าน (ประชาธิปัตย์) และต่อมายังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ หรือ กอส. ขึ้นมาเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้วย”

“แต่ในทางกลับกัน กับข้อเสนอ ‘นครปัตตานี’ พรรคประชาธิปัตย์กลับออกมาตอบโต้อย่างดุเดือด มันปาก ไม่ว่าเจตนาที่แท้จริงของ พล.อ.ชวลิต จะเป็นอย่างไร แต่ก็เป็นความคิดเห็นของท่านที่ต้องการให้มิติการเมืองนำการทหาร ถึงรายละเอียดจะยังไม่ชัดเจนในตัวโครงสร้างของนครปัตตานี และจะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไร หรือจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไรก็ตาม”

ชิดชนก ยังบอกอีกว่า การสร้างความเข้าใจกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามายังพื้นที่ชายแดนใต้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ที่จะนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา โดยเฉพาะการจัดรูปการปกครองแบบใหม่ๆ ต้องสามารถอธิบายได้ด้วยว่ารูปแบบเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ดีอย่างไร มีปัญหาตรงไหน

“การกระจายอำนาจอย่างทั่วถึง ให้อำนาจประชาชนได้มีโอกาสดูแลตัวเองอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในความเป็นมลายูมุสลิม ถือว่าสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 78 (3) คำถามก็คือรูปแบบการปกครองที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถสนองตอบ ความต้องการของคนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมใช่หรือไม่” ชิดชนก ตั้งคำถาม

สำหรับรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 (3) ว่าด้วยแนวนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ระบุว่า รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจใน กิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่ว ประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น

ขณะที่ มูฮำมัดอายุบ ปาทาน ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และดีพเซาท์วอทช์ อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา ให้ทัศนะว่า ทุกฝ่ายต้องยอมรับความจริงเสียก่อนว่าคนส่วนใหญ่ในพื้นที่นี้เป็นมลายู มุสลิม ฉะนั้นการบริหารจัดการใดๆ ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน หากจะมีการจัดรูปการปกครองใหม่ สิ่งที่หนีไม่พ้นและจะต้องพิจารณาคือโครงสร้างทางศาสนาจะไปอยู่ตรงไหน

มูฮำมัดอายุบ ยังเสนอว่า หากจะขับเคลื่อนประเด็นใหม่ๆ ในพื้นที่ สิ่งที่ต้องทำมีอยู่ 3 ข้อคือ 1.ให้ความรู้ประชาชน อาจจะผ่านงานทางวิชาการ เพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดถึงเดินไปข้างหน้าไม่ได้ และถ้าจะเดินต่อไปจะมีรูปแบบใดถึงจะไม่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ผ่านมางานวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ยังมีน้อย

2.ต้องระดมความเห็นจัดทำเป็นชุดความเห็นจากชาวบ้านในพื้นที่ คือคนจากข้างล่างจะต้องออกมาพูดบ้าง ไม่ใช่ให้คนระดับกลางอย่างองค์กรภาคประชาสังคมออกมาพูดตลอด เพื่อให้ได้ทราบความคิดเห็นของคนข้างล่างจริงๆ บางทีคำตอบที่ออกมาอาจจะไม่เป็นอย่างที่ทุกคนคิดก็เป็นได้

3.เตรียมความพร้อม เพราะคนในอีก 73 จังหวัดมองเรื่องนี้เป็นคนละเรื่อง แม้กระทั่งคนไทยพุทธในพื้นที่เองก็จะมองเป็นอย่างอื่น หากไม่มีการเตรียมความพร้อม ไม่มีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นเหล่านี้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมา

