Thailand: WGJP raises disappearance of Somchai Neelapaijit at Human Rights Councilคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพเรียกร้องสภาสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติทวงถามความคืบหน้าคดีทนายสมชาย
Category: News
Geneva, 10 March 2009 — The Working Group on Justice for Peace met with the UN Working Group on Enforced and Involuntary Disappearances (WGEID) today to deliver a statement by Angkhana Neelapaijit on the fifth anniversary of the disappearance of her husband and human rights lawyer Somchai. In the statement, Angkhana welcomed the attention given by the new government under Abhisit Vejjejiva on the case but called on the government to sincerely follow through with their words to investigate the case in a prompt, transparent and independent manner. In particular, Angkhana urged the Department of Special Investigation yet again to summon former PM Thaksin Shinawatra to testify as a witness as he had publicly proclaimed that Somchai was dead.
กรุงเจนีวา วันที่10มีนาคม 2552 — วันนี้คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้เข้าพบกับคณะทำงานด้านคนหายของสหประชาชาติเพื่อส่งสารจากนางอังคณา นีละไพจิตรเกี่ยวกับการครบรอบห้าปีการหายสาบสูญของสามีและทนายความสิทธิมนุษยชนสมชาย นีละไพจิตรต่อที่ประชุมนานาชาติ นางอังคณาแสดงความยินดีที่รัฐบาลชุดใหม่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้ความสนใจติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีดังกล่าว หากแต่ยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลรักษาสัจจะในการสืบสวนคดีอย่างจริงใจ จริงจัง โปร่งใสและเป็นอิสระ ขณะเดียวกันนางอังคณายังเรียกร้องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอออกหมายเรียกตัวอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรมาให้ปากคำในฐานะพยานหลังจากที่อดีตนายกฯเคยกล่าวในที่สาธารณะว่าทนายสมชายได้เสียชีวิตแล้ว
ขณะเดียวกันนางสาวประทับจิต บุตรสาวของทนายสมชายได้เข้าพบกับผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ รวมทั้งตัวแทนจากภาครัฐและเอ็นจีโอต่างๆในที่ประชุมสภาสิทธิมนุษยชน (Human Rights Council) อาทิตย์นี้เพื่อชี้แจงความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับประเด็นการบังคับให้บุคคลสูญหายในประเทศไทย โดยเฉพาะการที่ครอบครัวของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้
ในที่ประชุมวันนี้คณะทำงานด้านคนหายของสหประชาชาติได้นำเสนอรายงานประจำปี ซึ่งประกอบด้วยกรณีคนหายล่าสุดที่ได้รับรายงานในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมารวมทั้งสิ้น 7 กรณี รวมเป็นคดีที่ยังไม่ได้รับการสะสางทั้งสิ้น 53 คดี ระหว่างการชี้แจงและซักถามต่อประธานของคณะทำงานด้านคนหาย ตัวแทนจากประเทศแคนนาดาได้ซักถามคณะทำงานฯเกี่ยวกับรายละเอียดความคืบหน้าเกี่ยวกับการติดตามการหายสาบสูญของทนายสมชาย รัฐบาลไทยได้กล่าวยืนยันอีกครั้งว่าจะติดตามกรณีคนหายทั้งหมดอย่างจริงจังและเป็นไปตามหลักนิติธรรมและความยุติธรรม ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการหายตัวไปของทนายสมชาย ตัวแทนรัฐบาลไทยกล่าวว่านายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้พบกับนางอังคณาเมื่อไม่นานมานี้และได้ให้หลักประกันว่ารัฐบาลจะทำหน้าที่ในการติดตามหาข้อสรุปต่อกรณีการหายตัวไปของทนายสมชายอย่างดีที่สุดโดยยึดหลักนิติธรรมเป็นหลัก
ขณะที่คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพรู้สึกยินดีต่อคำชี้แจงดังกล่าว คณะทำงานฯต้องการย้ำเตือนรัฐบาลว่ากรณีการหายตัวไปของทนายสมชายนอกจากจะแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรมของไทย ยังเป็นการปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวลอีกด้วย กรณีทนายสมชายยังคงค้างคาอยู่ที่ศาลอุทธรณ์ตั้งแต่เดือนเมษายน 2549 ขณะเดียวกันก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆจากทางดีเอสไอและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ถึงแม้ว่าการที่รัฐบาลแสดงเจตจำนงในการติดตามหาข้อสรุปเกี่ยวกับคดีดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญ รัฐบาลมีหน้าที่ในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมด้วยเช่นกัน ข้อกล่าวหาหนักแน่นจำนวนมากชี้ให้เห็นถึงความพยายามขัดขวางการตรวจสอบคดีอย่างจงใจโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่นการทำลายหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี เป็นต้น
เป็นเวลา 5 ปีแล้วที่นายสมชายถูกทำให้หายไป ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 61 และ 62 ของกฎหมายแพ่งและพานิชย์กำหนดให้สิ้นสภาพบุคคลทางกฎหมาย (ตายตามกฎหมาย) ในการนี้นางอังคณาจึงต้องร้องขอให้ศาลฯ ประกาศว่านายสมชายเป็นบุคคลสาบสูญ โดยเฉพาะในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีความคืบหน้าทางคดีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นกรณีนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของประเทศไทยในการลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลสูญหายของสหประชาชาติ อันจะมีผลให้การบังคับให้บุคคลสูญหายถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงตามกฎหมาย และยังเสริมสร้างสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงความจริงอีกด้วย ซึ่งในการประชุมสภาสิทธิมนุษยชน ผู้แทนจากประเทศได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่ารัฐบาลไทยได้ตัดสินใจที่จะร่วมลงนามเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับดังกล่าวแล้วเพื่อแสดงเจตนารมณ์อันชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการบังคับให้บุคคลสูญหายอย่างจริงจัง อันจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ลงนามในอนุสัญญาฯ ร่วมกับอีก 81 ประเทศทั่วโลก และก้าวขึ้นมาเป็นประเทศตัวอย่างที่แสดงเจตจำนงค์อย่างชัดเจนในการร่วมมือกับสังคมนานาชาติในการให้สัตยาบันแก่กลไกสำคัญในการปกป้องสิทธิมนุษยชน
