ศุกร์เสวนาครั้งที่ 1 – เขื่อน: ปัตตานี สบายดีไหม?ศุกร์เสวนาครั้งที่ 1 – เขื่อน: ปัตตานี สบายดีไหม?

ศุกร์เสวนาครั้งที่ 1 เขื่อน: ปัตตานี สบายดีไหม ?  โดย วิโชติ ไกรเทพ  ณ.สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
วันที่ 23 ตุลาคม 52  รายงานโดย คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
 

ศุกร์เสวนาครั้งที่ 1 เขื่อน: ปัตตานี สบายดีไหม ?  
โดย วิโชติ ไกรเทพ
ณ.สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ วันที่ 23 ตุลาคม 52
รายงานโดย คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
 
วิโชติ
 ผม เริ่มทำงานตั้งแต่ปี ๒๙ หลังจากป่าแตกทำให้สหายหลายๆคนออกมาจากป่าและแยกย้ายกันไปทำงานกับมวลชนใน ระดับรากหญ้า ทำงานในชนบท ส่วนผมเริ่มทำงานในสลัมซึ่งเป็นแหล่งร่วมขี้ ทั้งขี้ยา ขี้ขโมย และหลายๆขี้ ซึ่งคนเหล่านี้เป็นคนที่ล้มเหลวด้านอาชีพเกษตรกรรมในชนบทจึงต้องเสี่ยงชีวิต สู่สังคมเมือง ความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้ต้องอยู่อย่างยากลำบากเป็นชีวิตที่น่าอดสู่ หลังจากที่ผมทำงานกับคนเหล่านี้อยู่หลายปีผมกออกมาทำงานกับมูลนิธิคุ้มครอง สัตว์ป่า
เริ่ม ต้นปี๓๕ ชาวบ้านเกิดปัญหากับเขื่อนที่สายบุรี ซึ่งเรื่องนี้เริ่มต้นจากอาจารย์นุกูล แก่เป็นคนชอบดูนกซึ่งได้ไปสำรวจแถวๆลุ่มน้ำสายบุรีก็ได้พบกับโครงการที่จะ สร้างเขื่อนกันแม่น้ำสายบุรีและได้พบปะกับชาวบ้านซึ่งไม่ต้องการให้มีการ สร้างเขื่อน. อาจารย์นุกูล ก็ได้พาชาวบ้านไปพบชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดตรังที่ต่อต้านการสร้างเขื่อน เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาซึ่งในตอนนั้นก็มีอยู่หลายๆเขื่อนที่ภาครัฐต้องการจะ สร้างขึ้นทำให้เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มชาวบ้านที่ไม่ต้องการให้สร้างเขื่อน ทำให้ผมได้รู้จักกับอาจารย์นุกูลและผมก็เริ่มทำงานในพื้นที่สายบุรีเป็น ครั้งแรก
ใน ปี ๓๕ มีการชุมนุมประท้วงกันที่ศาลากลางจังหวัดยะลาทำให้การดำเนินการเรื่องเขื่อน ยุติลง เพราะสมัยนั้นการชุมนุมประท้วงเป็นเรื่องที่ท้าทายมาเพราะชาวบ้านยังกลัวการ ชุมนุมประท้วงซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียเหมือนกับการชุมนุมประท้วงที่ มัสยิดกลางปัตตานี เราได้มีการเตรียมการเพื่อที่จะประท้วงเกือบเดือนซึ่งเรามีเป้าหมายให้คนมา ร่วมกันชุมนุมให้ถึงพันคนแต่มีผู้เข้าร่วมเพียง ๓๐๐ คน ในขณะนั้นภาครัฐยังไม่มีทักษะในการเจรากับการประท้วงประกอบกับคนมลายูส่วน ใหญ่พูดภาษาไทยไม่ได้และเจ้าหน้าที่รัฐก็พูดภาษามลายูไม่ได้ทำให้บรรยากาศ การชุมนุมประท้วงมีความตึงเครียดมาก ในช่วงการชุมนุมประท้วงมีนักการเมืองบางคนพยายามที่จะพากลุ่มผู้ชุมนุมประ ที่กรือเซะ ซึ่งหากมีการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมในวันนั้นจะทำให้ประเด็นการชุมนุมจะถูก เปลี่ยนไปทันที ผมต้องไปล็อบบีผู้ชุมนุมที่ละคนเพื่อไม่ให้เคลื่อนย้ายโดยใช้วิธีการขู่ว่า หากมีการเคลื่อนย้ายสถานที่การชุมนุมผมจะเก็บกระเป๋ากลับทันที เมื่อมีการลงมติปรากฏว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่จะไม่เคลื่อนย้ายการชุมนุมไปที่ กรือเซะ ตามข้อเสนอของนักการเมืองและใช้วิธีการกดดันเจ้าหน้าที่โดยการนำอุปกรณ์ เครื่องครัวจากปอเนาะมาเตรียมเพื่อแสดงว่าจะเราจะอยู่นานทำให้เจ้าหน้าที่ ยอมทำตามข้องเรียกร้องของเราและได้ส่งเรื่องให้รัฐบาล
