Statement on the Fifth Anniversary of Enforced Disappearance แถลงการณ์เนื่องโอกาสครบรอบ 5 ปีการถูกบังคับให้สูญหายของทนายสมชาย นีละไพจิตร

On the fifth year of the enforced disappearance of Mr. Somchai Neelapaijit, I and my family truly appreciate the attention the Abhisit Vejjejiva government gives to the case and that they promise to give priority to the case to search for truths, to uphold fairness and to bring to justice those responsible for the disappearance.

On 12 January 2006, the Court ruled that one police officer with 3-5 officers were found to have pushed Mr. Somchai Neelapaijit into a car and drove away. The case is pending in the Court of Appeal and the disappearance case (murder case) is under investigation of Department of Special Investigation (DSI).  The National Counter Corruption Commission (NCCC) has been informed of the case and ordered inquiry into the fact that prior to his enforced disappearance, Mr. Somchai had submitted letters of petition to various agencies alleging that high ranking police officers were behind the torture of persons held in custody. It is believed that such an action has led to his being forced to disappear. Meanwhile, the UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances (UNWGED) has accepted the enforced disappearance case of Mr. Somchai Neelapaijit as a case to pursue since 1 June 2005.

เนื่องในโอกาสครบ ๕ ปี การถูกบังคับให้สูญหายของนายสมชาย นีละไพจิตร ดิฉันและครอบครอบครัวต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ให้ความสนใจ และหยิบยกคดีนี้เป็นคดีสำคัญที่รัฐบาลจะเร่งรัดติดตามหาความจริง ให้ความเป็นธรรม และนำตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย

ภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๑๒ มกรคม ๒๕๔๙ ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจหนึ่งนาย กับพวกอีก 3 -5 คนเป็นผู้ผลักนายสมชาย นีละไพจิตร ขึ้นรถแล้วหายไปจนถึงวันนี้ ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และคดีการสูญหาย (คดีฆ่า) อยู่ในระหว่างการสืบสวนสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ อีกทั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้รับเรื่องสอบสวนกรณีที่นายสมชายได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงซ้อมทรมานผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการควบคุม และ เชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้นายสมชายถูกทำให้หายตัวไป รวมทั้งคณะทำงานด้านผู้ถูกบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติ (Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances –UNWGED) ได้รับคดีการสูญหายของนายสมชาย นีละไพจิตร เป็นหนึ่งในคดีคนหายของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘

ตลอดระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา คดีการสูญหายของนายสมชาย นีละไพจิตร ถูกแทรกแซงจากทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการระดับสูงมาโดยตลอด อีกทั้งมีความพยายามเผยแพร่ข่าวว่านายสมชาย นีละไพจิตร เกิดอาการหัวใจวายกระทันหัน เมื่อถูกผลักขึ้นรถ ทั้งที่คุณสมชายไม่เคยป่วยเป็นโรคหัวใจมาก่อน ทั้งนี้เพื่อเบี่ยงเบนข้อหาฆาตกรรม เป็นเพียงแค่ข้อหาปิดบังอำพราง และทำลายศพ จึงเป็นความยากลำบากอย่างยิ่งในการหาความเป็นธรรมตามกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากคดีนี้มีความเกี่ยวพันถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายฝ่าย การคลี่คลายคดีจึงขึ้นอยู่กับความจริงใจของรัฐบาล โดยเฉพาะกรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งถูกกล่าวหาจากสังคมมาโดยตลอดถึงความผูกพัน ความใกล้ชิดกับบรรดาผู้ถูกกล่าวหา และผู้เกี่ยวข้อง ในฐานะที่ผู้บริหารระดับสูงของกรมสอบสวนคดีพิเศษต่างเคยเป็นอดีตข้าราชการตำรวจ

เนื่องในโอกาสครบ ปีการที่นายสมชาย นีละไพจิตรถูกทำให้หายตัวไป ซึ่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๑ และ๖๒ ให้ถือว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ดิฉันจึงขอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลและกรมสอบสวนคดีพิเศษดังนี้

๑. ขอให้รัฐบาลและกรมสอบสวนคดีพิเศษแสดงความจริงใจในการทำคดีการสูญหายของคุณสมชาย นีละไพจิตร อย่างโปร่งใส เป็นธรรม ปราศจากการแซงแทรงด้วยความไม่เป็นธรรม เพื่อสามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของก็ตาม

๒. ขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษออกหมายเรียก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาสอบปากคำและให้การในฐานะพยาน กรณีที่มีคนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณได้เข้าไปขอค้นข้อมูลทะเบียนราษฎร์ที่มีรูปถ่ายหน้าตรงของคุณสมชายโดยไม่แจ้งเหตุผล อีกทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณเองได้เคยกล่าวแก่สาธารณชนว่า นายสมชาย นีละไพจิตร เสียชีวิตแล้ว