“ถ้านักรัฐศาสตร์กับนักประวัติศาสตร์สามารถทำงานเชื่อมโยงไปด้วยกันได้ เพื่อค้นหารูปแบบโครงสร้างการเมืองการปกครองในจังหวัดชายแดนใต้ที่สอดคล้อง กับท้องถิ่นจริงๆ แล้วผลิตรูปแบบการปกครองออกมาให้ชัด ไม่แน่ว่าที่อื่นอาจจะเอาไปเป็นแบบอย่าง นอกจากนั้นการสื่อสารก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับทั้งใน พื้นที่และต่างพื้นที่ คือจะต้องมีการสื่อสารสองทาง ทั้งคนข้างในซึ่งมีทั้งมลายูมุสลิมและไทยพุทธ กับอีกทางหนึ่งคือคนข้างนอก แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการกระจายอำนาจที่อยู่ภายใต้รัฐเดี่ยวต้องคิดโมเดลแบบ คนปัตตานี  ถ้าหากให้คนอื่นคิดแทนก็จะยุ่ง” มูฮำมัดอายุบ กล่าว

จาก “คำประกาศปัตตานี” ถึง “ปฏิญญายะลา”ในอดีต และ “นครปัตตานี” ในวันนี้ ดูจะเป็นเพียงก้าวแรกๆ ของการสร้างโจทย์เพื่อการมีส่วนร่วมเท่านั้น จุดสำคัญอยู่ที่ก้าวต่อไปต่างหากว่าจะทำให้วาทกรรมเหล่านั้นเป็นจริงได้ หรือเป็นแค่ “ลมปาก” ของนักการเมือง

————————-
หมายเหตุ : เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย มูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ จากบุหงารายานิวส์
อันที่จริง ข้อเสนอที่เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดการปกครองแบบพิเศษที่เหมาะสมกับสภาพ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในแง่ของสังคม วัฒนธรรม กฎหมาย และเศรษฐกิจนั้น ถูกหยิบยกเอามาเป็นนโยบายเพื่อใช้หาเสียงในการเลือกตั้งหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา

โดย พล.อ.ชวลิต เคยพูดเรื่องนี้ครั้งเดินสายปราศรัยหาเสียงที่มัสยิดกรือเซะเมื่อหลายปีก่อน ข้อเสนอก็คือจัดรูปการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ คล้ายๆ กับกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา แต่แนวคิดของ พล.อ.ชวลิต ไม่ได้เป็นนโยบายของพรรคไทยรักไทยที่เจ้าตัวเข้าร่วมรัฐบาลในเวลาต่อมา ซึ่ง นอกจากรูปแบบการปกครองแบบพิเศษแล้ว พล.อ.ชวลิต ยังเห็นด้วยกับแนวทางการเปิดโต๊ะเจรจาด้วย

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ในฤดูการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี 2548 ได้จัดระดมความเห็นของนักวิชาการท้องถิ่น กระทั่งตกผลึกเป็นนโยบายของพรรคที่ใช้ในการรณรงค์ขอคะแนนจากชาวบ้านที่ชื่อ “คำประกาศปัตตานี” สาระก็คือสนับสนุนให้มี “องค์กรหลัก” ที่มีกฎหมายรองรับ ทำหน้าที่ประสานงานและบริหารจัดการแก้ไขปัญหาในทุกมิติของจังหวัดชายแดนภาคใต้

วิธีการก็คือฟื้น ศอ.บต. หรือศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถูกยุบเลิกไปในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาใหม่ (ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก : เปิด “คำประกาศปัตตานี” ที่ถูกลืม แนวทางดับไฟที่ปฏิบัติได้จริงหรือ? <http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=1110&Itemid=86>)

ส่วนการจัดรูปการปกครองแบบพิเศษนั้น มาชัดเจนขึ้นในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งปี 2550 (เลือกตั้งครั้งแรกหลังการรัฐประหาร) โดยพรรคประชาธิปัตย์ให้น้ำหนักไปที่ “เขตพัฒนาพิเศษทางเศรษฐกิจ” มากกว่าจะชูประเด็นที่ตีความได้ว่าเป็น “เขตปกครองพิเศษ” ที่มีความอ่อนไหวอย่างยิ่งในประเทศนี้

ขณะที่องค์กรพิเศษซึ่งจะมาจัดการปัญหาภาคใต้ ได้มีการยกร่างกฎหมายจัดตั้งสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สบ.ชต. เป็นองค์กรที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันปรับร่างกฎหมาย และเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น ศอ.บต.)

