คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพจัดการอบรมพัฒนาองค์ความรู้ให้กับอาสาสมัครคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพจัดการอบรมพัฒนาองค์ความรู้ให้กับอาสาสมัคร
Category: News
เมื่อวันที่ 23-25 กันยายน 2552 คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้จัดให้มีการ อบรมอาสาสมัครชุมชน ณ. เทพาบีชรีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นการจัดงานครั้งที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานเพื่อเป็นการ เพิ่มศักยภาพการทำงานในพื้นที่ให้แก่ อาสาสมัครของคณะทำงานฯ หัวข้อในการจัดงานครั้งนี้คือ “ทักษะการเจรจาในสถานการณ์ความขัดแย้ง” ในครั้งนี้คณะทำงานฯ ได้รับความร่วมมือ จากองค์กรภาคประชาชนหลายกลุ่ม สละเวลาเพื่อมาแลกเปลี่ยน และให้ข้อคิดเห็นต่อการทำงานของอาสาสมัครของคณะทำงานฯที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในวันแรกของการจัดงาน คณะทำงานฯ ได้รับความร่วมมือจาก คุณ จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย คุณจินตนา แก้วขาว จากกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก และคุณสีละ จะแฮ ประธานสมาคมลาหู่เพื่อการพัฒนา มาบอกเล่าเรื่องราวของการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมของแต่ละชุมชน/องค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งบริบทและประเด็นของการเรียกร้อง บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเต็มไปด้วยอรรถรส ของการเล่าประสบการณ์ของการต่อสู้ระดับประเทศ เทคนิคในการเจรจาต่อรอง การยื่นข้อเสนอ และให้ข้อมูลต่อภาครัฐถึงผลกระทบของปัญหา ที่กลุ่มของตนประสบอยู่ รวมถึงวิธีการใช้กลไกกฏหมายของรัฐในบางส่วนที่ค่อนข้างเอื้อประโยชน์หรือเปิดช่องไว้สำหรับประชาชน ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเราไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนักในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจาก การใช้ความรุนแรง นอกจากนั้นยังได้ทราบว่าการให้กำลังใจซึ่งกันและกันภายในองค์กรก็มีความสำคัญไม่ใช่น้อย วงแลกเปลี่ยนนี้จบลงด้วยการให้กำลังใจจาก “นักสู้ต่างถิ่น” ทั้งสามท่านที่มองว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้คงมีท่าว่าจะจบยาก และดูเหมือนเป็นปัญหาองค์รวมที่หลายคนเรียกกันจนชินว่า “ปัญหาเชิงโครงสร้าง”
เมื่อวันที่ 23-25 กันยายน 2552 คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้จัดให้มีการ อบรมอาสาสมัครชุมชน ณ. เทพาบีชรีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นการจัดงานครั้งที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานเพื่อเป็นการ เพิ่มศักยภาพการทำงานในพื้นที่ให้แก่ อาสาสมัครของคณะทำงานฯ หัวข้อในการจัดงานครั้งนี้คือ “ทักษะการเจรจาในสถานการณ์ความขัดแย้ง” ในครั้งนี้คณะทำงานฯ ได้รับความร่วมมือ จากองค์กรภาคประชาชนหลายกลุ่ม สละเวลาเพื่อมาแลกเปลี่ยน และให้ข้อคิดเห็นต่อการทำงานของอาสาสมัครของคณะทำงานฯที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในวันแรกของการจัดงาน คณะทำงานฯ ได้รับความร่วมมือจาก คุณ จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย คุณจินตนา แก้วขาว จากกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก