4 Years of Somchai Neelapaichit Disappearance
Category: News
While this statement is read, I am at the United Nations’ Human Rights Council session in Geneva, Switzerland, to present a report of the human rights situation in Thailand and also to report on the latest developments and obstacles in the investigation of the disappearance of Mr Somchai Neelapaichit which was taken up by the United Nations Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances (UNWGED) four years ago.
๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ กรุงเจนีวา – วาระครบรอบ ๔ ปี ของการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร ได้ถูกหยิบยกขึ้นในเวทีสภาสิทธิมนุษยชนที่เจนีวา โดยการที่นางอังคณา นีละไพจิตร ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยและกรมสอบสวนคดีพิเศษแสดงความจริงใจในการคลี่คลายคดีดังกล่าว โดยขอให้เรียกเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลมาให้ความกระจ่างถึงการรับรู้ หรือความเกี่ยวข้องของตนเองกับการหายตัวไปของทนายสมชาย อีกทั้งยังเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนหาพยานหลักฐานที่แน่นหนาก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาล นางอังคณา ได้รับกำลังใจในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเป็นอย่างมากจากเวทีนานาชาติ ในการนำเสนอข้อเรียกร้องของเธอในครั้งนี้
The first trial implicating 5 police officers in the disappearance of Somchai Neelapaichit and charged with coercion and robbery ended two years ago and the First Court’s verdict stated that there was a police officer together with another 3-5 persons who forced Somchai into a car before he was being disappeared on 12 March 2004. This court case is now in the consideration of the Court of Appeal. The Department of Special Investigation has been in charge of investigating the case and pressing further charges. In addition, the DSI has requested the Office of the National Counter Corruption Commission to investigate the police officers which were allegedly torturing Somchai’s clients in January 2004. It is believed that Somchai was abducted because of his compliant of torture allegations.
The present government of Samak Sundaravej sacked Mr Sunai Manomai-udom and appointed Pol Col Tawee Sodsong as Acting Director of the Department of Special Investigation and Pol Gen Sombat Amornwiwat as an advisor of the Ministry of Justice. Pol Col Tawee Sodsong stated in an interview to the media that he will give priority to the Somchai Neelapaichit case.
In commemoration of Somchai’s disappearance four years ago, I would like to make the following appeal to the Thai government and the DSI:
- To request the Thai government and the DSI to be sincere in bringing justice to this case and prosecuting the wrong doers including high ranking police officers as it is my believe that enforced disappearance is a heinous crime against humanity.
- To request the DSI to be courageous and to call Pol Lt Col Thaksin Shinawatra, former Prime Minister of Thailand to give testimony as a witness in this case. Information has been received that a close colleague of Pol Lt Col Thaksin Shinawatra went to search for information and a picture of Mr Somchai Neelapaichit at the Government Identification Information Center. In addition, Pol Lt Col Thaksin, himself, stated in an interview to all media on January 13, 2006, the day after the verdict of the First Court, that “he knows that Somchai has passed away because evidence suggests so…” As Thaksin was Prime Minister at that time, this interview must be credible and he must have had enough evidence before saying this.
- Contained in the verdict of the First Court testimony of a plaintiff witness reveals that “…Pol Maj Gen Krisada Phankongchuen received information from Pol Lt Col Wannaphong Kotcharath that Pol Lt Col Charnchai Likhitkhanthasorn had met with known group of people in front of the Crime Suppression Unit and who informed him that they are going to abduct a corrupted lawyer. Later, Pol Lt Col Charnchai informed Pol Col Tawee Sodsong about this information…” Therefore, Pol Col Tawee Sodsong, who is now the Acting Director of the DSI has the responsibility to clarify whether he knew of Somchai Neelapaichit’s disappearance.
- To request the DSI to be very careful in this case and to try to compile strong evidence so that the wrong doers would be prosecuted. The DSI should not hurry to pursue the case in court without relevant and strong evidence. A lack of strong evidence means that real culprits will not be prosecuted or innocent people are being punished for crimes they did not commit.
- To request the Thai government to ratify International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance in order to guarantee the safety and protection everyone from enforced disappearance.
I strongly believe that the success of Somchai Neelapaichit case is determined by the sincerity of the government and the effectiveness of the DSI. Of particular concern is the fact that Pol Gen Sombat Amornwiwat, who was the former supervisor of the five accused persons standing trial in the case before, is now an advisor of the Ministry of Justice.
At the same time, I would like to give my support to every officer who works under rule of law and tries to bring to justice those people who have either committed crimes or give shelter to human rights violators. Lastly, I would like to thank my Thai sisters and brothers who continue to give warm support while facing these obstacles to justice. I and my family are constantly receiving friendship from various people in the society. This gives me strength to keep fighting for justice.