ขณะที่กิจกรรมเพื่อรำลึกถึงการหายไปของทนายสมชาย นีละไพจิตรที่กรุงเทพมหานครกำลังดำเนินอยู่ด้วยความร่วมไม้ร่วมมือระหว่างผู้แทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการระดับสูงด้านสิทธิมนุษยชน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการหลายสาขา และรวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศที่ประจำอยู่ในประเทศไทย ในเวลาเดียวกันนนั้น นางสาว ประทับจิตจะรายงานสถานการณ์การถูกบังคับให้สูญหายในประเทศไทยในการประชุมคู่ขนานกับการประชุมของสภาสิทธิมนุษยชนซึ่งจัดโดยสมาพันธ์ต่อต้านการบังคับให้สูญหายแห่งเอเชีย (Asian Federation Against Disappearances) และสมาพันธ์ครอบครัวผู้สูญหายในทวีปอเมริกาใต้ (Asian Federation against and the Federation of Families of the Disappeared in Latin America) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการให้สัตยาบันในอนุสัญญาฉบับดังกล่าวนี้เพื่อเป็นคำมั่นให้แก่ญาติผู้สูญหายทั่วโลกมั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับความยุติธรรมและการชดเชยความสูญเสียอย่างเท่าเทียม
ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: คุณพุทธณี กางกั้น 086 332-1249
The statement was delivered by Somchai’s daughter, Pratapjit, who has been meeting with Special Procedures and delegations to the Human Rights Council this week to elaborate on latest developments regarding the issue of disappearances in Thailand, raising in particularly to lack of access to justice for the families of the disappeared.
The Working Group on Enforced and Involuntary Disappearances presented their annual report today at the Human Rights Council which contained the latest number of cases reported to its secretariat last year, numbering 7 cases bringing the total number to 53 pending cases. During the interactive dialogue with the Chairperson of the WGEID, the Canadian delegation raised the Somchai case in a question aimed at the working group, asking for details on the progress of the case. In response, the Thai government again reconfirmed its commitment to take all allegations of disappearances very seriously and put all efforts in addressing the cases in accordance with rule of law and principles of justice. Regarding particularly the Somchai case, the delegation mentioned that the new PM Abhisit had met recently with Angkhana to assure her that the Thai government is determined to do its utmost to bring the case to a conclusion based on the rule of law.
While these are indeed welcome words, the WGJP wants to remind the government that the Somchai case clearly demonstrates a failure of the justice system and represents the key impunity case in Thailand. The case has been pending in the Appeals Court since April of 2006. At the same time, the investigations by the DSI as well as the National Counter Corruption Commission, have not born any effective progress. While political will to bring the case to a close is of utmost importance, the government has the responsibility to follow through to ensure perpetrators are brought to justice. Strong allegations are pointing to deliberate obstructions in the investigation by state agents, including the destruction of evidence.
It has now been five years since Somchai’s disappearance and according to section 61 and 62 of the Civil and Criminal Procedure Code, a disappeared person can be declared dead. In this light, Angkhana will request the civil court to announce that Somchai was disappeared. In five years little progress has been made in delivering justice for this case, which highlights the necessity for the Convention of All Persons against Enforced Disappearances to be implemented in Thailand which would provide for the criminalization disappearances and establish the right to truth. The Thai delegation to the Human Rights Council announced the government’s consideration to becoming a state party to the newest convention to show its commitment to take this issue seriously and address cases of disappearances. While 81 countries have already signed unto the convention, none of the ASEAN countries have done so. Thailand can therefore set an example to show its commitment to cooperate with efforts by the international community and ratify these important instruments.
While commemoration activities are taking place in Bangkok on the anniversary of Somchai disappearance, which will include prominent speakers of the PM office, the Office of the High Commissioner for Human Rights, academics and international missions to Thailand, Pratapjit will be presenting on the situation of disappearances in Thailand at a side event of the human rights council organized by the Asian Federation against Disappearances and the Federation of Families of the Disappeared in Latin America which will highlight the urgency of the ratification of the new convention to ensure families across the globe receive justice and adequate compensation.
For more information, contact Puttanee Kangkun: 086 332 1249