แยนะ สะแลแม’ แต่งงาน+รำลึก ‘6ปีตากใบ’แยนะ สะแลแม’ แต่งงาน+รำลึก ‘6ปีตากใบ’
Category: Network
สัมภาษณ์ “แยะนะ สะแลแม” แกนนำสตรีเหยื่อตากใบ ไม่ได้จัดงานรำลึก แต่จัดงานแต่งงานลูกชายตรงกับวันครบรอบ 6 ปี จากผู้สูญเสียสู่แกนนำนักเยียวยา
ปลื้ม – นางแยนะ สะแลแม แกนนำสตรีเหยื่อเหตุการณ์ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ยังยิ้มอยู่ข้าง “บูหงาปืงันเต็น” หรือของกินของใช้ที่นำมาประดับตกแต่งลวดลายสวยงาม เพื่อใช้ประกอบในงานเลี้ยงแต่งงานลูกชายคนที่ 7 ในวันที่ 25 ตุลาคม 2553 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 6 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งนำมาสู่ความตายของชาวบ้าน 85 ศพ
วันนี้เป็นวันครบรอบ 6 ปีเหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์วิปโยคที่นำมาซึ่งความตายของประชาชนชายแดนใต้ถึง 85 คน เป็นเหตุการณ์ที่ถูกโจทย์จานถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งร้ายแรงที่สุด ครั้งหนึ่งของไทย
ด้วยเพราะมีถึง 78 คนที่ตายระหว่างถูกขนย้ายไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ด้วยรถยีเอ็มซีและรถบรรทุกในลักษณะที่ถูกบังคับให้นอนซ้อนทับกัน?สัมภาษณ์ “แยะนะ สะแลแม” แกนนำสตรีเหยื่อตากใบ ไม่ได้จัดงานรำลึก แต่จัดงานแต่งงานลูกชายตรงกับวันครบรอบ 6 ปี จากผู้สูญเสียสู่แกนนำนักเยียวยา
ปลื้ม – นางแยนะ สะแลแม แกนนำสตรีเหยื่อเหตุการณ์ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ยังยิ้มอยู่ข้าง “บูหงาปืงันเต็น” หรือของกินของใช้ที่นำมาประดับตกแต่งลวดลายสวยงาม เพื่อใช้ประกอบในงานเลี้ยงแต่งงานลูกชายคนที่ 7 ในวันที่ 25 ตุลาคม 2553 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 6 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งนำมาสู่ความตายของชาวบ้าน 85 ศพ
วันนี้เป็นวันครบรอบ 6 ปีเหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์วิปโยคที่นำมาซึ่งความตายของประชาชนชายแดนใต้ถึง 85 คน เป็นเหตุการณ์ที่ถูกโจทย์จานถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งร้ายแรงที่สุด ครั้งหนึ่งของไทย
ด้วยเพราะมีถึง 78 คนที่ตายระหว่างถูกขนย้ายไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ด้วยรถยีเอ็มซีและรถบรรทุกในลักษณะที่ถูกบังคับให้นอนซ้อนทับกัน?
เมื่อวานนี้ ที่บ้านไม้ริมนาท้ายหมู่บ้านจาเราะ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หญิงชรากับลูกหลานกำลังวุ่นอยู่กับการจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ต่างๆนานา พวกเขาไม่ได้เตรียมการจัดงานครบรอบปีที 6 ของเหตุการณ์ตากใบ แม้หญิงชราผู้นี้คือหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบโดยตรง
“กะแยนะ” หรือ นางแยนะ สะแลแม คือหญิงชราเจ้าของบ้านหลังนี้ เธอกำลังจะจัดงานแต่งงานลูกชายคนที่ 7 จากจำนวนลูก 8 คน แต่ไม่ใช่ลูกชายคนที่ตกเป็นจำเลยในคดีตากใบพร้อมกับชาวบ้านอีก 57 คน ก่อนที่จะถูกถอนฟ้องในเวลาต่อมา ซ้ำยังสูญเสียสามีในเหตุการณ์ไม่สงบตามมาด้วย“
ลืมไปว่าวันที่ 25 ตุลาคม ตรงกับวันครบรอบเหตุการณ์ตากใบ และไม่ได้ตั้งใจจัดงานแต่งงานลูกให้ตรงกับวันครบรอบเหตุการณ์ตากใบ เมื่อมีคนโทรศัพท์มาถามว่า ใกล้จะจะถึงวันที่ 25 ตุลาคม กะนะไม่ได้จัดงานระลึกตากใบหรือ จึงทำให้นึกขึ้นได้ แต่คนที่โทรศัพท์มาก็บอกว่าดีแล้ว จะได้จำเหตุการณ์ตากใบต่อไปได้” คือเสียงจากปากของกะแยนะ”
