AHRC ออกรายงานประจำปีจวกไทยรื้อฟื้นรัฐทหารAHRC ออกรายงานประจำปีจวกไทยรื้อฟื้นรัฐทหาร

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย Asian Human Rights Commission (AHRC) เผยแพร่รายงานประจำปี 2553 ซึ่งในส่วนของประเทศไทยมีเนื้อหาในรายงานประมาณ 20 หน้า สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

รายงานนี้เริ่มด้วยการเสนอว่า ในไทยมีการรื้อฟื้น “รัฐทหาร” ซึ่งเน้นความมั่นคงภายใน หลังรัฐประหาร 19 กันยาเรื่อยมา มีการเพิ่มอำนาจให้กับพวกที่ต่อต้านสิทธิมนุษยชนในหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและแม้แต่ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย AHRC มีการเรียกร้องให้สหประชาชาติยกเลิกความสัมพันธ์กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ของไทย พร้อมกันนั้น AHRC วิจารณ์การเพิกเฉยของกรรมการสิทธิฯ ขององค์กรสหประชาชาติเอง โดยสาเหตุมาจากการที่ประธานคณะกรรมการนี้เป็นคนของรัฐบาลไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย Asian Human Rights Commission (AHRC) เผยแพร่รายงานประจำปี 2553 ซึ่งในส่วนของประเทศไทยมีเนื้อหาในรายงานประมาณ 20 หน้า สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

รายงานนี้เริ่มด้วยการเสนอว่า ในไทยมีการรื้อฟื้น “รัฐทหาร” ซึ่งเน้นความมั่นคงภายใน หลังรัฐประหาร 19 กันยาเรื่อยมา มีการเพิ่มอำนาจให้กับพวกที่ต่อต้านสิทธิมนุษยชนในหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและแม้แต่ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย AHRC มีการเรียกร้องให้สหประชาชาติยกเลิกความสัมพันธ์กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ของไทย พร้อมกันนั้น AHRC วิจารณ์การเพิกเฉยของกรรมการสิทธิฯ ขององค์กรสหประชาชาติเอง โดยสาเหตุมาจากการที่ประธานคณะกรรมการนี้เป็นคนของรัฐบาลไทย

AHRC อธิบายว่าในรัฐทหาร มีการจงใจผูกพันสถาบันกษัตริย์ กับนิยามของ “ความมั่นคงภายใน” ทั้งๆ ที่บทบาทสถาบันกษัตริย์เป็นประเด็นถกเถียงอย่างรุนแรงภายในสังคมไทยปัจจุบัน

รายงานของ AHRC กล่าวถึง ดา ตอร์ปิโด ที่ถูกจำคุก 18 ปีในข้อหาหมิ่นกษัตริย์ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้บริหารประชาไท ที่โดนข้อกล่าวหามากมาย สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) ที่โดนกลั่นแกล้งจากการที่เขาเป็นนักเคลื่อนไหวแบบสันติ และกรณีการอุ้มฆ่าทนาย สมชาย และ อิหม่ามในภาคใต้ ฯลฯ ในกรณีภาคใต้ผู้กระทำความผิดยังคงลอยนวลอยู่

ในกรณีการสลายการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้า และแยกราชประสงค์ปีนี้ AHRC ฟันธงว่า รัฐบาลไทยจงใจเลือกสังหารพลเมืองเสื้อแดงที่ออกมาประท้วง โดยที่รัฐบาลใช้อาวุธสงครามรุนแรงและสไนเปอร์ เมื่อพิจารณาการประท้วงของคนเสื้อแดงครั้งนี้ มันอาจจะเป็นภัยต่อการคงอยู่ของรัฐบาล แต่ไม่มีหลักฐานอะไรทั้งสิ้นที่บ่งบอกว่าเป็นภัยต่อประเทศชาติ ดังนั้นการเข่นฆ่าประชาชนที่ราชประสงค์ไม่มีความชอบธรรมตามหลักการสิทธิ มนุษยชนสากล และแม้แต่ในกรอบของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเองก็ไม่มีความชอบธรรม