อีกพรรคการเมืองหนึ่งที่เคยประกาศนโยบายหาเสียงเพื่อสร้างแกระแสในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ “พรรคมหาชน” ที่นำทัพโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งได้ประกาศ “ปฏิญญายะลา” เป็นสัญญาประชาคมเพื่อพี่น้องมุสลิม โดยมีสาระสำคัญคือมุ่งประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ให้สามารถรักษาอัตลักษณ์ และความแตกต่างทางวัฒนธรรมเอาไว้

วิธีการคือจัดตั้ง “องค์กรปกครองพิเศษ” ที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ได้ เช่น กำหนดวันหยุดราชการอย่างเป็นเอกเทศ อนุญาตให้ตั้งชื่อบุคคลเป็นภาษาอาหรับหรือภาษาถิ่นได้อย่างเต็มภาคภูมิ ตลอดจนสามารถเปิดสอนภาษามลายูได้ และสามารถยกระดับเป็นภาษาประจำท้องถิ่นได้

แต่ทั้งหมดที่ไล่เรียงมา เมื่อพิจารณากับสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว ย่อมสรุปได้ว่ายังไม่มีนโยบายใดเป็นรูปธรรม มีเพียง “ลมปาก” ล้วนๆ

อย่างไรก็ดี ในวงเสวนาเล็กๆ ที่ชื่อ “ศุกร์เสวนา” เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ สื่อมวลชน องค์กรภาคประชาสังคม และเยาวชนนักกิจกรรม ตั้งวงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหัวข้อ “สัญญาหน้าฝน….นครปัตตานี?” ที่สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ อ.เมืองปัตตานี กลับมองว่าแม้จุดเริ่มต้นของ “นครปัตตานี” จะมาจากลมปากของนักการเมือง แต่ก็สมควรที่รัฐบาลจะหยิบมาตั้งเป็นโจทย์เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ชิดชนก ราฮิมมูลา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) กล่าวว่า ในสายตาของฝ่ายความมั่นคงอาจคิดว่าประเด็น “นครปัตตานี” เป็นแค่ความเห็นทางการเมือง แต่สำหรับคนในพื้นที่มันโดนใจ พรรคประชาธิปัตย์จึงควรใช้โอกาสนี้เชิญ พล.อ.ชวลิต ผู้ได้ฉายาว่า “ขงเบ้งแห่งกองทัพไทย” มาพูดคุยหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

“ในสมัยที่พรรคไทยรักไทยเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง และได้จัดตั้งรัฐบาล คุณทักษิณยังเปิดโอกาสให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้ไข ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ปรากฏการณ์ในครั้งนั้นถือว่าคุณทักษิณใจกว้างและกล้าพอที่รับข้อเสนอเกี่ยว กับ ‘คำประกาศปัตตานี’ ของพรรคฝ่ายค้าน (ประชาธิปัตย์) และต่อมายังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ หรือ กอส. ขึ้นมาเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้วย”

“แต่ในทางกลับกัน กับข้อเสนอ ‘นครปัตตานี’ พรรคประชาธิปัตย์กลับออกมาตอบโต้อย่างดุเดือด มันปาก ไม่ว่าเจตนาที่แท้จริงของ พล.อ.ชวลิต จะเป็นอย่างไร แต่ก็เป็นความคิดเห็นของท่านที่ต้องการให้มิติการเมืองนำการทหาร ถึงรายละเอียดจะยังไม่ชัดเจนในตัวโครงสร้างของนครปัตตานี และจะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไร หรือจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไรก็ตาม”

ชิดชนก ยังบอกอีกว่า การสร้างความเข้าใจกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามายังพื้นที่ชายแดนใต้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ที่จะนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา โดยเฉพาะการจัดรูปการปกครองแบบใหม่ๆ ต้องสามารถอธิบายได้ด้วยว่ารูปแบบเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ดีอย่างไร มีปัญหาตรงไหน

