Tak Bai Incident : 6 years on and justice remain elusive6 ปีตากใบ(1) เมื่อกระบวนการยุติธรรมมิอาจให้ความเป็นธรรม
Category: Network
Six years after the Tak Bai tragic incident on October 25, 2004, justice still remains elusive for the loved ones of the 78 Muslim men died of suffocation while they were being trucked to an army barrack in Narathiwat and seven others killed in front of Tak Bai district police station.
On the sixth anniversary of the tragedy on Monday October 25, the Foundation for Justice and Peace issued a statement saying that the incident had caused the biggest loss of lives by the authorities ever seen in the history of the three southernmost provinces. Although several governments in the past as well as the incumbent administration have tried to help out families of the deceased, injured and the survivors, there remains one thing that all the governments have failed to deliver – that is justice, said the foundation.
The foundation then demanded as follows:
– that the Office of the Attorney-General review the decision to not prosecute all the suspected blamed for the death of the victims;
– that the National Human Rights Commission pursue legal action against all the suspected officials on behalf of the families of the victims in accordance with Article 257 of the Constitution;
– that the Government metes out measures to protect witnesses who survived the incident so they would feel confident of their safety so they would be able to testify before the court;
– that the Thai society must learn a lesson from the incident of alleged human rights violation and of the use of force to break up a public gathering.
As far as the case regarding the death of 78 protesters, the Songkhla provincial court, in a ruling announced on May 29 last year to determine the cause of the deaths, said that all the 78 victims died of suffocation and that there was no evidence to suggest that they died of abuses by the authorities. As a result of the court’s ruling, the public prosecution decided to not prosecute the alleged suspects and this was approved by the governor.
As for 59 surviving protesters, the public prosecution agreed to drop all charges against them on November 6, 2006, on the ground that pursuing the case in the court would not good any good to the public and it might affect national security.
Civil suits to demand compensation from the authoritie and the state have all been withdrawn after both the state and the families of the victims agreed on an out-of-court settlement.
As for the seven other victims died in front of Tak Bai district police station, the public prosecution has stopped all the investigation about the case on the ground that it was unclear who caused their deaths.
Mrs Angkana Nilapaichit, chair of the working group for justice and peace, disclosed that most families of the dead victims are still grieved of the tragedy six years afterward.
A woman who lost her 14-year old boy in the incident said her boy would still be here with her today and would be able to help her out to make a living had he not been trucked to the Inkhayuth camp in Narathiwat.
The boy was made to lie face down at the bottom of several layers of people who were ordered by troops to pile up on one another at the back of the truck. He died of suffocation as did the other protesters.
Mrs Angkana said that most of the familes of the dead victims strongly felt that they were yet to be given justice. “There has been no answer from the state about why so many people died,” she added.
Yana Salaman who lost a son in the incident said most of the families had not followed up the case now because they didn’t think there was much hope for them.
As for the demand for compensation, he went on saying that most families had lost interest in it. But the pains are still being felt by most families six years on, he said.
From: http://www.south.isranews.org/index.php?option=com_content&view=article&id=579:tak-bai-incident-six-years-on-and-justice-remains-elusive&catid=17:english-article&Itemid=13
เหตุการณ์ สลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อบ่ายวันที่ 25 ต.ค.2547 และการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมตัว ด้วยการสั่งถอดเสื้อผ้า มัดมือไพล่หลัง แล้วนำขึ้นไปเรียงซ้อนกันบนรถยีเอ็มซีของทหาร เพื่อส่งไปสอบสวนต่อที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จนมีผู้เสียชีวิตรวมกันถึง 85 รายนั้น ได้กลายเป็นโศกนาฏกรรมจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำให้มีผู้เสีย ชีวิตมากเป็นลำดับต้นๆ ของเมืองไทย
แต่ดูเหมือนเสียงเรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรมให้กับพวกเขา กลับแผ่วเบาและกำลังเลือนหายไปกับกาลเวลา…หรืออาจจะเป็นเพราะว่า ผู้เสียชีวิตคือประชาชนตาดำๆ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังปราศจากกลุ่มการเมืองใดๆ หนุนหลัง
ที่น่าตกใจก็คือ “กระบวนการยุติธรรมไทย” ที่มิอาจตอบโจทย์ความเป็นธรรมได้ ไม่ว่าจะกับครอบครัวผู้สูญเสียเอง หรือสังคมก็ตาม
ความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรม?