รายงานนี้มีการพูดถึงการทรมานคนเสื้อแดงโดยทหาร เช่น การเอาน้ำมันราดและข่มขู่ว่าจะเผาทั้งเป็น การที่ ศอฉ. ใช้อำนาจเผด็จการในการเรียกนักเคลื่อนไหวเข้าพบ รวมถึงนักศึกษาโดยที่ไม่ให้ทนายเข้าไปด้วย และการที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฟอกตัวเจ้าหน้าที่รัฐล่วงหน้าเพราะระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐทำอะไรก็ได้ภายใต้ พ.ร.ก.นี้ โดยที่ไม่มีความผิด การเผยแพร่แผนผัง “แนวร่วมล้มเจ้า” ของ ศอฉ. และรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นการกล่าวหาและข่มขู่พลเมืองโดยไม่มีหลักฐานอะไรทั้งสิ้น ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงโดยรัฐบาลไทย

AHRC เปิดโปงระบบสองมาตรฐานในระบบยุติธรรม เช่น เรื่องของการจับกุมแม่ค้าเสื้อแดงที่ขายรองเท้าแตะ ทั้งๆ ที่ในสมัยพันธมิตรฯเคลื่อนไหวก็มีการขายรองเท้าแตะที่มีใบหน้าของอดีต นายกรัฐมนตรีทักษิณ โดยที่ไม่มีข้อกล่าวหาและการจับกุมแต่อย่างใด ในกรณีรองเท้าแตะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย ได้ทำให้เรื่องสิทธิมนุษยชนกลายเป็น “เรื่องไร้สาระ” โดยการพูดว่าการนำภาพนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ไปไว้บนรองเท้าเป็นการละเมิด สิทธิของนายอภิสิทธิ์

ผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย คือ ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ทั้งก่อนและหลังรัฐประหาร 19 กันยา และจนถึงทุกวันนี้ไม่มีใครถูกลงโทษเพราะระบบศาลล้มเหลวในการปกป้องสิทธิ มนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นกรณีความขัดแย้งในภาคใต้ หรือ สงครามปราบยาเสพติด หรือความขัดแย้งปัจจุบันระหว่างคนเสื้อแดง กับรัฐบาลอภิสิทธิ์

ท่ามกลางการปกป้อง “รัฐทหาร” นอกจากจะมีการจัดการกับผู้ที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐทหารนี้แล้ว ยังมีการข่มขู่คนที่ไม่เลือกข้างจนพื้นที่เสรีภาพในสังคมหายไป และมีการเซนเซอร์สื่ออย่างรุนแรง การรื้อฟื้น “รัฐทหาร” ในประเทศไทยครั้งนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรัฐเผด็จการเก่าในยุคเผด็จการทหาร แต่มีการพัฒนาความสามารถของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้าม

ทุกวันนี้ ในการรื้อฟื้น “รัฐทหาร” ที่เน้นความมั่นคงภายใน ผู้ที่ประท้วงอย่างสันติ หรือแสดงออกด้วยวาจากับข้อเขียน เสี่ยงกับการติดคุกหลายสิบปี แต่การอุ้มฆ่าทนายสิทธิมนุษยชน การประทุษร้าย การทรมาน และจงใจฆ่า ผู้ประท้วงเสื้อแดงที่มีแต่หนังสติ๊ก ดอกไม้ไฟ ไม้ไผ่ และ ปลาร้า ได้รับคำชมและทหารผู้กระทำความผิดได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นรางวัล นี่คือประเทศไทย

อ่านฉบับเต็มภาษาอังกฤษที่
http://www.humanrights.asia/resources/hrreport/2010/AHRC-SPR-011-2010.pdf

ที่มา: http://prachatai.com/journal/2010/12/32262

AHRC อธิบายว่าในรัฐทหาร มีการจงใจผูกพันสถาบันกษัตริย์ กับนิยามของ “ความมั่นคงภายใน” ทั้งๆ ที่บทบาทสถาบันกษัตริย์เป็นประเด็นถกเถียงอย่างรุนแรงภายในสังคมไทยปัจจุบัน

รายงานของ AHRC กล่าวถึง ดา ตอร์ปิโด ที่ถูกจำคุก 18 ปีในข้อหาหมิ่นกษัตริย์ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้บริหารประชาไท ที่โดนข้อกล่าวหามากมาย สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) ที่โดนกลั่นแกล้งจากการที่เขาเป็นนักเคลื่อนไหวแบบสันติ และกรณีการอุ้มฆ่าทนาย สมชาย และ อิหม่ามในภาคใต้ ฯลฯ ในกรณีภาคใต้ผู้กระทำความผิดยังคงลอยนวลอยู่

ในกรณีการสลายการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้า และแยกราชประสงค์ปีนี้ AHRC ฟันธงว่า รัฐบาลไทยจงใจเลือกสังหารพลเมืองเสื้อแดงที่ออกมาประท้วง โดยที่รัฐบาลใช้อาวุธสงครามรุนแรงและสไนเปอร์ เมื่อพิจารณาการประท้วงของคนเสื้อแดงครั้งนี้ มันอาจจะเป็นภัยต่อการคงอยู่ของรัฐบาล แต่ไม่มีหลักฐานอะไรทั้งสิ้นที่บ่งบอกว่าเป็นภัยต่อประเทศชาติ ดังนั้นการเข่นฆ่าประชาชนที่ราชประสงค์ไม่มีความชอบธรรมตามหลักการสิทธิ มนุษยชนสากล และแม้แต่ในกรอบของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเองก็ไม่มีความชอบธรรม

รายงานนี้มีการพูดถึงการทรมานคนเสื้อแดงโดยทหาร เช่น การเอาน้ำมันราดและข่มขู่ว่าจะเผาทั้งเป็น การที่ ศอฉ. ใช้อำนาจเผด็จการในการเรียกนักเคลื่อนไหวเข้าพบ รวมถึงนักศึกษาโดยที่ไม่ให้ทนายเข้าไปด้วย และการที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฟอกตัวเจ้าหน้าที่รัฐล่วงหน้าเพราะระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐทำอะไรก็ได้ภายใต้ พ.ร.ก.นี้ โดยที่ไม่มีความผิด การเผยแพร่แผนผัง “แนวร่วมล้มเจ้า” ของ ศอฉ. และรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นการกล่าวหาและข่มขู่พลเมืองโดยไม่มีหลักฐานอะไรทั้งสิ้น ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงโดยรัฐบาลไทย

AHRC เปิดโปงระบบสองมาตรฐานในระบบยุติธรรม เช่น เรื่องของการจับกุมแม่ค้าเสื้อแดงที่ขายรองเท้าแตะ ทั้งๆ ที่ในสมัยพันธมิตรฯเคลื่อนไหวก็มีการขายรองเท้าแตะที่มีใบหน้าของอดีต นายกรัฐมนตรีทักษิณ โดยที่ไม่มีข้อกล่าวหาและการจับกุมแต่อย่างใด ในกรณีรองเท้าแตะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย ได้ทำให้เรื่องสิทธิมนุษยชนกลายเป็น “เรื่องไร้สาระ” โดยการพูดว่าการนำภาพนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ไปไว้บนรองเท้าเป็นการละเมิด สิทธิของนายอภิสิทธิ์

ผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย คือ ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ทั้งก่อนและหลังรัฐประหาร 19 กันยา และจนถึงทุกวันนี้ไม่มีใครถูกลงโทษเพราะระบบศาลล้มเหลวในการปกป้องสิทธิ มนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นกรณีความขัดแย้งในภาคใต้ หรือ สงครามปราบยาเสพติด หรือความขัดแย้งปัจจุบันระหว่างคนเสื้อแดง กับรัฐบาลอภิสิทธิ์

ท่ามกลางการปกป้อง “รัฐทหาร” นอกจากจะมีการจัดการกับผู้ที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐทหารนี้แล้ว ยังมีการข่มขู่คนที่ไม่เลือกข้างจนพื้นที่เสรีภาพในสังคมหายไป และมีการเซนเซอร์สื่ออย่างรุนแรง การรื้อฟื้น “รัฐทหาร” ในประเทศไทยครั้งนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรัฐเผด็จการเก่าในยุคเผด็จการทหาร แต่มีการพัฒนาความสามารถของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้าม

ทุกวันนี้ ในการรื้อฟื้น “รัฐทหาร” ที่เน้นความมั่นคงภายใน ผู้ที่ประท้วงอย่างสันติ หรือแสดงออกด้วยวาจากับข้อเขียน เสี่ยงกับการติดคุกหลายสิบปี แต่การอุ้มฆ่าทนายสิทธิมนุษยชน การประทุษร้าย การทรมาน และจงใจฆ่า ผู้ประท้วงเสื้อแดงที่มีแต่หนังสติ๊ก ดอกไม้ไฟ ไม้ไผ่ และ ปลาร้า ได้รับคำชมและทหารผู้กระทำความผิดได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นรางวัล นี่คือประเทศไทย

อ่านฉบับเต็มภาษาอังกฤษที่
http://www.humanrights.asia/resources/hrreport/2010/AHRC-SPR-011-2010.pdf

ที่มา: http://prachatai.com/journal/2010/12/32262