JPF statement 8 years Somchai Neelapaijitแถลงการณ์ 8 ปีการบังคับสูญหายนายสมชายนีละไพจิตร : ความไร้ประสิทธิภาพของกรมสอบสวนคดีพิเศษและกระบวนการยุติธรรมไทย

กรุงเทพฯ : วันที่ 12 มีนาคม 2555 เป็นวันครบรอบ 8 ปีการบังคับสูญหายนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความนักสิทธิมนุษยชนที่ให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ที่ผ่านมารัฐบาลทุกรัฐบาลจะแสดงความตั้งใจในการให้ความสำคัญในการคลี่คลายคดีการบังคับสูญหายนายสมชาย นีละไพจิตร แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่าคดีจะมีความก้าวหน้า ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้านายจากความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว และความผิดต่อเสรีภาพ อีกทั้งยังตัดสิทธิของครอบครัวในการเข้าเป็นโจทก์ร่วม ซึ่งการพิพากษาคดีในครั้งนั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งมิใช่เพียงแต่ต่อคดีนายสมชาย นีละไพจิตร หากแต่ยังส่งผลต่อประเด็นเรื่องความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรมของประเทศไทยด้วย เพราะคดีนี้ถือเป็นคดีสาธารณะ ที่ผู้รักความเป็นธรรม รวมถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศให้ความสนใจและติดตามอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคดีนี้ เป็นคดีการลักพาตัวและบังคับสูญหายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งนอกจากจำเลยที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นายที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดี ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้องในข้อหาดังกล่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่อีกหลายนาย ที่รัฐยังไม่สามารถนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้

คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 จึงแสดงให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมไทยในการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ ทั้งความไร้ประสิทธิภาพในการคุ้มครองพยาน การไม่มีกฎหมายที่เพียงพอและจำเป็น อีกทั้งยังแสดงถึงความจงใจในการปกป้องเจ้าหน้าที่โดยการที่พยานหลักฐานสำคัญถูกทำลายและไม่ปรากฏในเอกสารที่ส่งศาล และแม้กรมสอบสวนคดีพิเศษจะรับคดีนายสมชาย นีละไพจิตรเป็นคดีพิเศษ แต่จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 7 ปี กลับพบว่าไม่มีความก้าวหน้าทางคดี การทำงานที่ล่าช้า และความไม่เต็มใจในการทำคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษทำให้พยานหลายคนถูกคุกคาม และไม่มีความมั่นใจในการให้การเป็นพยาน

แม้รัฐบาลปัจจุบันจะแสดงเจตจำนงในการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยการร่วมลงนามในอนุสัญญาการระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลทุกคนถูกบังคับให้สูญหาย ขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 หากแต่การที่ยังมีการปรับแก้กฎหมายภายในให้การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรม ทำให้ความหวังของครอบครัวในการเข้าถึงความจริง ความยุติธรรม และการได้รับการชดเชยจากรัฐไม่อาจเกิดขึ้นได้

ในปี 2555 มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ได้ทำงานวิจัยเรื่องสถานการณ์การบังคับบุคคลสูญหายในประเทศไทย มูลนิธิฯได้ทำบันทึก 40 เหตุการณ์ซึ่งมีผู้สูญหายถึง 59 คน ในช่วงปี 2544 ถึงปี 2554 (ทั่วประเทศ) โดยมีข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้

  • ส่วนใหญ่ของเหยื่อเป็นชาย (มีเพียง 4 รายเท่านั้นที่เป็นหญิง)
  • ในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้สูญหาย 12 รายจากภาคเหนือ, 5 รายจากภาคตะวันตก , 7 รายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 33 รายจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2 รายจากกรุงเทพมหานคร
  • ในจำนวนนั้น มีอย่างน้อย 18 กรณีที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการต่อต้านการก่อความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย , 8 กรณีเป็นผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด , อย่างน้อย 7 กรณีที่เหยื่อมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ/ ตำรวจ / ทหาร หรือมีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐ / ตำรวจ / ทหาร,  5 กรณีเหยื่อเป็นนักสิทธิมนุษยชน นักการเมือง นักกิจกรรมต่อต้านการคอรัปชั่น ,  2 กรณีเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นพยานในคดี และ หนึ่งกรณีเหยื่อมีสถานะเป็นผู้อพยพ
  • ใน 24 กรณีของการบังคับให้สูญหาย ผู้สูญหาย หายขณะอยู่บนถนน ,  11 กรณี ผู้สูญหาย หายภายหลังถูกจับกุมจากบ้านพัก หรือสถานที่ที่เหยื่อไปอยู่เป็นประจำ และ 5 กรณี ที่ผู้สูญหาย หายไปหลังจากถูกเชิญให้เข้าไปพบเจ้าหน้าที่
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มีโครงการที่จะเผยแพร่งานวิจัยเรื่องผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2555 นี้
…………………………
ติดต่อ : อังคณา นีละไพจิตร 084 -728- 0350