และคุณสีละ จะแฮ ประธานสมาคมลาหู่เพื่อการพัฒนา มาบอกเล่าเรื่องราวของการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมของแต่ละชุมชน/องค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งบริบทและประเด็นของการเรียกร้อง บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเต็มไปด้วยอรรถรส ของการเล่าประสบการณ์ของการต่อสู้ระดับประเทศ เทคนิคในการเจรจาต่อรอง การยื่นข้อเสนอ และให้ข้อมูลต่อภาครัฐถึงผลกระทบของปัญหา ที่กลุ่มของตนประสบอยู่ รวมถึงวิธีการใช้กลไกกฏหมายของรัฐในบางส่วนที่ค่อนข้างเอื้อประโยชน์หรือเปิดช่องไว้สำหรับประชาชน ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเราไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนักในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจาก การใช้ความรุนแรง นอกจากนั้นยังได้ทราบว่าการให้กำลังใจซึ่งกันและกันภายในองค์กรก็มีความสำคัญไม่ใช่น้อย วงแลกเปลี่ยนนี้จบลงด้วยการให้กำลังใจจาก “นักสู้ต่างถิ่น” ทั้งสามท่านที่มองว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้คงมีท่าว่าจะจบยาก และดูเหมือนเป็นปัญหาองค์รวมที่หลายคนเรียกกันจนชินว่า “ปัญหาเชิงโครงสร้าง”
หลังจากจบการสนทนาในวันแรก บรรยากาศในวันที่สองของการจัดงานเริ่มคึกคักอีกครั้งเนื่องจากในวันแรก อาสาสมัครของคณะทำงานฯ ตื่นตาตื่นใจกับองค์ความรู้ใหม่ๆ ไม่น้อย โจทย์ของวันที่สองจึงค่อนข้างเข้มข้น โดยในวันนี้ คณะทำงานฯ ได้รับเกียรติจาก คุณภพธรรม สุนันธรรม เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กมส.) มาให้ความรู้กับอาสาสมัครในหัวข้อ “การเก็บและบันทึกข้อเท็จจริง ในสถานการณ์ความขัดแย้ง” โดยในขั้นแรกได้จัดให้มีการ บรรยายภาพรวมของรายละเอียดการเก็บข้อมูล โดยคุณภพธรรมได้ถ่ายทอดเทคนิคการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้าน และเน้นข้อมูลที่ละเอียด เป็นจริงตรงไปตรงมา หลังจากนั้นก็ได้จัดให้มีการจำลองสถานการณ์สมมุติ ให้อาสาสมัครที่เข้าอบรมไปเก็บข้อมูลข้อเท็จจริง โดยทุกคนจะได้โจทย์ว่าให้ไปเก็บข้อมูลเรื่องใดมาจากผู้ได้รับผลกระทบ (ซึ่งแสดงโดยทีมงานของคณะทำงานฯเอง) ท้ายสุดของวันที่สองก็จะเป็นการ นำข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้เก็บกันมานำเสนอให้กับวิทยากร และเพื่อนๆ เพื่อให้ คุณภพธรรม สุนันธรรม และคุณอังคณา นีละไพจิตร ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์มาร่วมกันวิจารณ์การเก็บข้อมูล และเพิ่มเติมข้อมูลส่วนที่ขาดหายไป ให้ข้อมูลที่ได้รับมาจากสถานการณ์จำลอง มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วย โดยภาพรวมแล้วถือว่าอาสาสมัครฯสามารถเก็บข้อมูลในเบื้องต้นได้ดีพอสมควร แต่ก็ยังคงขาดในเรื่องของเทคนิคการตั้งคำถาม ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่อาสาสมัครฯต้องเรียนรู้ต่อไป
