Delayed justice is injustice: One month after the massacre at Al Furakon Mosque แถลงการณ์: ความล่าช้าคือความอยุติธรรม ๑ เดือนหลังการสังหารหมู่ราษฎรในมัสยิดอัลฟุร-กอน
Category: News
The shooting spree at Al Furakon Mosque, I-pa-yae village, Jor Airong District, Narathiwat the night of 8 June caused instantly ten deaths and a dozen of injuries. It took place while the villagers were praying at the mosque. One month past, on one hand, thanks to aid from the government, the suffering villagers and survivors of the casualties have received due help. But on the other hand, little progress has been made concerning the acquisition of evidence and identification of perpetrators. It fails to materialize the principle that everyone is equal under the laws. Until now, none of the suspects has been called to testify, though the area is subjected to emergency rule.
The mass shooting in a sacred and religious place has caused much trauma among local people. The shooting at Al Furakon Mosque was nonetheless not the first mayhem taking place inside the mosque. It happened first at the Kruese Mosque on 28 April 2004 causing 32 people to die. Then at Thungpoh Mosque, Nongchik district, Pattani, two more people were shot dead. Yet, the government has failed to bring to justice all those responsible for the crime.
ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ราษฎรมุสลิมที่กำลังปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิดอัลฟุร-กอนที่บ้านไอปาแย อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อคืนวันที่ ๘ มิถุนายน ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที ๑๐ ศพ และบาดเจ็บอีก ๑๒ ราย นั้น จนถึงวันนี้ครบ ๑ เดือนของการสูญเสียดังกล่าว ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ได้ให้การช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แม้เหตุการณ์จะผ่านมาครบ ๑ เดือนแต่พบว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในการเร่งหาพยานหลักฐานในการหาตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่สามารถพิสูจน์ให้ประชาชนทุกคนเห็นได้ว่าประชาชนทุกคนจะมีความเสมอภาคกันตามกฎหมายอย่างแท้จริง เพราะจนวันนี้หน่วยงานความมั่นคงยังไม่สามารถเรียกตัวผู้ต้องสงสัยรายใดมาให้ข้อมูลได้แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีการใช้กฎหมายพิเศษ
การสังหารประชาชนในศาสนสถานก่อให้เกิดความสะเทือนใจในหมู่ประชาชนอย่างสูง การสังหารหมู่ในมัสยิดอัลฟุร-กอนมิใช่ครั้งแรกของการเสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในมัสยิด โดยครั้งแรกเกิดขึ้นที่มัสยิดกรือเซะ เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ ซึ่งครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต ๓๒ ศพ หรือต่อมาที่มัสยิดบ้านทุ่งโพธิ์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อปี ๒๕๕๑ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต ๒ ศพ แต่ทุกครั้งที่ผ่านมารัฐล้มเหลวในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม
Human rights organizations inside and outside the country have called on the Thai government to accelerate its efforts on the investigation and to set up an independent inquiry committee to look into the matter. The calls have been made in vain. The government claims that setting up such an inquiry committee shall slow down the process. But until now, there has been no sign that local authorities and the government are able to untangle the crime. It has led to questions among people whether the security authorities have the willing to ensure that all people have indiscriminate and equal access to justice system or not. The perpetrators in this case have to be brought to justice promptly regardless of who they are.
One month after the massacre at Al Furakon Mosque, the Working Group on Justice for Peace demands the government led by Mr. Abisit Vejjajiva that;
The government should second the proposal made by people’s sector and set up a working committee or an independent inquiry committee with proper involvement of people’s sector to join with the authorities to carry out investigation in the case and to expose the findings to public.
In response to enormous trauma, feeling of injustice and disappointment with impunity of the perpetrators in this case and others, the government must pledge to expedite the efforts to bring to justice promptly and indiscriminately the persons responsible for all criminal activities.
The government, particularly security agencies, should review the policy to arm villagers taking into consideration how short the time the officials have to train villagers on arms use. Most importantly, efforts should be made to help security officials and those having arms in possession to hinge primarily on the use of “nonviolence” as a solution and take arms use as their last resort.
“ To address unrest in the Deep South, the state has to rely on truth, justice and public participation as the primary impetus to drive its implementation. It should demonstrate to people that justice belongs to them since justice is the only underlying force that helps to nurture trust between state and people. And without such mutual trust and if people feel the state is not reliable, it will be difficult for the state to seek cooperation from people in its attempts to solve the problems and restore peace in public in a long run.” Angkhana Neelapaijit Said
…………………………..
Contact:
Angkhna Neelapaijit 084-7280350
Puttanee Kangkun 086-3321249
ที่ผ่านมาองค์อรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งในและต่างประเทศ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งรัดการดำเนินการสืบสวนสอบสวน และตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยรัฐบาลเชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการอิสระดังกล่าวจะทำให้เกิดความล่าช้า แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีสัณญาณใดๆจากรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ ในการเร่งรัดติดตามการดำเนินคดีดังกล่าว จึงเกิดคำถามในหมู่ประชาชนว่า รัฐบาลโดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคง มีความเต็มใจ(Willing) เพียงใดในการสร้างความเสมอภาคด้านความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ เพราะไม่ว่าใครเป็นผู้กระทำผิดก็ตามต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน และต้องถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน
คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในโอกาสครบ ๑ เดือนการสังหารหมู่ประชาชนในมัสยิดอัล-ฟุรกอน ดังนี้
รัฐบาลควรยอมรับข้อเสนอของประชาชนในการตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมการที่เป็นอิสระ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าว และเปิดเผยให้ประชาชนทราบรัฐต้องตอบสนองประชาชนด้วยการเยียวทางความรู้สึก ซึ่งคนในพื้นที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม และเกิดการลอยนวลของผู้ที่สมควรจะต้องรับผิด ในหลายๆเหตุการณ์ที่ผ่านมา โดยการเร่งรัดนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมทันทีโดยไม่เลือกปฏิบัติ
รัฐบาล โดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคงควรทบทวนการแจกจ่ายอาวุธให้ประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งมีระยะเวลาการฝึกฝนการใช้อาวุธในเวลาอันจำกัด และควรทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ครอบครองอาวุธทุกคนถึงความสำคัญของการใช้ “สันติวิธี” ในการแก้ไขปัญหา
“ การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น รัฐต้องใช้ความจริง ความยุติธรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นตัวนำในการแก้ไขปัญหา ต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่า ความยุติธรรมนั้นเป็นของประชาชน เพราะ ปัจจุบันความยุติธรรมเป็นสิ่งเดียวที่ยังเกาะเกี่ยวความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐ กับประชาชน หากขาดซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจ และประชาชนมีความรู้สึกว่า “ รัฐพึ่งไม่ได้” คงเป็นการยากที่ประชาชนจะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา และสามารถนำความสงบสุขสันติคืนมาสู่ประชาชนอย่างยั่งยืน” นางอังคณา นีละไพจิตร กล่าว
…………………………..
ติดต่อ อังคณา นีละไพจิตร ๐๘๔ ๗๒๘ ๐๓๕๐
พุทธนี กางกั้น ๐๘๖ ๓๓๒ ๑๒๔๙