Statement for the International Day of the Disappearanceแถลงการณ์ เนื่องในโอกาสวันผู้สูญหายสากล

The 30 August is the International Day of the Disappearance. It is the day that people around the world gather to recognize disappeared persons from human rights violation, from war or from the supression of so called ‘terrorism’ that taking place in many countries which causes death of a huge amount of people.

Enforced disappearance is one of the worse crimes against humanity. This violation has happened for a long time and brough great effect to the victim, family, community and society as well as the whole rule of law and judicial system. Whereas the disappearance has been an issue for Thai society for a while, the judicial system seems not to make enough an attempt to end impunity. Besides, the Thai law is not able to give an answer to the case of disappearance (no law to address this special crime). How the Thai law responsible and compensate to the family of the disappeared person? The families of disappearance have to face all obstacles along the line in order to find justice such as not reaching to the information, the evidence is being destrouey and the witness is being threnten. These obstacles cause the mistrust of the families towards the complaint process and the fight along the judicial system to find out justice for this violation.
วันที่ 30- 31 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันที่ทั่วโลกร่วมกันรำลึกถึงผู้ถูกบังคับให้สูญหาย และถือเป็นวันผู้สูญหายสากล (The International Day of the Disappearance) ซึ่งเป็นวันที่คนทั่วโลกมาร่วมกันเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือจากภาวะสงคราม หรือการปราบปรามการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอยู่ในหลายประเทศ และส่งผลให้มีผู้สูญหายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

การบังคับให้บุคคลต้องสูญหายถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติ ซึ่งเกิดขึ้นมายาวนานและส่งผลกระทบ อันใหญ่หลวงต่อเหยื่อ ครอบครัว ชุมชนและสังคม รวมทั้งระบบนิติรัฐของสังคมไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้จะมีการร้องเรียนเรื่องการบังคับสูญหายของผู้คนในสังคมไทย แต่กระบวนการยุติธรรมไทยก็ดูเฉยเมยต่อการแสดงความจริงใจในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ อีกทั้งองค์ความรู้ทางกฎมายไทยก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่า หากไม่ปรากฏศพผู้เสียชีวิต กฎหมายไทยจะรับผิดชอบ และเยียวยาครอบครัวผู้สูญหายของอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อผู้บังคับให้บุคคลต้องสูญหายคือเจ้าหน้าที่รัฐ โดยสิ่งที่ครอบครัวผู้สูญหายต้องประสบมาโดยตลอดคือการปกปิดข้อมูล การทำลายพยานหลักฐาน และการข่มขู่คุกคามพยาน เป็นผลให้ญาติพี่น้องผู้สูญหายเกิดความไม่ไว้วางใจต่อกระบวนการร้องเรียนและการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมเรื่องการบังคับให้บุคคลต้องสูญหาย

In Thailand the only disapperance case that has brought furthest to the judicial system is the case of Mr Somchai Neelapaichit, let alone the disapperance from the October 14, 1973, the October 19, 1976, The Bloody May 1992, the unrest in the southern border provinces, the war on drugs that applied in the North and Northeastern parts and to marginallised people, ect. The First Court of Thailand made judement that the police officer was behind the disappearance of Mr Somchai Neelapaichit. However, this case was delayed and interferred all along the process from the stage of the investigation of the Office of the National Anti-Corruption Commission (NCC) to the stage of the Department of Special Investigation (DSI).

As of the International Day of the Disappearance, the Working Group on Justice for Peace (WGJP) would like to request the Thai government to express a comprehensive action in order to against the enforced disappearance. The government must show its sincerity to find out the disappeared persons and pay attention to the investigation of the anonymous bodies that found all over the country as well as persecuting the prepatrators and ending the culture of impunity. All of these, WGJP recommend the first action of the government is to ratify the International Covention on the Protection of All Persons from Enforced Disapparance in order to protect a person from disappearance, to build trust in the judicial system and to establish actual rule of law. We belive that the disappearance of a person is as serious as the disappearance of the justice system.
…………………..
Contact: Angkhana Neelapaichit 084 728 0350,
Puttanee Kangkun 086 332 1249

ในประเทศไทยนับแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ พฤษภาทมิฬ หรือเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ หรือกรณีผู้สูญหายของบุคคลในช่วงสงครามยาเสพติด หรือในกรณีอื่นๆที่เกิดขึ้นและไม่เป็นที่รับการรับรู้จากสังคมไทย เช่น การสูญหายของบุคคลในจังหวัดกาฬสินธุ์ หรือบรรดาชนเผ่าที่อยู่ตามชายขอบของประเทศไทย คงมีเพียงกรณีการสูญหายของนายสมชาย นีละไพจิตร เพียงกรณีเดียวที่สามารถนำขึ้นสู่การ พิจรณาคดีของศาล และศาลได้ชี้ให้เห็นว่าผู้ทำให้นายสมชาย นีละไพจิตร ต้องสูญหาย ก็คือเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ดึคดีการสูญหายของนายสมชาย นีละไพจิตร ก็ถูกทำให้ล่าช้าและถูกแทรกแซงมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนการสอบสวนของคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช) หรือแม้แต่ในกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ในโอกาสวันผู้สูญหายสากล (The International Day of the Disappearance) คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงท่าทีชัดเจนในการต่อต้านการบังคับให้บุคคลสูญหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ โดยต้องแสดงความจริงใจในการพยายามค้นหาผู้สูญหาย และให้ความสำคัญในการตรวจพิสูจน์ศพนินามที่พบในทั่วทุกภาคของประเทศพร้อมทั้งนำตัวผู้กระทำผิดที่ทำให้เกิดการสูญหายของบุคคลมาลงโทษตามกฎหมาย เพื่อยุติวัฒนธรรมการงดเว้นโทษ (Culture of Impunity) ในประเทศไทย และขอให้รัฐบาลไทยลงนามในอนุสัญญาฉบับใหม่ขององค์การสหประชาชาติเรื่องการป้องกันบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย (The International Convention on the Protection of All Persons from Forced Disappearance ) เพื่อให้ความคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และเพื่อเป็นการวางรากฐานของระบบนิติรัฐให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างแท้จริง เพราะ การสูญหายของบุคคล คือการสูญหายของความยุติธรรม

…………………..

หมายเหตุ : ความหมายของ การบังคับให้บุคคลสูญหายตามอนุสัญญาการป้องกันบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย ขององค์การสหประชาชาติ (The International Convention on the Protection of All Persons from Forced Disappearance- UN ) หมายถึงการทำให้บุคคลสูญเสียเสรีภาพไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดหรือด้วยเหตุผลใดซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มคนที่กระทำโดยการได้รับคำสั่งได้รับการสนับสนุนหรือการยินยอมจากรัฐ และรวมทั้งการไม่เปิดเผยข้อมูลหรือการปฏิเสธในการรับรู้ถึงการสูญเสียเสรีภาพหรือการสูญหายของบุคคล หรือการปิดบังข้อมูลความจริงหรือสถานที่ของบุคคลผู้สูญหายภายใต้คำจำกัดความนี้บุคคลทั้งหมดนี้ได้กระทำการหรือสั่งให้มีการปิดบังหรือไม่เปิดเผยถิ่นพำนักของบุคคลที่หายตัวไป ก็จัดว่าเป็นการกระทำภายใต้การทำให้บุคคลสูญหายตามอนุสัญญาฯฉบับนี้ด้วย

ติดต่อ อังคณา นีละไพจิตร 084 728 0350
พุทธนี กางกั้น 086 332 1249