แม้ในวันนี้จะมีหลายองค์กรที่ร่วมกันจักงานเพื่อระลึกเหตุการณ์นี้อยู่ แต่ในส่วนของชาวบ้านหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้โดยตรง ก็ไม่มีใครจัดงานอะไรขึ้นมา ยกเว้น กะแยนะคนเดียว แต่ได้จัดงานไปแล้วตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2553 ที่ผ่านมา
“วันที่จัดงานรำลึกเหตุการณ์ตากใบที่ผ่านมา จัดในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม เพราะเหตุการณ์ตากใบ เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน ดังนั้นจึงต้องจัดงานรำลึกกันในเดือนรอมฎอน โดยเชิญแขกมาร่วมรับประทานอาหารละศีลอดร่วมกัน ที่โรงเรียนตาดีกา(โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม) ประจำหมู่บ้านจาเราะ”
กะแยนะ บอกว่า วันนั้น เชิญหลายคนมาร่วมงาน แต่ที่มาส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐกับองค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ) ส่วนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบไม่ได้มา เพราะส่วนใหญ่ยังหวาดกลัวอยู่ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังหวาดกลัว และไม่ค่อยอยากยุ่งกับทางการมากนัก อยากอยู่ทำงานตามปกติมากกว่า ความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็ปล่อยให้มันเงียบไป
ถึงแม้ในกลุ่มผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ตามปกติ ทั่วไป แต่สำหรับกะแยนะ สะแลแม เองไม่ได้วางตัวสงบนิ่งอยู่แต่ในหมู่บ้านอย่างคนทั่วไป แต่กลับพลิกบทบาทบทบาทตัวเองจากผู้ได้รับผลกระทบมาเป็นผู้เยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้คนอื่นๆ ด้วย โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการช่วยลูกชายตัวเอง จนนำมาสู่การตั้งกลุ่มเพื่อผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบ
คำว่า “ไม่มีกะแยนะ คนก็คงลืมเหตุการณ์ตากใบไปแล้ว” คงจริงอย่างที่นายทหารในพื้นที่ที่เคยเป็นไม้เบื่อเมากับกะแยนะมาก่อนเคยพูดไว้
กะแยนะเล่าถึงบทบาทตัวเองจากวันนั้นจนถึงวันนี้ว่า เริ่มต้นเป็นแกนนำช่วยเหลือชาวบ้านที่ตกเป็นจำเลยในคดีนี้ก่อน เนื่องจากลูกชายของตัวเองตกเป็นจำเลยด้วย ซึ่งตอนนั้นต้องขึ้นลงศาลจังหวัดนราธิวาสตลอด
เมื่อต้องไปศาลหลายครั้ง คนอื่นๆ ที่มีญาติเป็นจำเลยด้วย จึงขออาศัยกะแยนะไปด้วย มีการพึ่งพากัน จากนั้นพวกองค์กรต่างที่ทำงานช่วยเหลือเยียวยาก็เข้ามาช่วย เริ่มจาก กะยา(นางโซรยา จามจุรี วิชาการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี) แล้วก็มีเจ้าหน้าที่จากสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย(ยมท.) ตามด้วยทีมทนายความที่เข้ามาว่าความในคดีนี้
“ตอนนี้มาไม่รู้องค์กรไหนต่อองค์กรไหนแล้ว ที่กะแยนะได้ร่วมงานด้วย องค์กรไหนอยากรู้ข้อมูลอะไรก็โทรศัพท์มาถาม แรกๆ ก็ถามเรื่องเหตุการณ์ตากใบ นานๆไปก็ลามไปถึงเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อะไรที่กะนะตอบได้ก็ตอบ อะไรที่กะนะตอบไม่ได้ก็ไม่ตอบ หรือให้ช่วยประสานงานให้ก็มี”
กิจกรรมที่เข้าร่วมกับองค์กรต่างๆ ส่วนมากคือการเข้าอบรม ซึ่งทำให้ได้ความรู้มาก มีความเข้าใจในหลายๆ เรื่องมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างกลุ่มคนที่ทำงานเยียว กลุ่มคนได้รับผลกระทบ และกลุ่มอื่นๆ ด้วย
ถึงตอนนี้กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบที่กะแยนะได้ช่วยเหลือมีหลายหลายรูปแบบ ทั้งญาติเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และพวกที่ถูกควบคุมตัวหรือถูกจับกุมดำเนินคดี ซึ่งมีวิธีช่วยเหลือเยียวยาที่แตกต่างกันไป