ในวันสุดท้ายของงานอบรมซึ่งถือเป็นไฮไลต์ของงานครั้งนี้คือ ทางคณะทำงานฯ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ เปิดค่ายทหาร และตำรวจให้ทางคณะทำงานฯและอาสาสมัคร ได้มีโอกาศเข้าพบปะ เพื่อรับฟังแนวทางการแก้ปัญหาของภาครัฐในพื้นที่ ในช่วงเช้าคณะทำงานฯได้เดินทางเพื่อเข้ารับฟังแนวทางการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ. ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี โดยมีท่าน พล.ตประสงค์ กล้าผจญ เลขาธิการศูนย์สันติสุข กอ.รอมน. ภาคสี่ส่วนหน้า และคณะให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปถึง ขอบข่ายการทำงานของทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวทาง และตอบข้อสงสัยให้กับอาสาสมัครของคณะทำงานฯ เช่น มุมมองที่สะท้อนมาจากชาวบ้านในการทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติการ แนะนำการทำงานของอาสาสมัครเอง รวมทั้งพยายามทำความเข้าใจบทบาทการทำงานของเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้กรอบของกฎหมาย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้พาคณะของเราไปเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ที่ศูนย์เสริมสร้างสมานฉันท์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณค่ายอิงคยุทธฯ ซึ่งคณะฯได้มีโอกาสตรวจสอบดูรายละเอียดต่างๆของเจ้าหน้าที่รวมทั้งได้คำอธิบายจากเจ้าหน้าที่ต่อข้อสงสัยต่างๆของอาสาสมัครหลังจากนั้นในช่วงบ่าย คณะทำงานและทีมงานอาสาสมัครฯ ได้เดินทางไปยัง ศูนย์บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา โดยมีท่าน พล.ต.ต.ยงยุทธ เจริญวานิช รองผู้บัญชาการ และคณะให้การต้อนรับ และบรรยายถึง หน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจในสถานการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่อย่างดีพร้อมกันนี้ ทางคณะทำงานฯได้รับเกียรติจาก ท่านพล.ต.ต สมควร คัมภีระ เปิดโอกาศให้อาสาสมัครคณะทำงานฯ เข้าเยี่ยมชมสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตามพรก. ฉุกเฉิน จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ หรือ ศูนย์พิทักษ์สันติ ซึ่งทาง ศูนย์บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ บอกว่าเป็นสถานที่ควบคุมตัวที่ได้มาตรฐานแห่งหนึ่ง และ ได้พาคณะทำงานฯ และอาสาสมัครฯ เดินสำรวจทั้งภายในและภายนอกของสถานที่ดังกล่าวอย่างละเอียด พร้อมเปิดให้มีการซักถามถึงขั้นตอนและกระบวนการในการควบคุมตัว ซึ่งก็มีอาสาสมัครฯ หลายคนตั้งคำถามถึงระเบียบ ปฏิบัติของผู้ที่ถูกควบคุมตัว ว่าต้องปฏิบัติตนอย่างไรระหว่างถูกควบคุมตัว รวมถึงประเด็นเรื่องของอาหารสำหรับผู้ถูกควบคุมว่าถูกต้องตามหลักการศาสนาหรือไม่ ทางคณะทำงานฯ ต้องขอขอบพระคุณหน่วยงานราชการที่อำนวยความสะดวกในการเข้าเยี่ยมมาไว้ ณ.ที่นี่ด้วย
อาสาสมัครหลายคนสะท้อนให้เราฟังว่า รู้สึกยินดีอย่างมากที่ทางหน่วยงานราชการให้การต้อนรับพวกเขาอย่างดี ซึ่งก็ถือว่าเป็นความรู้สึกที่คนในพื้นที่นี้ไม่ค่อยได้รับมากนัก หากลงไปในระดับหมู่บ้าน คณะจัดงานก็หวังว่าจะเป็นการเริ่มผูกสัมพันธ์และสร้างความไว้วางใจกันระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ นอกจากนั้นอาสาสมัครยังให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดกิจกรรมอบรมของคณะทำงานไว้อย่างน่าสนใจว่า อยากให้เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครมากขึ้นโดยเฉพาะเนื้อหาของทักษะการเจรจา และเห็นว่ารูปแบบการจำลองสถานการณ์นั้นสามารถฝึกทักษะการเก็บข้อมูลให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี เราจบทริปการสัมมนาในครั้งนี้ ด้วยการกล่าวขอบคุณในความร่วมมือของอาสาสมัครฯ ที่ได้อุทิตตนเข้ามาทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมบ้านเกิดของตน สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป คณะทำงานฯจะได้นำข้อเสนอต่างๆของอาสาสมัครมาปรับปรุงและจัดรูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของอาสาสมัครในพื้นที่ต่อไป