กรุงเทพฯ : วันที่ 12 มีนาคม 2555 เป็นวันครบรอบ 8 ปีการบังคับสูญหายนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความนักสิทธิมนุษยชนที่ให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ที่ผ่านมารัฐบาลทุกรัฐบาลจะแสดงความตั้งใจในการให้ความสำคัญในการคลี่คลายคดีการบังคับสูญหายนายสมชาย นีละไพจิตร แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่าคดีจะมีความก้าวหน้า ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้านายจากความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว และความผิดต่อเสรีภาพ อีกทั้งยังตัดสิทธิของครอบครัวในการเข้าเป็นโจทก์ร่วม ซึ่งการพิพากษาคดีในครั้งนั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งมิใช่เพียงแต่ต่อคดีนายสมชาย นีละไพจิตร หากแต่ยังส่งผลต่อประเด็นเรื่องความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรมของประเทศไทยด้วย เพราะคดีนี้ถือเป็นคดีสาธารณะ ที่ผู้รักความเป็นธรรม รวมถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศให้ความสนใจและติดตามอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคดีนี้ เป็นคดีการลักพาตัวและบังคับสูญหายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งนอกจากจำเลยที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นายที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดี ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้องในข้อหาดังกล่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่อีกหลายนาย ที่รัฐยังไม่สามารถนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้

คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 จึงแสดงให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมไทยในการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ ทั้งความไร้ประสิทธิภาพในการคุ้มครองพยาน การไม่มีกฎหมายที่เพียงพอและจำเป็น อีกทั้งยังแสดงถึงความจงใจในการปกป้องเจ้าหน้าที่โดยการที่พยานหลักฐานสำคัญถูกทำลายและไม่ปรากฏในเอกสารที่ส่งศาล และแม้กรมสอบสวนคดีพิเศษจะรับคดีนายสมชาย นีละไพจิตรเป็นคดีพิเศษ แต่จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 7 ปี กลับพบว่าไม่มีความก้าวหน้าทางคดี การทำงานที่ล่าช้า และความไม่เต็มใจในการทำคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษทำให้พยานหลายคนถูกคุกคาม และไม่มีความมั่นใจในการให้การเป็นพยาน

แม้รัฐบาลปัจจุบันจะแสดงเจตจำนงในการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยการร่วมลงนามในอนุสัญญาการระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลทุกคนถูกบังคับให้สูญหาย ขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 หากแต่การที่ยังมีการปรับแก้กฎหมายภายในให้การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรม ทำให้ความหวังของครอบครัวในการเข้าถึงความจริง ความยุติธรรม และการได้รับการชดเชยจากรัฐไม่อาจเกิดขึ้นได้

ในปี 2555 มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ได้ทำงานวิจัยเรื่องสถานการณ์การบังคับบุคคลสูญหายในประเทศไทย มูลนิธิฯได้ทำบันทึก 40 เหตุการณ์ซึ่งมีผู้สูญหายถึง 59 คน ในช่วงปี 2544 ถึงปี 2554 (ทั่วประเทศ) โดยมีข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้

  • ส่วนใหญ่ของเหยื่อเป็นชาย (มีเพียง 4 รายเท่านั้นที่เป็นหญิง)
  • ในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้สูญหาย 12 รายจากภาคเหนือ, 5 รายจากภาคตะวันตก , 7 รายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 33 รายจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2 รายจากกรุงเทพมหานคร
  • ในจำนวนนั้น มีอย่างน้อย 18 กรณีที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการต่อต้านการก่อความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย , 8 กรณีเป็นผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด , อย่างน้อย 7 กรณีที่เหยื่อมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ/ ตำรวจ / ทหาร หรือมีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐ / ตำรวจ / ทหาร,  5 กรณีเหยื่อเป็นนักสิทธิมนุษยชน นักการเมือง นักกิจกรรมต่อต้านการคอรัปชั่น ,  2 กรณีเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นพยานในคดี และ หนึ่งกรณีเหยื่อมีสถานะเป็นผู้อพยพ
  • ใน 24 กรณีของการบังคับให้สูญหาย ผู้สูญหาย หายขณะอยู่บนถนน ,  11 กรณี ผู้สูญหาย หายภายหลังถูกจับกุมจากบ้านพัก หรือสถานที่ที่เหยื่อไปอยู่เป็นประจำ และ 5 กรณี ที่ผู้สูญหาย หายไปหลังจากถูกเชิญให้เข้าไปพบเจ้าหน้าที่
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มีโครงการที่จะเผยแพร่งานวิจัยเรื่องผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2555 นี้
…………………………
ติดต่อ : อังคณา นีละไพจิตร 084 -728- 0350