๓. กระบวนการยุติธรรมไทย โดยเฉพาะองค์กรปฏิรูปกฎหมาย ต้องสามารถให้คำตอบแก่ครอบครัวและสาธารณชนได้ว่า หากไม่พบวัตถุพยาน ที่บ่งบอกว่านายสมชาย นีละไพจิตร เสียชีวิตแล้วจะดำเนินการอย่างไรเพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อยุติปัญหาการลักพาตัว และการบังคับให้บุคคลสูญหายโดยการทำลายศพ

๔. ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ โปร่งใส ปราศจากการถูกแทรกแซง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมไทยสามารถเป็นที่พึ่งและให้ความเป็นธรรมให้แก่คนไทยทุกคนอย่างเสมอหน้ากัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ

๕. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหายขององค์การสหประชาชาติปี พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นหลักประกัน และให้ความคุ้มครองแก่คนไทยมิให้ต้องตกเป็นเหยื่อของการบังคับให้สูญหายจากเจ้าหน้าที่รัฐอีกต่อไป

สุดท้าย ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้รัฐบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักนิติธรรมอย่างเคร่งครัด ในการให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน และสามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ในสถานการณ์ที่สังคมไทยยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่อย่างต่อเนื่อง และพร้อมกันนี้ดิฉันต้องขอขอบพระคุณประชาชนไทยทุกคน รวมถึงองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั้งใน และต่างประเทศ ที่ร่วมกันพิสูจน์ให้ห็นว่า การต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมนั้นไม่มีพรมแดน และทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ว่าในท่ามกลางความยากลำบากในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงในภาวะที่ต้องเผชิญกับการถูกข่มขู่คุกคามนั้น ยังมีมิตรภาพรวมทั้งน้ำใจไมตรีและความห่วงใย จากผู้คนร่วมสังคม ซึ่งทำให้ดิฉันและผู้เสียหายอีกมากมายสามารถอดทน ยืนหยัด และมีกำลังใจในการที่จะแสวงหาความเป็นธรรมต่อไป .

อังคณา นีละไพจิตร

กรุงเทพฯ

๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒

หมายเหตุ: นางอังคณา นีละไพจิตร และทนายความจากสภาทนายความ นายนิติธร ล้ำเหลือ จะยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งในวันอังคารที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้นายสมชาย นีละไพจิตร เป็นบุคคลสาบสูญ

In the past five years, the case of Mr. Somchai Neelapaijit has been interfered by politicians and high ranking officials making it difficult for justice to be done. Since the case involves high ranking officers from various agencies, the inquiry into the case has to hinge on sincerity of the government and its apparatuses, particularly DSI which has been widely believed to have had close connection with those alleged offenders and concerned parties since many high ranking officers in DSI used to serve in the Royal Thai Police.

On the fifth year of the enforced disappearance of Mr. Somchai Neelapaijit after which according to Section 61 and 62 of the Civil and Commercial Code, the disappeared person can be declared dead, I would like to put forward my following demands to the government and DSI.

1. The government and DSI must be sincere in pursuing the enforced disappearance case of Mr. Somchai Neelapaijit making the process transparent, fair, and free from unjust interference in order to bring those responsible to justice even though they are high ranking police officers.

2. The DSI should issue a summons to call for Former Prime Minister, Lt. Col. Thaksin Shinawatra, to testify as a witness. It was found that someone close to Lt. Col. Thaksin, for unknown reasons, asked for access to search for inhabitant data of Mr. Somchai with his photo. In addition, Lt. Col. Thaksin himself used to inform public that Mr. Somchai Neelapaijit was dead.

3. The Thai government should sign the 2006 International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance to ensure and provide guarantee that Thai citizens shall no longer be subject to enforced disappearance at the hands of public officers.

4. The government should accelerate the reform process of justice system to uphold its independence, transparency, impartiality and making it subject to monitoring by people. This will make the Thai justice process reliable and deliver fairness to all Thai citizens equally and without discrimination.

Last but not least, I would like to throw my support to the government and all government officials who have been upholding the rule of law to guarantee fairness to the people and so that they can be part of the solutions when human rights abuses are continuing unabated in Thai society. I also would like to thank all Thai people and international organizations, particularly the rights organizations inside and outside the country, which collectively endeavor to prove that struggles for human rights and justice are borderless. Amidst the hardships to access justice system and through the encounter with threats and persecution, I have been experiencing friendships and support from fellow human beings. Such support helps to keep me and other aggrieved persons in the world to continue our struggle for justice patiently, determinedly and with hope.

Ms. Angkhana Neelapaijit

Bangkok

12 March 2009