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการอาสาสมัครชุมชนของคณะทำงานฯ สามารถติดต่อได้ที่ คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ สำนักงานปัตตานี เลขที่ 22/186 ถ.หนองจิก ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี โทร. 073-331-254
[slide]
หลังจากจบการสนทนาในวันแรก บรรยากาศในวันที่สองของการจัดงานเริ่มคึกคักอีกครั้งเนื่องจากในวันแรก อาสาสมัครของคณะทำงานฯ ตื่นตาตื่นใจกับองค์ความรู้ใหม่ๆ ไม่น้อย โจทย์ของวันที่สองจึงค่อนข้างเข้มข้น โดยในวันนี้ คณะทำงานฯ ได้รับเกียรติจาก คุณภพธรรม สุนันธรรม เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กมส.) มาให้ความรู้กับอาสาสมัครในหัวข้อ “การเก็บและบันทึกข้อเท็จจริง ในสถานการณ์ความขัดแย้ง” โดยในขั้นแรกได้จัดให้มีการ บรรยายภาพรวมของรายละเอียดการเก็บข้อมูล โดยคุณภพธรรมได้ถ่ายทอดเทคนิคการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้าน และเน้นข้อมูลที่ละเอียด เป็นจริงตรงไปตรงมา หลังจากนั้นก็ได้จัดให้มีการจำลองสถานการณ์สมมุติ ให้อาสาสมัครที่เข้าอบรมไปเก็บข้อมูลข้อเท็จจริง โดยทุกคนจะได้โจทย์ว่าให้ไปเก็บข้อมูลเรื่องใดมาจากผู้ได้รับผลกระทบ (ซึ่งแสดงโดยทีมงานของคณะทำงานฯเอง) ท้ายสุดของวันที่สองก็จะเป็นการ นำข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้เก็บกันมานำเสนอให้กับวิทยากร และเพื่อนๆ เพื่อให้ คุณภพธรรม สุนันธรรม และคุณอังคณา นีละไพจิตร ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์มาร่วมกันวิจารณ์การเก็บข้อมูล และเพิ่มเติมข้อมูลส่วนที่ขาดหายไป ให้ข้อมูลที่ได้รับมาจากสถานการณ์จำลอง มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วย โดยภาพรวมแล้วถือว่าอาสาสมัครฯสามารถเก็บข้อมูลในเบื้องต้นได้ดีพอสมควร แต่ก็ยังคงขาดในเรื่องของเทคนิคการตั้งคำถาม ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่อาสาสมัครฯต้องเรียนรู้ต่อไป
ในวันสุดท้ายของงานอบรมซึ่งถือเป็นไฮไลต์ของงานครั้งนี้คือ ทางคณะทำงานฯ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ เปิดค่ายทหาร และตำรวจให้ทางคณะทำงานฯและอาสาสมัคร ได้มีโอกาศเข้าพบปะ เพื่อรับฟังแนวทางการแก้ปัญหาของภาครัฐในพื้นที่ ในช่วงเช้าคณะทำงานฯได้เดินทางเพื่อเข้ารับฟังแนวทางการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ. ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี โดยมีท่าน พล.ตประสงค์ กล้าผจญ เลขาธิการศูนย์สันติสุข กอ.รอมน. ภาคสี่ส่วนหน้า และคณะให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปถึง ขอบข่ายการทำงานของทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวทาง และตอบข้อสงสัยให้กับอาสาสมัครของคณะทำงานฯ เช่น มุมมองที่สะท้อนมาจากชาวบ้านในการทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติการ แนะนำการทำงานของอาสาสมัครเอง