ใน สมัยนั้นเกิดสมัชชาเขื่อนภาคใต้ทำให้เกิดบรรยากาศเอื้อเฟือซึ่งกันและกัน การทำงานภาคประชาสังคมมีความสนุกมากชาวบ้านจะต้อนรับเราอย่างดีชาวบ้านมีการ ทำเวรเลี้ยงข้าวเราโดยที่เราไม่ต้องไปลำบากมากเพราะชาวบ้านรู้สึกว่าการทำ งานของเราเพื่อพวกเขาเพราะเราทำไม่มีงบประมาณหรือแหล่งทุน ในการเคลื่อนไหวและไม่มีผลประโยชน์เหมือนในสมัยนี้ ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าการทำงานประชาสังคมสมัยนี้เป็นผู้รับเหมาความจนและหาก ต้องการแก้ปัญหาต้องมีการจ้างพวกเขาเพื่อที่จะแก้ปัญหาของตัวเอง
ปัจจุบัน มีการเสนอให้มีการสร้างเขื่อนอีกครั้งท่ามกลางความรุนแรง ทำให้การคัดค้านไม่มีใครกล้าออกมาคัดค้านเพราะสถานการณ์อย่างนี้จะสร้าง มายาคติความไม่ปลอดภัยในชีวิตหากออกมาคัดค้านนโยบายของรัฐ หากคนในพื้นที่ยังเงียบอย่างนี้มีโอกาสสร้างเขื่อนได้สำเร็จเพราะเจ้า หน้าที่ชลประทานเองก็ใช้โอกาสนี้ขอความร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเดินสายตามมัสยิดและนำคนติดตามใส่ชุดเขียวพร้อมอาวุธเพื่อชี้แจง โครงการเมื่อเจ้าหน้าที่ถามว่ามีใครจะคัดค้านไหม คงไม่มีใครกล้าเพราะกลัวเจ้าหน้าที่ทำให้เสียงคัดค้านของชาวบ้านลงไปอยู่ใน กระเพาะหมดไม่มีเสียงคัดค้านแม้แต่น้อยตามประสาคนมลายูที่มักจะเก็บเสียงคัด ค้านลงกระเพาะ ซึ่งเราต้องเลือกว่าจะลุกขึ้นคัดค้านอย่างมีศักดิ์ศรีหรือนอนรออย่างสิ้น หวังอยู่ที่พวกเราจะเลือกอย่างไหน หากเป็นผมๆจะเลือกการดิ้นรนอย่างมีศักดิ์ศรีแม้ว่าจะมีความยากลำบาก ดีว่านอนรออย่างสิ้นหวังในชะตากรรมของตัวเอง
วาท กรรมการพัฒนาของรัฐกับประชาชนไม่ค่อยตรงกันนัก ภาครัฐให้เหตุผลในการสร้างเขื่อนเพราะว่าสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมและสามารถใช้ จากเขื่อนในการทำการเกษตรได้ แต่ชาวบ้านคิดว่าการสร้างเขื่อนนั้นจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและอาชีพของชาว บ้านบริเวณลุ่มน้ำสายบุรี ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยบริเวณลุ่มน้ำสายบุรีเขาสามารถปรับตัวกับสภาพธรรมชาติ ได้ เราจะเห็นว่าหมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำสายบุรีจะมีการสร้างบ้านแบบยกพื้นสูง และแต่ละบ้านจะมีเรือบ้านละหนึ่งลำ เพราะเขารู้ว่าเมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะมีน้ำท่วมทุกปีซึ่งไม่ได้เป็นปัญหา สำหรับชาวบ้านแต่รัฐมองว่าเป็นปัญหา  แม่น้ำสายบุรีเป็นแม่น้ำสายเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีเขื่อนสร้างกั้นแม่น้ำ และเป็นแม่น้ำที่มีการไหลของน้ำแปลกที่สุดซึ่งน้ำจะไหลจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ โดยปกติแล้วแม่น้ำส่วนใหญ่จะไหลจากทิศเหนือลงใต้ แต่ในขณะนี้นายทุนและผู้มีอิทธิพลกำลังปลาบมันที่จะมีการสร้างเขื่อนขึ้นมา อีกครั้งเพราะหากมีการสร้างช่วงนี้ไม่มีใครกล้าเข้าไปตรวจสอบการทำดำเนิน โครงการทำให้การโกงกินได้สะดวกขึ้น
