Press Releaseใบแจ้งข่าว: กรณีกรือเซะ สะบ้าย้อยและอื่นๆ จะทำการยื่นจดหมายให้กับนายกสภาทนายความ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์
Category: News
The relatives of the April 28th, 2004 incident will submit a complaint letter to the president of the Lawyer’s Council of Thailand on Saturday 22nd, 2008 at CS Pattani Hotel.
During the April 28th incident (Kruesae Incident) groups of young men simultaneously attacked 11 police and government posts throughout three provinces in the deep south of Thailand, namely Yala, Pattani and Songkhla. 108 people died during the suppressing of the attacks. Post-mortem inquests were conducted and the court identified information that in at least two out of the 11 posts attacked, most of the deceased were shot in the head, back or top part of the body. The government set up the Independent Committee to Investigate the Kruesae Incident and the finding of the investigation in a report of July 2004 was that the majority of the committee suggested that the non-violent means could have been applied to suppress of the incident.
วันเสาร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ญาติผู้สูญเสียในกรณีเหตุการณ์ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ (กรณีกรือเซะ สะบ้าย้อยและอื่นๆ) จะทำการยื่นจดหมายให้กับนายกสภาทนายความ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ ที่โรงแรม ซี เอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อเรียกร้องให้สภาทนายความดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้ปรากฏต่อสังคม ในกรณีการเสียชีวิตของประชาชนในเหตุการณ์ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗
เหตุการณ์ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ เป็นกรณีที่มีกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งเข้าโจมตี สถานีตำรวจ ที่ทำการของฝ่ายปกครอง และที่ตั้งส่วนราชการ พร้อมกัน ๑๑ จุดในพื้นที่ ๓ จังหวัด ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และสงขลา นำไปสู่การต่อสู้ และปราบปรามในที่สุด ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น ๑๐๘ ราย และต่อมาได้มีการไต่สวนการตายต่อการเสียชีวิตในจุดต่างๆ จากรายงานการไต่สวนการตาย มีอย่างน้อยสองกรณีคือ กรือเซะ และสะบ้าย้อย ที่ข้อเท็จจริงจากคำให้การการไต่สวนการตาย ได้แสดงข้อกังขาต่อการเสียชีวิตของกลุ่มบุคคลที่เข้าไปบุกยึด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีกรือเซะที่ได้มีการตั้ง“คณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีมัสยิดกรือเซะ“ โดยมี นายนายสุจินดา ยงสุนทร อดีตเอกอัครราชทูตและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานกรรมการ โดยเสียงข้างมากในคณะกรรมการอิสระฯ เห็นว่า การใช้วิธีการสันติวิธีเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ โดยได้ระบุในรายงานว่า “การใช้วิธีปิดล้อมและตรึงกำลังไว้รอบมัสยิดควบคู่ไปกับการเจรจาและเกลี้ยกล่อมโดยสันติวิธี อาจทำให้ผู้ก่อความไม่สงบยอมจำนนได้ในที่สุด…การยุติเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะด้วยสันติวิธีจึงมีความเหมาะสมกว่าที่จะใช้วิธีรุนแรงและอาวุธหนักเพื่อยุติเหตุการณ์“ อย่างไรก็ตาม ผู้บุกรุกทั้งหมดถูกทำให้เสียชีวิต ทำให้ไม่สามารถสืบสวนไปถึงวัตถุประสงค์และแรงบันดาลใจของการปฏิบัติการณ์ในเหตุการณ์ครั้งนั้น
The post-mortem inquest findings on the incident at Kruesae of November 28th, 2006 identified that the officers probably responsible for the use of excessive force were General Panlop Pinmanee, Colonel Manas Kongpaen and Major Thanaphat Nakchaiya. The court then transferred the case to the Pattani Office of the Attorney General to take the necessary action towards these officers. However, there has been no progress by the Pattani Office of Attorney General.
This incident brought huge international intention. The United Nations have asked the Thai authorities to take proper action in order to bring justice following this incident.
It is already two years since the post-mortem inquest order and over four years from the incident and the fact of whether the authorities used excessive force on the attackers or not is still clouded. The relatives of the deceased have therefore decided to make a complaint to the Lawyers’ Council of Thailand with the wish that this office will take legal action to find justice for the victims.
This activity of the relatives has strong support from national and local civic organizations, specifically the Young Muslim Association of Thailand and ……….
คำสั่งศาลต่อการไต่สวนการตายกรณีกรือเซะ ได้ระบุถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของผู้ก่อความไม่สงบว่าอยู่ภายใต้การสั่งการของ พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษา ความปลอดภัยภายใน (กอ.รมน.) และ พ.อ.มนัส คงแป้น ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ ปัตตานี พ.ต.ธนภัทร นาคชัยยะ นายทหารยุทธการกรมรบพิเศษที่ 3 (ยศในขณะนั้น) ทั้งนี้ ศาลปัตตานีจะได้ส่งคำสั่งศาลให้อัยการจังหวัดปัตตานี ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมปกติต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากคำสั่งศาลจังหวัดปัตตานีที่ออกมาตั้งแตวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จนกระทั่งปัจจุบันนี้เป็นเวลาครบ ๒ ปี แล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ จากการดำเนินการของอัยการจังหวัดปัตตานี และกระบวนการยุติธรรมไทย
ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ปกครองและญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตจึงได้ตัดสินใจยื่นจดหมายร้องเรียนมาที่สภาทนายความ เพื่อขอความช่วยเหลือให้สภาทนายความดำเนินการเพื่อความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิตและผู้เสียหายต่อไป
เหตุการณ์ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ นี้ ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากสหประชาชาติ ซึ่งได้ตั้งคำถามต่อรัฐบาลไทยถึงความคืบหน้าในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม และการค้นหาผู้รับผิดชอบ และผู้กระทำผิดต่อกรณีดังกล่าว นอกจากนั้นองค์กรระดับภูมิภาค เช่น กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) และอื่น ๆ ก็ได้ร่วมรณรงค์ในประเด็นนี้
ยิ่งไปกว่านั้น การยื่นจดหมายครั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้และมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
ติดต่อ สำนักงานปัตตานี
๒๒/๑๘๖ ถนน หนองจิก ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ๙๔๐๐๐
โทรศัพท์/ โทรสาร ๐๗๓ ๓๓๑ ๒๕๔ มือถือ ๐๘๖ ๓๓๒ ๑๒๔๗ อีเมล์ wgjp_pn@hotmailcom.