รำลึก 6 ปีตากใบ 25 ตุลาคม 2547 วันแรกที่ “เหยื่อแดนใต้… เริ่มกำพร้า” รำลึก 6 ปีตากใบ 25 ตุลาคม 2547 วันแรกที่ “เหยื่อแดนใต้… เริ่มกำพร้า”
Category: Network
โดย ไลลา เจะซู
เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กลุ่ม INSouth)
NO truth ! NO justice! NO PEACE! วาทกรรมที่กลุ่มนักศึกษาชายแดนใต้รณรงค์เพื่อทวงคืนความยุติธรรมแก่ “เหยื่อ” ผู้ชุมนุมโดยสงบ สันติวิธีและปราศจากอาวุธ ณ สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ผ่านคำมั่นสัญญาว่า “เราจะดูแล จะพิทักษ์ จะเยียวยาทุกคนที่เป็น “เหยื่อความรุนแรง” ในฐานะนักศึกษาปัญญาชน ตราบใดที่ความยุติธรรมไม่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินนี้ ”
ไฮไลท์ของงานประกอบด้วยกิจกรรมเดินรณรงค์ ตู้ไปรษณีย์ขยะ ปิดหู ปิดตา ปิดปากและปิดใจ ตลอดจนกิจกรรมเขียนจดหมายถึงฟ้า เพื่อตามหาความยุติธรรมที่เอื้อมไปไม่ถึงผ่านวาทกรรมต่างๆ เช่น
• ฉันเห็นคนตายที่ตากใบ /
• 25 ตุลาฯ คนตายเพราะขาดอากาศหายใจ /
• เมื่อไหร่ความยุติธรรมจะกลับมา /
• สวัสดีฟ้า! รู้จักประชาชนไหม รู้จักตากใบไหม! /
• ความจำสั้น แต่เจ็บฉันนาน….. ฯลฯ
โดย ไลลา เจะซู
เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กลุ่ม INSouth)
NO truth ! NO justice! NO PEACE! วาทกรรมที่กลุ่มนักศึกษาชายแดนใต้รณรงค์เพื่อทวงคืนความยุติธรรมแก่ “เหยื่อ” ผู้ชุมนุมโดยสงบ สันติวิธีและปราศจากอาวุธ ณ สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ผ่านคำมั่นสัญญาว่า “เราจะดูแล จะพิทักษ์ จะเยียวยาทุกคนที่เป็น “เหยื่อความรุนแรง” ในฐานะนักศึกษาปัญญาชน ตราบใดที่ความยุติธรรมไม่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินนี้ ”
ไฮไลท์ของงาน ประกอบด้วยกิจกรรมเดินรณรงค์ ตู้ไปรษณีย์ขยะ ปิดหู ปิดตา ปิดปากและปิดใจ ตลอดจนกิจกรรมเขียนจดหมายถึงฟ้า เพื่อตามหาความยุติธรรมที่เอื้อมไปไม่ถึงผ่านวาทกรรมต่างๆ เช่น
• ฉันเห็นคนตายที่ตากใบ /
• 25 ตุลาฯ คนตายเพราะขาดอากาศหายใจ /
• เมื่อไหร่ความยุติธรรมจะกลับมา /
• สวัสดีฟ้า! รู้จักประชาชนไหม รู้จักตากใบไหม! /
• ความจำสั้น แต่เจ็บฉันนาน….. ฯลฯ
ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการกล่าวสดุดีเพื่อไว้อาลัยแก่ “เหยื่อ /วีรชนเรียกร้องประชาธิปไตยจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) โดยมีใจความสำคัญว่า “การเลือกปฏิบัติอย่างหวาดระแวงของผู้ปกครองที่อธรรม ถูกยื่นมาและตอบแทนด้วยการสวามิภักดิ์ พี่น้องตากใบผู้รักความยุติธรรม ลุกขึ้นสู้ประกาศก้อง ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย มากันเป็นร้อยเป็นพัน ไอ้พวกบ้าอำนาจ มันยังหาว่าเป็น “โจรก่อการร้าย” ทันทีที่ความจริงใกล้จะปรากฏ ผู้ถือกฎเหล็ก ดิ้นรนทุรนทุราย ปราบพวกมันให้กำราบซะ อย่าได้อาจหาญอีกต่อไป กระสุนมฤตยูถูกรัวจากนิ้วมือของปีศาจ เจาะเข้าไปในร่างกายอันเปลือยเปล่าตายเท่าไหร่ ข้อมูลที่ชัดเจนไม่ปรากฎ พลันที่เสียงปืนเงียบ กองกำลังที่ได้ชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” เดินเท้าเข้ามาตบ ต่อย เตะ ตี สารพัดกระบวนท่าตามความพอใจ ยังไม่พอ….ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถูกมัดมือไขว้หลังแล้วจับโยนใส่ในรถบรรทุก ทับซ้อนกันเกือบสิบชั้น แล้วยังเอาผ้ายางมาปิดอีก ประมาณ 4 ชั่วโมงหลังจากนั้น พวกเขาก็ถึงที่ “ค่ายอิงคยุทธบริหาร” จังหวัดปัตตานี แต่โชคร้ายสำหรับพวกเขาที่อยู่ชั้นล่างนั้นกลายเป็นศพเสียส่วนใหญ่ 78 ศพขาดอากาศหายใจ