การ สร้างเขื่อนนั้นจะทำให้อัตราการไหลของน้ำเปลี่ยนไปซึ่งจะส่งผลให้ปลาบางชนิด ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และวงจรชีวิตของสัตว์นำจะถูกทำลายไปซึ่งจะมีผลต่อ จำนวนปลาในแม่น้ำ ในที่สุดวิถีชีวิตของชาวบ้านทีสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนจะถูกเปลี่ยนไป การพัฒนาที่ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนซึ่งไม่สามารถที่จะคำนวณเป็น จำนวนเงินได้ ซึ่งรัฐมองว่าการใช้ชีวิตแบบชาวบ้านเป็นคนที่ยังล้าหลังจำเป็นต้องมีการ พัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านให้ดีขึ้นโดยการเผาผลาญทรัพยากร ธรรมชาติ ซึ่งการมองปัญหาระหว่างรัฐกับชาวที่ต่างกัน เปรียบเสมือนการมองเป็ดตัวหนึ่งที่รัฐมองว่าควรนำเป็ดทำซุปกินอร่อยกว่า แต่ชาวบ้านมองว่าควรเลี้ยงเป็นไว้เพื่อกินไข่เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์จาก เป็ดไปนานๆ
มาร์ค ผม เริ่มจับประเด็นเขื่อนได้ไม่นานนัก แต่ผมได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการสร้างเขื่อน กันแม่น้ำสายบุรี ช่วงแรกๆทีมีการพูดถึงเขื่อนไม่มีใครอยากจะเกี่ยวข้องกับการต่อต้านเขื่อน เพราะกลัวผู้มีอิทธิผลและไม่อยากมีปัญหากับรัฐ แต่พักหลังๆนี้ชาวบ้านเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นเพราะรู้ถึงผลกระทบที่เกิด ขึ้นจากการสร้างเขื่อน ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับเปาะจิ ซึ่งเป็นผู้หลังผู้ใหญ่ที่ต่อสู้เรื่องเขื่อนมาตลอด ท่านก็บอกว่าดีใจที่มีคนรุ่นใหม่ที่ต่อสู้เรื่องเขื่อนเพราะท่านเองคงไม่มี เรี่ยวแรงที่จะเคลื่อนไหวเหมือนในอดีตเมื่อได้เห็นคนรุ่นใหม่ที่จะต่อสู้ เรื่องเขื่อนเปาะจิคงตายตาหลับแล้ว.
วิโชต โครงการนี้เป็นโครงการที่ผลประโยชน์มหาศาลเพราะไม่ระบบตรวจสอบการทำงาน ผู้มีอิทธิพลทั้งหลายก็อยากให้มีการสร้างเขื่อนเพราะจะได้ตักตวงผลประโยชน์ หากใครต่อต้านก็จะถูกข่มขู่ให้เกิดความไม่ปลอดภัย
รอน  โครงการ นี้ผมเคยได้ยินจากอาจารย์ท่านหนึ่งใน มอ. บอกว่าโครงการเขื่อนสายบุรีเป็นโครงการพระราชดำริ ที่มีแต่จะสร้างเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยแท้ หากมีใครออกมาคัดค้านซึ่งจะเป็นการคัดค้านพระราชดำริ ซึ่งการที่อาจารย์พูดยังนี้ทำให้นักศึกษาหลายๆคนไม่กล้าที่จะหยิบยกประเด็น เขื่อนมาเคลื่อนไหว
วิโชติ ถึง แม้ว่าเป็นโครงการพระราชดำริจริงแต่ผมเคยได้ยินชาวบ้านที่สายบุรีเล่าว่า ในหลวงเคยตรัสไว้ว่า “หากโครงการทีจะสร้างขึ้นประชาชนสามารถคัดค้านได้”
ลี่  ขณะในพื้นที่ยังไม่มีการพูดคุยประเด็นเขื่อนในพื้นที่สาธารณะเป็นประเด็นที่ถูกกลบด้วยปัญหาความรุนแรงในพื้นที่
วิโชติ ทุกเรื่องในสมัยนี้เป็นเรื่องของทุกคนทั้งโลกแล้ว ที่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแต่ควรระวังกับดักที่รัฐได้วางเอาไว้(เงิน) เราต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ อย่าให้เวลาล่วงเลยไปอย่างเปล่าประโยชน์ โดยการพูดคุยประเด็นผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนให้กับประชาชนได้รับรู้ แต่อย่ามาคัดค้านหลังจากการสร้างเขื่อนหลังจากการสร้างเขื่อนเสร็จสินแล้ว เพราะมันไม่ได้ช่วยอะไรเลย.
จบ

ที่มา :  fridaycafe’s blog