“ถ้าเป็นพวกที่ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ(พระราชกำหนดการบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ.2548) กะนะจะพยายามหาทางช่วยให้เขาได้กลับไปอยู่บ้านตามปกติ อาจไปพูดคุยหารือกับทหารหรือเจ้าหน้าที่เพื่อจะให้คนที่ถูกหมายควบคุมตัวออก มาแสดงตัวแล้วก็ปล่อยกลับบ้าน”
“การที่เราเข้าไปช่วยตรงนั้น ก็ทำให้เราได้รับความรู้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเรื่องมากขึ้น ยิ่งทำให้มองเห็นทางที่จะช่วยเหลือคนอื่นมากขึ้นด้วย”
หลังจากที่ได้ช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบกรณีตากใบ ได้ไปร่วมกิจกรรมในที่ต่างๆ ทำให้ได้รับรางวัลมาด้วย เริ่มจากปี 2550 กะนะได้รับรางวัลผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากนั้นปี 2552 ได้รับรางวัลพลเมืองคนกล้า ซึ่งมาจากการคัดเลือกของสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามัน มูลนิธิเอเชีย เครือข่ายจิตอาสา และทีวีไทย ทีวีสาธารณะ และได้รับรางวัลจากรายการคนค้นคน
ในปี 2553 นี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ได้เดินทางไปร่วมงานของสหภาพยุโรปที่ประเทศไอร์แลนด์ จากนั้นในเดือนพฤษภาคมองค์กรพัฒนาเอกชนของประเทศเกาหลีใต้ เป็นตัวแทนจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปร่วมเรียนรู้เรื่องความขัดแย้งที่เมืองกวาง จู ประเทศเกาหลีใต้
“ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้อยู่บ้านมากนัก เพราะมีองค์กรต่างๆ เชิญเข้าร่วมงานตลอด ส่วนใหญ่จะไปคนเดียว ยกเว้นถ้าเขาต้องการให้พาคนในกลุ่มไปด้วย แต่คนอื่นไม่ค่อยอยากไป แต่เราไปได้ เพราะเราไม่ได้ทำงานอะไรแล้ว เป็นการเรียนรู้ไปด้วย ถ้าอยู่บ้าน เราก็ไม่ได้เรียนรู้”
กะแยนะ พูดถึงแนวคิดในการเยียวยาของตัวเองด้วยว่า “กะนะพยายามให้ผู้ได้รับผลกระทบรู้สึกว่า ตัวเองไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบ เหมือนที่กะนะเองไม่ได้รู้สึก และเราจะไม่แสดงให้เขาเห็นว่า เราคือผู้ได้รับผลกระทบ เราพยายามพูดให้เขาเข้าใจว่า เมื่อถึงเวลาความสูญเสียมันก็ต้องเกิดขึ้น”
“เมื่อได้พูดไปอย่างนั้นแล้ว ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เราพยายามให้คิดถึงพระเจ้าอย่างเดียว ให้เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว พระเจ้าทำให้ตายเมื่อถึงเวลา อยากให้เขาคิดอย่างนั้นอย่างเดียว เมื่อเขาคิดอย่างนั้นได้ ความเครียดก็ทุเลาลง”
ตอนนี้ไม่ใช่แค่เยียวยาผู้ที่สูญเสียญาติเท่านั้น กรณีถูกจับกุมและควบคุมตัว กะแยนะก็ได้เข้าไปช่วยเหลือด้วย ซึ่งกะแยนะบอกว่า “เพราะบางคนที่รู้จะไปพึ่งใคร จะพึ่งองค์กรที่มาช่วยก็ไม่รู้จัก แต่เขารู้จักกะนะ เขาก็มาขอช่วยกะนะ บางคนไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย แต่มีคนโทรศัพท์มาหาทุกวัน เหมือนมาร้องเรียนยังไงยังงั้น”
“ไม่ใช่ว่าเราช่วยเหลือเขาได้ แต่เราช่วยประสานให้ได้ บางทีก็ประสานไปยังมูลนิธิผสานวัฒนธรรม หรือประสานกับคุณอังคณา นีละไพจิตร หัวหน้าคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ หรือไม่ก็ประสานกับกะยาให้ช่วยเหลื่อเขาหน่อย แล้วแต่สถานการณ์”
บางครั้งก็ประสานกับทหาร ทั้งทหารในหน่วยในพื้นที่หรือประสานไปถึงระดับผู้คับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วย ทหาร ซึ่งเป็นการประสานไปพร้อมกับเสนอความต้องการขอตัวเองไปด้วยว่า “อยากให้ทหารกลับเข้าไปอยู่ในหน่วย ไม่ต้องเข้ามาตั้งฐานในหมู่บ้าน เพราะนั่นจะทำให้คนร้าย เห็นว่าทหารที่มาอยู่ในหมู่บ้านเป็นศัตรู” ซึ่งนั่นจะทำให้ความเกิดยุ่งยากลำบากกับชาวบ้านตามมาอีกก็เป็นได้
