Stop Torture and Protect Victims on the Occasion of International Day in Support of Victims of Torture ยุติการทรมาน และคุ้มครองผู้เสียหาย ในโอกาสวันทรมานสากล
Category: News
Mr.Makta Harong and others were arrested and allegedly tortured after a raid on an army camp on the 4th January 2004. The prosecutor subsequently decided not to pursue the case. Mr. Eakkawat Seemanta was severely tortured by a police officer at a police station in Phra Nakhonsriayuttaya Province on the 2-3 November 2004. Mr. Kietisak Thitboonkrong was made disappeared from a police station in Kalasin province in July 2004 and couple days later found death with bruises all over the body. These are only a few examples of numerous torture cases that have taken place throughout Thailand, particularly in minority areas.
One reason these abuses continue to occur is the fact that Thai society has little awareness of their rights which are protected by the constitution and numerous international human rights covenants to which Thailand is a signatory.
นายมักตา ฮารง และพวก ถูกจับกุมและถูกซ้อมทรมานภายหลังเหตุการณ์ปล้นปืน เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ ซึ่งต่อมาอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ในขณะที่นายเอกวัฒน์ สีมันตะ ซึ่งถูกซ้อมทรมานอย่างหนักโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่โรงพักแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒ – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ นายเกียรติศักดิ์ ถิตบุญครอง วัยรุ่นที่หายไปจากสถานีตำรวจในจังหวัดกาฬสินธุ์ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๗ และสามวันต่อมาพบศพพร้อมรอยช้ำตามร่างกาย ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงประชาชนทั่วไปในภูมิภาคอื่นๆของประเทศไทย รวมถึงคนชายขอบ
หากก่อนหน้านี้ สังคมไทยได้ตระหนักถึงสิทธิ ในชีวิต และร่างกายของบุคคล ที่จะต้องได้รับความคุ้มครองทั้งจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนฉบับต่างๆที่ประเทศไทยเป็นภาคี ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ในสถานะใด ก็ตาม “การทรมาน” นายเอกวัฒน์ และบุคคลอื่นๆคงไม่เกิดขึ้น
Today, Thais have learned that torture is a crime at the international level. The United Nations (UN) has recognized this and created several international mechanisms, including the Convention against Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT) and the Special Rapporteur on Torture. Through the campaigning efforts of non-governmental organizations (NGO) and civil society, Thais are now more aware that torture is a severe human right violation. The Thai government ratified the convention against torture or CAT on November 2007 but still requires more efforts to implement its obligations.
Recent developments have led to several cases of torture are being investigated and brought to the justice system: 1) Mr.Makta Harong’s case is currently in the process of investigation by the National Anti-Corruption Commission, 2) the Department of Special Investigation (DSI) is filing a case against non-commissioned and commissioned officers at Uthai Police Station in Phra Nakhonsriayuttaya Province regarding Mr. Eakkawat’s case, 3) a post-mortem trial on the death by torture of Imam Yapa Kaseng at Ruesoh District in Narathiwat Province concluded with the court’s ruling that the prosecutor should determine the perpetrator, 4) The DSI has filed an arrest warrant to couple of police officers from Kalasin police station regarding the case of Mr. Kietisak’s and giving witness protection to Mr Kietisaks’ relatives, and 5) other cases in the southern border provinces where abusive officers were found guilty and received both disciplinary punishment and charges under the criminal code.
Many countries have been campaigning to stop torture, to end the culture of impunity, to protect witnesses, to appropriate reparations to the victims and to make torture a crime by law.
On occasion of the UN declared International Day in Support of Victim of Torture, commemorated every year on June 26, the Working Group on Justice for Peace (WGJP) has the following demands to the Thai government:
1. Make torture a crime under domestic law and bring perpetrators to the justice system.
2. Establish an effective agency to protect victims for testimony according to the justice process.
3. Create mechanisms and agencies, with independent budgets, to investigate allegations, pursue cases according to the law and provide reparations for the victims.
4. Ratify the Optional Protocol on Torture, including permission of regular visit to the places of detention and individual complaints.