With solidarity,
Angkhana Neelapaichit, March 12, 2008
เมื่อวานนี้ นางอังคณา นีละไพจิตร ได้กล่าวในที่ประชุมสภาสิทธิมนุษยชนฯ ระหว่างที่มีการเปิดอภิปรายสาธารณะในประเด็นการบังคับให้บุคคลสูญหาย ที่รับผิดชอบโดย คณะฑูตฝรั่งเศสประจำกรุงเจนีวา และสหพันธ์ต่อต้านคนหายสากล (International Coalition Against Disappearances) โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังหลายท่านที่เป็นผู้แทนของคณะฑูตประเทศต่างๆ ประจำกรุงเจนีวา นางอังคณาได้เรียกร้องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีความกล้าหาญในการที่จะนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นพยานให้ปากคำในกรณีที่ได้เคยให้สัมภาษณ์เรื่องการหายตัวไปของทนายสมชาย นางอังคณากล่าวว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนทุกแขนงเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๙ หนึ่งวันหลังจากมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยกล่าวว่า เขารู้ว่าทนายสมชายเสียชีวิตแล้ว เพราะพบร่องรอยหลักฐาน ซึ่งการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ให้ข่าวในฐานะนายกรัฐมนตรีจึงมีความน่าเชื่อถือ และจะต้องมีพยานหลักฐานเพียงพอที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะกล่าวเช่นนั้น
นอกจากนั้น นางอังคณายังได้เรียกร้องให้รักษาการณ์อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษคนใหม่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง สร้างความกระจ่างต่อประเด็นเดียวกันด้วยว่า เขามีส่วนรับรู้ในการหายตัวไปของทนายสมชายหรือไม่ เพราะคำให้การของพยานโจทก์ปากหนึ่งกล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งที่ได้ยินคำสนทนาของตำรวจกลุ่มหนึ่งที่ว่าจะไปลักพาตัวทนายสมชาย และนายตำรวจผู้นี้ได้รายงานสี่งได้รับฟังให้กับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รับทราบ ข้อเท็จจริงดังกล่าว ที่ว่าขณะนี้ผู้ที่ดูเหมือนจะมีส่วนรับรู้ในการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร ได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้สร้างความกังวลใจให้แก่ชุมชนระหว่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง
รองข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนและผู้แทนพิเศษแห่งเลขาธิการทั่วไปต่อเรื่องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ได้หารือกับนางอังคณา เป็นการส่วนตัว และได้แสดงความห่วงใยต่อความปลอดภัยของนางอังคณา รวมทั้งเป็นกำลังใจให้กับนางอังคณาและครอบครัว และกล่าวชื่นชมต่อความกล้าหาญของเธอที่ไม่เกรงกลัวในการที่จะค้นหาความจริงต่อการหายตัวไปของสามี
ท่านฑูตไทยประจำกรุงเจนีวาได้แถลงต่อข้อเรียกร้องของนางอังคณาว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับคดีนี้เป็นอย่างมาก และยังได้กล่าวชื่นชมการเข้าร่วมเวทีสภาสิทธิมนุษยชนฯ ในครั้งนี้ และให้คำมั่นสัญญาว่าจะมีการจัดการทางกฎหมายมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันว่า ผู้กระทำความผิดจะต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม
ท้ายที่สุด ท่านฑูตยังกล่าวด้วยว่า รัฐบาลไทยไม่ต้องการให้ปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหายดำรงอยู่ต่อไป และจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้รัฐบาลไทยรับรองกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการบังคับบุคคลให้สูญหาย
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (The International Commission of Jurists – ICJ) มีความกังวลเป็นอย่างมากต่อความไม่คืบหน้าของคดีทนายสมชาย และความปลอดภัยของนางอังคณา และได้นำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่สภาสิทธิมนุษยชน ฯ ICJ ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า “เรายินดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษยังคงทำคดีนี้ต่อไป แต่เรายังต้องการเห็นความสำเร็จในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมในคดีนี้ และคดีการบังคับให้หายตัวไปอื่นๆ ในประเทศไทย”
และในวาระครบรอบการหายตัวไปครบ ๔ ปี ของทนายสมชาย นีละไพจิตร ในวันนี้ (๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑) นางอังคณาจะได้พบกับสมาชิกของคณะทำงานด้านการบังคับบุคคลให้สูญหายแห่งสหประชาชาติ เพื่อนำเสนอสถานการณ์ความคืบหน้า ปัญหาอุปสรรคของกรณีการหายตัวไปของสามี และกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และในวาระครบรอบสี่ปีแห่งการหายตัวไปของสามีเธอในวันนี้ นางอังคณาได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ละความพยายามในการค้นหาความยุติธรรมให้กับสามีและเหยื่อของการบังคับบุคคลให้สูญหายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเธอยังแสดงความขอบคุณสำหรับการสนับสนุนให้กำลังใจอย่างอบอุ่นจากชุมชนนานาชาติ ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เธอคงความเข้มแข็งในการต่อสู่เพื่อความยุติธรามต่อไป