ถึงแม้นว่าพวกเขาจะตาย แต่วีรกรรมของพวกเขา จะไม่มีวันตาย อย่างเช่นในวันนี้ 25 ตุลาคม 2553 ครบรอบ 6 ปีเหตุการณ์ตากใบนองเลือด พวกข้าคนรุ่นหลัง ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้หนุ่มผู้สาว ขอสดุดีถึงวีรชนตากใบผู้เสียสละชีวิตเพื่อพิทักษ์ เทิด….ความยุติธรรม”
ความจริงที่สวนทางระหว่างรัฐและประชาชน
1. ศาลจังหวัดสงขลาอ่านคำสั่งคดี ช.16/2548 (คดีไต่สวนการตาย) “ ผู้ตายทั้ง 78 คน ขาดอากาศหายใจในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตาม หน้าที่และพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากไม่ปรากฎพยานหลักฐานว่า ผู้ใดทำให้เสียชีวิต! และผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเห็นพ้องกับอัยการ จึงไม่มีการดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ทหารที่ขนย้ายผู้ชุมนุมจาก สภอ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ถึงค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี….. (ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้า ไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้)
2. ญาดา หัตถธรรมนูญ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน “มันไม่มีอะไรสำคัญเท่าที่ญาติรู้สึกว่า คนที่ทำให้คนที่เขารักเสียชีวิตนั้น ได้รับผิดชอบกับสิ่งที่ตนได้กระทำ”
3. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี (ขณะเกิดเหตุฯ เป็นปลัดจังหวัดนราธิวาส) “ถึงแม้เงินซื้อชีวิตคนไม่ได้ แต่เงินที่รัฐบาลให้มันก็เพียงพอแล้ว จนกระทั่งได้รับทุนเรียนฟรี รัฐก็ช่วยเหลือทุกอย่างแม้กระทั่งเด็กกำพร้า”
4. อ.ศรีสมภพ จิตภิรมณ์ศรี ผอ.สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ “เหตุการณ์ตากใบสะท้อนถึงความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการเกินเลย ไม่รับผิดชอบต่อชีวิตและสิทธิของประชาชน ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแง่ของชีวิตหรือทรัพย์สิน รัฐเองก็พยายามชดเชย เยียวยาเพียงพอแล้ว……. หากแต่ความเสียหายทางความรู้สึกนั้น ต้องแก้ความยุติธรรมด้วยกระบวนการยุติธรรม”
5. ลีโอ เจ๊ะกือลี หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมกล่าวว่า “การแก้ปัญหาด้วยกองกำลัง อาวุธและความรุนแรง หรือการเยียวยาด้วย “เงินตราและความสงสาร” ไม่สามารถตอบโจทก์ปัญหา 3 จังหวัดได้ ตราบใดที่ไม่สามารถทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าของตนเอง ผ่านการสร้างพื้นที่ในการสะท้อนสภาพปัญหาและความต้องการของพวกเขาได้อย่าง แท้จริง
คำกล่าวอ้างที่ว่า “ผู้ชุมนุมตายเพราะขาดอากาศหายใจ” ไม่สามารถลบล้างภาพความทรงจำอันเจ็บปวดของเหยื่อชายแดนใต้ได้ ดังนั้น “การทำความจริงให้ปรากฎ” “ยอมรับความผิดพลาด” และ “นำฆาตกรที่เป็นต้นเหตุให้ประชาชนต้องตาย…..มาลงโทษ” น่าจะเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ด้ามขวานของไทยได้อีก ทางหนึ่ง
ที่มา: http://prachatai.com/journal/2010/10/31636ปิด ท้ายกิจกรรมด้วยการกล่าวสดุดีเพื่อไว้อาลัยแก่ “เหยื่อ /วีรชนเรียกร้องประชาธิปไตยจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) โดยมีใจความสำคัญว่า “การเลือกปฏิบัติอย่างหวาดระแวงของผู้ปกครองที่อธรรม ถูกยื่นมาและตอบแทนด้วยการสวามิภักดิ์ พี่น้องตากใบผู้รักความยุติธรรม ลุกขึ้นสู้ประกาศก้อง ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย มากันเป็นร้อยเป็นพัน ไอ้พวกบ้าอำนาจ มันยังหาว่าเป็น “โจรก่อการร้าย” ทันทีที่ความจริงใกล้จะปรากฏ ผู้ถือกฎเหล็ก ดิ้นรนทุรนทุราย ปราบพวกมันให้กำราบซะ อย่าได้อาจหาญอีกต่อไป กระสุนมฤตยูถูกรัวจากนิ้วมือของปีศาจ เจาะเข้าไปในร่างกายอันเปลือยเปล่าตายเท่าไหร่ ข้อมูลที่ชัดเจนไม่ปรากฎ พลันที่เสียงปืนเงียบ กองกำลังที่ได้ชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” เดินเท้าเข้ามาตบ ต่อย เตะ ตี สารพัดกระบวนท่าตามความพอใจ ยังไม่พอ….ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถูกมัดมือไขว้หลังแล้วจับโยนใส่ในรถบรรทุก ทับซ้อนกันเกือบสิบชั้น แล้วยังเอาผ้ายางมาปิดอีก ประมาณ 4 ชั่วโมงหลังจากนั้น พวกเขาก็ถึงที่ “ค่ายอิงคยุทธบริหาร” จังหวัดปัตตานี แต่โชคร้ายสำหรับพวกเขาที่อยู่ชั้นล่างนั้นกลายเป็นศพเสียส่วนใหญ่ 78 ศพขาดอากาศหายใจ
ถึงแม้นว่าพวกเขาจะตาย แต่วีรกรรมของพวกเขา จะไม่มีวันตาย อย่างเช่นในวันนี้ 25 ตุลาคม 2553 ครบรอบ 6 ปีเหตุการณ์ตากใบนองเลือด พวกข้าคนรุ่นหลัง ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้หนุ่มผู้สาว ขอสดุดีถึงวีรชนตากใบผู้เสียสละชีวิตเพื่อพิทักษ์ เทิด….ความยุติธรรม”
ความจริงที่สวนทางระหว่างรัฐและประชาชน
1. ศาลจังหวัดสงขลาอ่านคำสั่งคดี ช.16/2548 (คดีไต่สวนการตาย) “ ผู้ตายทั้ง 78 คน ขาดอากาศหายใจในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตาม หน้าที่และพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากไม่ปรากฎพยานหลักฐานว่า ผู้ใดทำให้เสียชีวิต! และผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเห็นพ้องกับอัยการ จึงไม่มีการดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ทหารที่ขนย้ายผู้ชุมนุมจาก สภอ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ถึงค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี….. (ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้า ไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้)
2. ญาดา หัตถธรรมนูญ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน “มันไม่มีอะไรสำคัญเท่าที่ญาติรู้สึกว่า คนที่ทำให้คนที่เขารักเสียชีวิตนั้น ได้รับผิดชอบกับสิ่งที่ตนได้กระทำ”
3. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี (ขณะเกิดเหตุฯ เป็นปลัดจังหวัดนราธิวาส) “ถึงแม้เงินซื้อชีวิตคนไม่ได้ แต่เงินที่รัฐบาลให้มันก็เพียงพอแล้ว จนกระทั่งได้รับทุนเรียนฟรี รัฐก็ช่วยเหลือทุกอย่างแม้กระทั่งเด็กกำพร้า”
4. อ.ศรีสมภพ จิตภิรมณ์ศรี ผอ.สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ “เหตุการณ์ตากใบสะท้อนถึงความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการเกินเลย ไม่รับผิดชอบต่อชีวิตและสิทธิของประชาชน ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแง่ของชีวิตหรือทรัพย์สิน รัฐเองก็พยายามชดเชย เยียวยาเพียงพอแล้ว……. หากแต่ความเสียหายทางความรู้สึกนั้น ต้องแก้ความยุติธรรมด้วยกระบวนการยุติธรรม”
5. ลีโอ เจ๊ะกือลี หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมกล่าวว่า “การแก้ปัญหาด้วยกองกำลัง อาวุธและความรุนแรง หรือการเยียวยาด้วย “เงินตราและความสงสาร” ไม่สามารถตอบโจทก์ปัญหา 3 จังหวัดได้ ตราบใดที่ไม่สามารถทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าของตนเอง ผ่านการสร้างพื้นที่ในการสะท้อนสภาพปัญหาและความต้องการของพวกเขาได้อย่าง แท้จริง
คำกล่าวอ้างที่ว่า “ผู้ชุมนุมตายเพราะขาดอากาศหายใจ” ไม่สามารถลบล้างภาพความทรงจำอันเจ็บปวดของเหยื่อชายแดนใต้ได้ ดังนั้น “การทำความจริงให้ปรากฎ” “ยอมรับความผิดพลาด” และ “นำฆาตกรที่เป็นต้นเหตุให้ประชาชนต้องตาย…..มาลงโทษ” น่าจะเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ด้ามขวานของไทยได้อีก ทางหนึ่ง
ที่มา: http://prachatai.com/journal/2010/10/31636