รวมทั้งพยายามทำความเข้าใจบทบาทการทำงานของเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้กรอบของกฎหมาย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้พาคณะของเราไปเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ที่ศูนย์เสริมสร้างสมานฉันท์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณค่ายอิงคยุทธฯ ซึ่งคณะฯได้มีโอกาสตรวจสอบดูรายละเอียดต่างๆของเจ้าหน้าที่รวมทั้งได้คำอธิบายจากเจ้าหน้าที่ต่อข้อสงสัยต่างๆของอาสาสมัครหลังจากนั้นในช่วงบ่าย คณะทำงานและทีมงานอาสาสมัครฯ ได้เดินทางไปยัง ศูนย์บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา โดยมีท่าน พล.ต.ต.ยงยุทธ เจริญวานิช รองผู้บัญชาการ และคณะให้การต้อนรับ และบรรยายถึง หน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจในสถานการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่อย่างดีพร้อมกันนี้ ทางคณะทำงานฯได้รับเกียรติจาก ท่านพล.ต.ต สมควร คัมภีระ เปิดโอกาศให้อาสาสมัครคณะทำงานฯ เข้าเยี่ยมชมสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตามพรก. ฉุกเฉิน จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ หรือ ศูนย์พิทักษ์สันติ ซึ่งทาง ศูนย์บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ บอกว่าเป็นสถานที่ควบคุมตัวที่ได้มาตรฐานแห่งหนึ่ง และ ได้พาคณะทำงานฯ และอาสาสมัครฯ เดินสำรวจทั้งภายในและภายนอกของสถานที่ดังกล่าวอย่างละเอียด พร้อมเปิดให้มีการซักถามถึงขั้นตอนและกระบวนการในการควบคุมตัว ซึ่งก็มีอาสาสมัครฯ หลายคนตั้งคำถามถึงระเบียบ ปฏิบัติของผู้ที่ถูกควบคุมตัว ว่าต้องปฏิบัติตนอย่างไรระหว่างถูกควบคุมตัว รวมถึงประเด็นเรื่องของอาหารสำหรับผู้ถูกควบคุมว่าถูกต้องตามหลักการศาสนาหรือไม่ ทางคณะทำงานฯ ต้องขอขอบพระคุณหน่วยงานราชการที่อำนวยความสะดวกในการเข้าเยี่ยมมาไว้ ณ.ที่นี่ด้วย
อาสาสมัครหลายคนสะท้อนให้เราฟังว่า รู้สึกยินดีอย่างมากที่ทางหน่วยงานราชการให้การต้อนรับพวกเขาอย่างดี ซึ่งก็ถือว่าเป็นความรู้สึกที่คนในพื้นที่นี้ไม่ค่อยได้รับมากนัก หากลงไปในระดับหมู่บ้าน คณะจัดงานก็หวังว่าจะเป็นการเริ่มผูกสัมพันธ์และสร้างความไว้วางใจกันระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ นอกจากนั้นอาสาสมัครยังให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดกิจกรรมอบรมของคณะทำงานไว้อย่างน่าสนใจว่า อยากให้เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครมากขึ้นโดยเฉพาะเนื้อหาของทักษะการเจรจา และเห็นว่ารูปแบบการจำลองสถานการณ์นั้นสามารถฝึกทักษะการเก็บข้อมูลให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี เราจบทริปการสัมมนาในครั้งนี้ ด้วยการกล่าวขอบคุณในความร่วมมือของอาสาสมัครฯ ที่ได้อุทิตตนเข้ามาทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมบ้านเกิดของตน สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป คณะทำงานฯจะได้นำข้อเสนอต่างๆของอาสาสมัครมาปรับปรุงและจัดรูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของอาสาสมัครในพื้นที่ต่อไป
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการอาสาสมัครชุมชนของคณะทำงานฯ สามารถติดต่อได้ที่ คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ สำนักงานปัตตานี เลขที่ 22/186 ถ.หนองจิก ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี โทร. 073-331-254
[slide]