ตลอด 6 ปีหลังจากเกิดเหตุการณ์ มีการเคลื่อนไหวสำคัญๆ ในกระบวนการยุติธรรม ดังนี้
1.พนักงานอัยการถอนฟ้องผู้ชุมนุม 59 คน (ต่อมาเสียชีวิต 1 คน) เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2539 โดยให้เหตุผลต่อสาธารณะว่า “…การยุติข้อพิพาทในคดีนี้จะเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหา ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การฟ้องคดีและการดำเนินคดีนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะและอาจกระทบ ต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ รวมทั้งผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ”
2.คดีแพ่งที่ญาติผู้เสียชีวิต ตลอดจนผู้บาดเจ็บและทุพพลภาพเป็นโจทก์ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐเพื่อเรียกค่าเสีย หายในกรณีเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากการขนย้ายผู้ถูกจับกุมในเหตุการณ์ ตากใบ มีจำนวน 7 สำนวน ระหว่างปี 2548-2549 ต่อมาได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงยอมรับค่าเสียหายทางแพ่ง
3.สำนวนคดีที่มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จำนวน 7 คน เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสืบทราบได้ว่าใครเป็นผู้ทำให้เสียชีวิต เนื่องจากอยู่ในช่วงเหตุการณ์ชุลมุนระหว่างการชุมนุม จึงไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ทำให้เกิดการเสียชีวิตขึ้น พนักงานอัยการจึงมีคำสั่งให้งดการสอบสวน
4.สำนวนคดีที่มีผู้เสียชีวิต 78 คนจากการขนย้ายผู้ถูกจับกุมนับพันคนไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ซึ่งพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งไต่สวนการตาย เนื่องจากเป็นกรณีการเสียชีวิตโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่อ้างว่า ปฏิบัติงานตามหน้าที่ หรือเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่อ้างว่าปฏิบัติงานตาม หน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2552 ศาลจังหวัดสงขลามีคำสั่งในสำนวนไต่สวนการตายว่า สาเหตุการเสียชีวิตของผู้เสียชีวิตทั้ง 78 ศพ เป็นเพราะขาดอากาศหายใจ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีผู้ใดทำให้ตาย และการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่
ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ทำสำนวนส่งอัยการ โดยอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าผู้ใดทำให้เสียชีวิต และผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นพ้องกับอัยการ คือสั่งไม่ฟ้อง ทำให้คดีถึงที่สุด
“ยุติธรรมเพื่อสันติภาพ”จี้ กสม.ยื่นฟ้องแทนชาวบ้าน
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง “6 ปีตากใบ: ความล้มเหลวกระบวนการยุติธรรมไทยกับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” มีเนื้อหาสรุปว่า
วันที่ 25 ต.ค.2553 เป็นวันครบ 6 ปีเหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชนหน้า สภ.ตากใบ อันถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีการสูญเสียมากที่สุดครั้งหนึ่งของประชาชนใน จังหวัดชายแดนภาคใต้จากการละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และแม้รัฐบาลที่ผ่านมาจะได้เพียรพยายามเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ผู้รอดชีวิต รวมถึงชุมชนและสังคม แต่สิ่งเดียวที่รัฐบาลในทุกสมัยไม่เคยให้แก่ประชาชนคือ “ความยุติธรรม”
ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ตากใบ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพจึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลและองค์กรอิสระซึ่ง มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนี้
1.ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดทบทวนความเห็นในการสั่งไม่ฟ้องคดีตากใบ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิทางศาลในการหาความเป็นธรรมได้อย่างเต็มที่
2.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ควรเพิ่มบทบาทในการช่วยเหลือผู้เสียหายกรณีตากใบและครอบครัวให้เข้าถึงความ ยุติธรรม โดยการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 257 (4)
3.รัฐบาลต้องมีมาตรการในการให้ความคุ้มครองพยานซึ่งเป็นผู้รอดชีวิต ให้มีความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อสามารถให้การเป็นพยานในชั้นศาล และสามารถนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้
4.สังคมไทยต้องนำบทเรียนของเหตุการณ์การละเมิดสิทธิต่อประชาชน รวมทั้งการใช้ความรุนแรงเข้าสลายการชุมชนของประชาชน มาเป็นธงนำในการเรียกร้องให้ใช้ “สันติวิธี” ในการแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งทุกกรณี โดยไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ และร่วมกันเฝ้าติดตามการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมของกรณีการละเมิด สิทธิในเหตุการณ์ตากใบ
จากก้นบึ้งหัวใจของแม่เหยื่อตากใบ
ก่อน หน้านี้ เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2553 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 เดือนรอมฎอน ตามปฏิทินจันทรคติ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้จัดกิจกรรมทำบุญรำลึกถึงผู้เสียชีวิตกรณี เหตุการณ์ตากใบเมื่อวันที่ 23 ต.ค.2547 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 เดือนรอมฎอน ตามปฏิทินจันทรคติเช่นกัน
กิจกรรมในงานคือเชิญครอบรอบผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ ทุพพลภาพ รวมถึงชาวตากใบทั่วไป และอำเภอใกล้เคียง ร่วมกันทำบุญ เลี้ยงอาหาร และละศีลอดพร้อมกัน เพื่อรำลึกถึงบรรดาผู้สูญเสียและผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 300 คน โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงเข้าร่วมงานด้วย เช่น พ.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี รองผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส รองผู้กำกับการ สภ.ตากใบ และหน่วยทหารพรานในพื้นที่ เป็นต้น
อังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กล่าวว่า ชาวตากใบรวมถึงครอบครัวผู้สูญเสียส่วนใหญ่ยังมีอาการโศกเศร้าเมื่อรำลึกถึง เหตุการณ์สลดที่เกิดขึ้น แม่ของเด็กชายอายุ 14 ปีรายหนึ่งบอกว่า หากลูกชายของเธอไม่ถูกนำตัวขึ้นรถทหารเพื่อเดินทางไปยังค่ายอิงคยุทธ โดยนอนอยู่แถวล่างสุด ลูกชายก็คงไม่เสียชีวิต และหากยังมีชีวิตอยู่ วันนี้คงสามารถทำงานช่วยเหลือครอบครัวได้มาก
แม่ของผู้เสียชีวิตอีกรายหนึ่งกล่าวทั้งน้ำตาว่า เธอหย่ากับสามีเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว โดยมีลูกชายอายุ 19 ปีเป็นหลักในการดูแลครอบครัว วันเกิดเหตุลูกของเธอออกไปตลาดเพื่อหาซื้ออาหารละศีลอด แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว และพบว่าเสียชีวิตในเวลาต่อมา เธอบอกด้วยว่าประชาชนทั้งหมดที่ถูกควบคุมตัวกำลังอยู่ระหว่างการถือศีลอด จึงมีสภาพร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ทราบดี เมื่อถูกนำตัวไปนอนทับซ้อนกัน ย่อมทำให้ขาดอากาศหายใจ และจากการสอบถามผู้รอดชีวิต ทำให้ทราบว่าผู้ถูกควบคุมตัวที่อยู่ชั้นล่างพยายามร้องขอความช่วยเหลือ แต่จะถูกเจ้าหน้าที่ทุบตีเพื่อมิให้ส่งเสียง สิ่งที่เสียใจมากที่สุดคือการที่รัฐไม่บอกความจริงแก่ประชาชน
“ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่มาร่วมงาน ให้ความเห็นคล้ายๆ กันว่า รัฐยังไม่ได้เยียวยาด้านความยุติธรรมให้กับประชาชน อีกทั้งไม่มีคำตอบว่าทำไมจึงเกิดการเสียชีวิตของคนจำนวนมากขนาดนี้ได้ ครอบครัวผู้สูญเสียส่วนใหญ่ต้องการให้มีผู้รับผิดและรับผิดชอบต่อการเสีย ชีวิต บาดเจ็บ และทุพพลภาพ รวมทั้งคาดหวังว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเข้ามาช่วยเหลือประชาชน ให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยการฟ้องร้องคดีอาญาแทนประชาชน” อังคณา กล่าว
ความเจ็บปวดไม่เคยจางหาย…
แยนะ สะแลแม หรือ “ก๊ะแยนะ” ซึ่ง สูญเสียลูกชายในเหตุการณ์ตากใบ และทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานผู้เสียหายในคดีตากใบ รวมทั้งตัวแทนกลุ่มผู้หญิงผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันครอบครัวผู้สูญเสียส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ติดตามคดีกันแล้ว เพราะดูไม่ค่อยมีหวัง และหลายๆ คนเลือกที่จะลืม ขอทำงานเลี้ยงครอบครัวดีกว่า แต่ก็มีอีกหลายคนที่รู้สึกไม่พอใจภาครัฐที่ไปตัดสินทำนองว่าขาดอากาศหายใจ จึงตัดสินใจดำเนินการฟ้องกลับ เพราะทุกคนที่ร่วมในเหตุการณ์ต่างรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
“ขณะนี้กำลังประสานกับกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมที่จะเข้ามา ช่วยเหลือ และทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเองก็เห็นด้วยถ้าชาวบ้านจะฟ้องกลับ และข้อมูลที่ทางเรามีอยู่ก็มากพอ เตรียมการเรียบร้อยเมื่อไหร่จะยื่นฟ้องทันที อย่างน้อยรัฐจะได้รู้ว่าเจ้าหน้าที่ทำอะไรบ้างในเหตุการณ์วันนั้น” ก๊ะแยนะ กล่าว
ไม่เพียงแต่เรื่องคดีความ แต่เรื่องการช่วยเหลือเยียวยาก็มีปัญหามาตลอดเช่นกัน
“แรกๆ ชาวบ้านก็เรียกร้องนะ แต่ช่วงหลังๆ ชาวบ้านไม่สนใจแล้ว ได้หรือไม่ได้ก็ไม่เป็นไร มีบางคนที่คิดว่าสิทธิของเขายังมีอยู่ ก็พยายามเรียกร้องในสิ่งที่พึงได้ แต่ไม่รู้ว่าจะเรียกร้องที่ไหน กับใคร เพราะรัฐไม่ได้เข้าไปดูแลและไม่ให้ความสนใจตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว”
“เหตุการณ์ผ่านมาครบ 6 ปี ถามว่าความเจ็บปวดมันจางหายไปไหม บอกได้เลยว่าความเจ็บปวดไม่ได้จางหายไปแม้แต่วินาทีเดียว ก๊ะยังรู้สึกปวดเหมือนกับเพิ่งเกิดเหตุเมื่อวาน ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”
แต่ทั้งหมดนี้และสิ่งที่กำลังจะเผชิญต่อไป ไม่ทำให้ ก๊ะแยนะ ท้อถอย
“เคยรู้สึกหมดหวังกับคำตัดสินของศาลที่ว่าเป็นการขาดอากาศหายใจ แต่เมื่อมันผ่านไปแล้ว ก็ต้องมาตั้งต้นสู้ใหม่ ก๊ะยังหวังลึกๆ ว่าสิ่งที่ก๊ะเรียกร้องมาตลอดหลายปีนี้ จะได้รับความยุติธรรมกลับคืนมาสักวันหนึ่ง”
เป็นเสียงจากผู้สูญเสียกรณีตากใบซึ่งกระบวนการยุติธรรมไม่ อาจให้ความเป็นธรรมกับพวกเขาได้…แม้ว่าวันเวลาจะล่วงผ่านมานานถึง 6 ปีแล้วก็ตาม!
————————————————————————————————–
บรรยายภาพ :
1 และ 3 – เหตุการณ์ตากใบ เมื่อ 25 ต.ค.2547 (ภาพจากอินเทอร์เน็ต)
2 – เด็กๆ ในครอบครัวเหยื่อตากใบที่ไปร่วมกิจกรรมรำลึก 6 ปีตากใบ ซึ่งจัดโดยมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
ที่มา: http://www.south.isranews.org/index.php?option=com_content&task=view&id=578&Itemid=