“การกระจายอำนาจอย่างทั่วถึง ให้อำนาจประชาชนได้มีโอกาสดูแลตัวเองอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในความเป็นมลายูมุสลิม ถือว่าสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 78 (3) คำถามก็คือรูปแบบการปกครองที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถสนองตอบ ความต้องการของคนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมใช่หรือไม่” ชิดชนก ตั้งคำถาม

สำหรับรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 (3) ว่าด้วยแนวนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ระบุว่า รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจใน กิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่ว ประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น

ขณะที่ มูฮำมัดอายุบ ปาทาน ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และดีพเซาท์วอทช์ อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา ให้ทัศนะว่า ทุกฝ่ายต้องยอมรับความจริงเสียก่อนว่าคนส่วนใหญ่ในพื้นที่นี้เป็นมลายู มุสลิม ฉะนั้นการบริหารจัดการใดๆ ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน หากจะมีการจัดรูปการปกครองใหม่ สิ่งที่หนีไม่พ้นและจะต้องพิจารณาคือโครงสร้างทางศาสนาจะไปอยู่ตรงไหน

มูฮำมัดอายุบ ยังเสนอว่า หากจะขับเคลื่อนประเด็นใหม่ๆ ในพื้นที่ สิ่งที่ต้องทำมีอยู่ 3 ข้อคือ 1.ให้ความรู้ประชาชน อาจจะผ่านงานทางวิชาการ เพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดถึงเดินไปข้างหน้าไม่ได้ และถ้าจะเดินต่อไปจะมีรูปแบบใดถึงจะไม่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ผ่านมางานวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ยังมีน้อย

2.ต้องระดมความเห็นจัดทำเป็นชุดความเห็นจากชาวบ้านในพื้นที่ คือคนจากข้างล่างจะต้องออกมาพูดบ้าง ไม่ใช่ให้คนระดับกลางอย่างองค์กรภาคประชาสังคมออกมาพูดตลอด เพื่อให้ได้ทราบความคิดเห็นของคนข้างล่างจริงๆ บางทีคำตอบที่ออกมาอาจจะไม่เป็นอย่างที่ทุกคนคิดก็เป็นได้

3.เตรียมความพร้อม เพราะคนในอีก 73 จังหวัดมองเรื่องนี้เป็นคนละเรื่อง แม้กระทั่งคนไทยพุทธในพื้นที่เองก็จะมองเป็นอย่างอื่น หากไม่มีการเตรียมความพร้อม ไม่มีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นเหล่านี้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมา

“ถ้านักรัฐศาสตร์กับนักประวัติศาสตร์สามารถทำงานเชื่อมโยงไปด้วยกันได้ เพื่อค้นหารูปแบบโครงสร้างการเมืองการปกครองในจังหวัดชายแดนใต้ที่สอดคล้อง กับท้องถิ่นจริงๆ แล้วผลิตรูปแบบการปกครองออกมาให้ชัด ไม่แน่ว่าที่อื่นอาจจะเอาไปเป็นแบบอย่าง นอกจากนั้นการสื่อสารก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับทั้งใน พื้นที่และต่างพื้นที่ คือจะต้องมีการสื่อสารสองทาง ทั้งคนข้างในซึ่งมีทั้งมลายูมุสลิมและไทยพุทธ กับอีกทางหนึ่งคือคนข้างนอก แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการกระจายอำนาจที่อยู่ภายใต้รัฐเดี่ยวต้องคิดโมเดลแบบ คนปัตตานี ถ้าหากให้คนอื่นคิดแทนก็จะยุ่ง” มูฮำมัดอายุบ กล่าว

จาก “คำประกาศปัตตานี” ถึง “ปฏิญญายะลา”ในอดีต และ “นครปัตตานี” ในวันนี้ ดูจะเป็นเพียงก้าวแรกๆ ของการสร้างโจทย์เพื่อการมีส่วนร่วมเท่านั้น จุดสำคัญอยู่ที่ก้าวต่อไปต่างหากว่าจะทำให้วาทกรรมเหล่านั้นเป็นจริงได้ หรือเป็นแค่ “ลมปาก” ของนักการเมือง

————————-
หมายเหตุ : เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย มูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ จากบุหงารายานิวส์