WGJP urges the Thai Government and Thai society to place greater importance on the elimination of torture and to push forward in creating the mechanisms needed to permanently stop torture in Thailand and return “human dignity” to everyone with the basis of equality under the law.
…………………………..
Contact: Ms.Angkhana Neelapaijit 084-728-0350
Ms.Puttanee Kangkan 086-332-1249
ปัจจุบัน สังคมไทยได้รับรู้ว่าการทรมานเป็นอาชญากรรมในระดับนานาชาติ โดยสหประชาชาติได้เห็นความสำคัญ และได้สร้างกลไกระดับนานาชาติ ในการให้ความคุ้มครองบุคคลจากการ “ทรมาน” ตั้งแต่อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน ไปจนถึงการมีผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการทรมาน และด้วยความพยายามขององค์กรพัฒนาเอกชน ร่วมกับภาคประชาชนในการรณรงค์อย่างหนักต่อต้านการซ้อมทรมาน ทำให้ปัจจุบันการทรมานเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนรูปแบบหนึ่งที่สังคมไทยยอมรับ และรู้จักกันอย่างกว้างขวาง กระทั่งรัฐบาลไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐
ในปีนี้ พบว่า อาชญากรรมที่เกี่ยวกับการทรมานหลายกรณีได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็น กรณีนายมักตา ฮารง และพวก ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช) นายเอกวัฒน์ สีมันตะ ที่ขณะนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้สั่งฟ้องนายตำรวจชั้นประทวนและสัญญาบัตร สภ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา คดีอิหม่ามยะผา กาเซ็ง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ที่มีการไต่สวนการตาย และมีคำสั่งให้อัยการพิจารณาดำเนินคดีต่อผู้รับผิดชอบต่อไป คดีนายเกียรติศักดิ์ ถิตบุญครอง ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ให้การคุ้มครองพยาน และได้ออกหมายจับตำรวจชั้นประทวนและชั้นผู้น้อยหลายคนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หรือคดีอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่เริ่มต้องรับผิดชอบทางวินัยและอาญาต่อการละเมิดสิทธิของบุคคล ดังกล่าว
หลายๆ ประเทศรณรงค์ให้ยุติการซ้อมทรมาน ยุติวัฒนธรรมผู้กระทำผิดลอยนวล (Culture of Impunity) ให้มีการคุ้มครองพยาน พร้อมทั้งยังเรียกร้องให้มีการเยียวยาผู้เสียหายอย่างเหมาะสม และให้มีการแก้กฎหมายให้การทรมานเป็นอาชญากรรม
ในโอกาสวันที่ ๒๖ มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้จัดให้เป็นวันสากลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการช่วยเหลือเหยื่อผู้ถูกทรมาน คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยดังนี้
๑) ให้มีการแก้กฎหมายให้การทรมานเป็นอาชญากรรม
๒) ให้มีหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ ให้ความคุ้มครองผู้เสียหายในการให้การเป็นพยานตามกระบวนการยุติธรรม
๓) จัดตั้งและสนับสนุนงบประมาณและความช่วยเหลืออื่นๆ ต่อองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ดำเนินการทางกฎหมาย และเยียวยา ผู้เสียหายจากการถูกทรมาน
๔) ให้พิจารณาเข้าเป็นภาคีต่อพิธีสารเลือกรับในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน ซึ่งหมายถึงการอนุญาตให้มีกลไกตรวจสอบสถานที่ควบคุม กุมขังผู้ถูกเชิญตัว ผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา หรือผู้ต้องโทษ
คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลและสังคมไทยจะให้ความสำคัญต่อเรื่องการทรมานและร่วมกันผลักดันให้เกิดกลไกที่ยุติการทรมานอย่างถาวรในประเทศไทย เพื่อคืน “ศักดิ์ศรี” ความเป็นมนุษย์ให้แก่บุคคลทุกคนบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย
…………………………..
ติดต่อ อังคณา นีละไพจิตร ๐๘๔ ๗๒๘ ๐๓๕๐
พุทธณี กางกั้น ๐๘๖ ๓๓๒ ๑๒๔๙