Statement: Thai Government must ratify the Convention for Protection of all Persons from Enforced Disappearance of the United Nations in effect today.แถลงการณ์: ขอให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคล ทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติที่มีผล บังคับใช้แล้ววันนี้
Category: News
Bangkok – Today (December 23, 2010) is the very day The Convention for
Protection of all Persons from Enforced Disappearance become effective,
after Iraq has ratified this convention as 20th nation on November 23,
2010.
This convention was endorsed by United Nations in 2006, to recognize the
extreme seriousness of Enforced Disappearance to be Crime against Humanity
as Genocide, which deeply affects the victim, the family and the society.
At the same time, it also leads to many other human rights violations.
Navy Pillay, the United Nations High Commissioner for Human Rights says
“An important legal gap in international human rights legislation has been
filled in the fight against enforced disappearance, one of the most serious
and distressing crimes on the international stage,”. “This ground-breaking
Convention provides a solid international framework to put an end to
impunity and pursue justice, and as a result will hopefully have a
significant deterrent effect. It should provide the friends and relatives
of victims a significant boost in their efforts to find out what happened
to their loved ones. The pain of not knowing, sometimes for decades,
whether someone is healthy or suffering, or even dead or alive, is
excruciating – almost a form of torture in itself.”กรุงเทพฯ -วันนี้ (23 ธันวาคม 2553) เป็นวันที่ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญ หายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติ (The Convention for Protection of all Persons from Enforced Disappearance)มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากประเทศอิรักได้ให้สัตยาบันเป็นประเทศที่ 20 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553
อนุสัญญาฯฉบับนี้ ได้รับการรับรองในทางสากลจากองค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2549 เพื่อยกระดับให้การบังคับบุคคลสูญหายเป็น “อาชญากรรมร้ายแรงที่คุกคามมนุษยชาติ” เช่นเดียวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งตัวเหยื่อ ครอบครัว และสังคม รวมทั้งยังนำมาซึ่งการต้องสูญเสียสิทธิมนุษยชนในอีกหลายด้านพร้อมกัน
นางนาวี พิลไลย ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า “อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเติมเต็มช่องว่างทางกฎหมายในการต่อสู้กับการ บังคับบุคคลสูญหายซึ่งนับว่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่เกิดขึ้นในระดับนานา ชาติ อนุสัญญาฯฉบับใหม่ก่อให้เกิดกรอบการปฏิบัติสากลที่ชัดเจนในการยุติการงดเว้น โทษ ส่งเสริมการเข้าถึงความเป็นธรรมและสร้างความหวังในการยับยั้งผลกระทบทั้ง หลายที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังสนับสนุนความพยายามของบรรดาญาติมิตรของเหยื่อในการแสวงหาความจริง ว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้เป็นที่รักของตน ความเจ็บปวดจากการไม่รู้สถานะของผู้สูญหายว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ถือเป็นความเจ็บปวดอย่างที่สุด และนับเป็นรูปแบบหนึ่งของการทรมาน”
The 45-article Convention outlaws enforced disappearance without
exception, stating unequivocally that “No exceptional circumstances
whatsoever, whether a state of war or a threat of war, internal political
instability or any other public emergency, may be invoked as a
justification for enforced disappearance.”
In case of Thailand, there are 52 reported cases of Enforced Disappearance
accepted at UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances (UN
WGIED); however, none of the cases has any progress. The main obstacles of
accessing to Justice of any disappeared person’s family, is that there is
no legal mechanism to ensure that enforced disappearance is criminal
offence. Furthermore, when the actor of the crime is agent of state, the
family of the victim is often threatened or endangered and so incapable to
demand justice. Solving this human rights violation, of enforced
disappearance by the agent of the state, become a major challenge to Thai
government‘s immune to the actors in this continuous crime, and a question
to Thai jurisdiction in ensuring justice to all persons, if Thai justice
system is still justifiable to the people.
On occasion the convention become effective internationally, Justice for
Peace Foundation therefore has demands to Thai government as following;
1. Thai government must ratify the International Convention for Protection
of all Persons from Enforced Disappearance of United Nations in due time,
in order to protect all persons from enforced disappearance in public
emergency, terrorist suppression, anti-narcotics policy or political
conflicts.
2. The government must take the necessary measures to ensure that enforced
disappearance constitutes an offence under its criminal law. The offence of
enforced disappearance must be punishable by appropriate penalties, and
effective witness protection program must be obtained.
3. The government must affirm right to reparation to victim’s family, as
well as the right to know the truth about the circumstances of an enforced
disappearance and the fate of the disappeared person, and the right to
freedom to seek, receive and impart information to this end.
In order to save life of persons, in the present, future and justify that
everyone is truly equal before the law.
……………………………
Contact: Angkhana Nelapaijit, president 084 728-0350, or
Arachapon Nimitkulpol 081 941-4122
นางนาวี ยังกล่าวต่อไปว่า “ทั้ง 45 มาตราของอนุสัญญาฯ เน้นถึงการไร้ซึ่งข้อยกเว้นด้านสถานการณ์ต่างๆ อาทิ สถานการณ์สงคราม ความไร้เสถียรภาพทั้งหลายอันอาจนำมาใช้อ้างความชอบธรรมของการบังคับบุคคลสูญ หายทางการเมือง หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน”
ในประเทศไทย ปัจจุบันมีกรณีบุคคลสูญหายที่คณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ(UN WGEID) รับเป็นคดีคนหายของสหประชาชาติแล้วทั้สิ้น 52 คดี แต่พบว่าทุกคดีไม่มีความก้าวหน้าในทางคดี
“อุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงความยุติธรรมของครอบครัวคนหายคือ การไม่มีกฎหมายซึ่งกำหนดให้การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นอาชญากรรม อีกทั้งเมื่อผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ครอบครัวมักถูกคุกคามจนไม่สามารถเรียกร้องความยุติธรรมได้ การแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการบังคับให้บุคคลสูญหายจากการกระทำของ เจ้าหน้าที่รัฐ จึงเป็นการท้าทายอย่างยิ่งต่อรัฐบาลไทยในการให้ความคุ้มครองบุคคลจาก อาชญากรรมต่อเนื่องนี้ อีกทั้งยังท้าทายความจริงใจของกระบวนการยุติธรรมไทยในการให้ความเป็นธรรมแก่ บุคคลทุกคนว่า แท้จริงแล้วกระบวนการยุติธรรมไทยจะยังเป็นที่พึ่งของประชาชนได้หรือไม่” –นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพกล่าว
ในโอกาสที่อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูก บังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติ(The Convention for Protection of all Persons from Enforced Disappearance) มีผลบังคับใช้ในทางสากล มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคล ทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ โดยเร็ว เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลทุกคนในการที่จะไม่ถูกทำให้สูญหายในท่ามกลาง สถานการณ์ฉุกเฉิน การปราบปรามการก่อการร้าย นโยบายต่อต้านยาเสติด หรือความขัดแย้งทางการเมือง
2. รัฐบาลต้องให้มีกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้การบังคับบุคคลสูญหายเป็น อาชญากรรม มีการกำหนดโทษผู้กระทำผิด และให้มีการคุ้มครองพยานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ให้มีการเยียวยาแก่ครอบครัว ซี่งครอบคลุมถึงสิทธิที่จะทราบความจริง ความคืบหน้าและผลของการสอบสวน ถึงชะตากรรมหรือที่อยู่ของผู้สูญหายในทุกขั้นตอน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาชีวิตของบุคคล ทั้งปัจจุบัน และอนาคต อีกทั้งเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าบุคคลทุกคนเสมอภาคกันอย่างแท้จริงในกฎหมาย