ที่มา http://prachatai.com/journal/2010/10/31613
เมื่อวานนี้ ที่บ้านไม้ริมนาท้ายหมู่บ้านจาเราะ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หญิงชรากับลูกหลานกำลังวุ่นอยู่กับการจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ต่างๆนานา พวกเขาไม่ได้เตรียมการจัดงานครบรอบปีที 6 ของเหตุการณ์ตากใบ แม้หญิงชราผู้นี้คือหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบโดยตรง
“กะแยนะ” หรือ นางแยนะ สะแลแม คือหญิงชราเจ้าของบ้านหลังนี้ เธอกำลังจะจัดงานแต่งงานลูกชายคนที่ 7 จากจำนวนลูก 8 คน แต่ไม่ใช่ลูกชายคนที่ตกเป็นจำเลยในคดีตากใบพร้อมกับชาวบ้านอีก 57 คน ก่อนที่จะถูกถอนฟ้องในเวลาต่อมา ซ้ำยังสูญเสียสามีในเหตุการณ์ไม่สงบตามมาด้วย
“ลืมไปว่าวันที่ 25 ตุลาคม ตรงกับวันครบรอบเหตุการณ์ตากใบ และไม่ได้ตั้งใจจัดงานแต่งงานลูกให้ตรงกับวันครบรอบเหตุการณ์ตากใบ เมื่อมีคนโทรศัพท์มาถามว่า ใกล้จะจะถึงวันที่ 25 ตุลาคม กะนะไม่ได้จัดงานระลึกตากใบหรือ จึงทำให้นึกขึ้นได้ แต่คนที่โทรศัพท์มาก็บอกว่าดีแล้ว จะได้จำเหตุการณ์ตากใบต่อไปได้” คือเสียงจากปากของกะแยนะ”
แม้ในวันนี้จะมีหลายองค์กรที่ร่วมกันจักงานเพื่อระลึกเหตุการณ์นี้อยู่ แต่ในส่วนของชาวบ้านหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้โดยตรง ก็ไม่มีใครจัดงานอะไรขึ้นมา ยกเว้น กะแยนะคนเดียว แต่ได้จัดงานไปแล้วตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2553 ที่ผ่านมา
“วันที่จัดงานรำลึกเหตุการณ์ตากใบที่ผ่านมา จัดในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม เพราะเหตุการณ์ตากใบ เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน ดังนั้นจึงต้องจัดงานรำลึกกันในเดือนรอมฎอน โดยเชิญแขกมาร่วมรับประทานอาหารละศีลอดร่วมกัน ที่โรงเรียนตาดีกา(โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม) ประจำหมู่บ้านจาเราะ”
กะแยนะ บอกว่า วันนั้น เชิญหลายคนมาร่วมงาน แต่ที่มาส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐกับองค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ) ส่วนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบไม่ได้มา เพราะส่วนใหญ่ยังหวาดกลัวอยู่ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังหวาดกลัว และไม่ค่อยอยากยุ่งกับทางการมากนัก อยากอยู่ทำงานตามปกติมากกว่า ความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็ปล่อยให้มันเงียบไป
ถึงแม้ในกลุ่มผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ตามปกติ ทั่วไป แต่สำหรับกะแยนะ สะแลแม เองไม่ได้วางตัวสงบนิ่งอยู่แต่ในหมู่บ้านอย่างคนทั่วไป แต่กลับพลิกบทบาทบทบาทตัวเองจากผู้ได้รับผลกระทบมาเป็นผู้เยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้คนอื่นๆ ด้วย โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการช่วยลูกชายตัวเอง จนนำมาสู่การตั้งกลุ่มเพื่อผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบ
คำว่า “ไม่มีกะแยนะ คนก็คงลืมเหตุการณ์ตากใบไปแล้ว” คงจริงอย่างที่นายทหารในพื้นที่ที่เคยเป็นไม้เบื่อเมากับกะแยนะมาก่อนเคยพูดไว้
กะแยนะเล่าถึงบทบาทตัวเองจากวันนั้นจนถึงวันนี้ว่า เริ่มต้นเป็นแกนนำช่วยเหลือชาวบ้านที่ตกเป็นจำเลยในคดีนี้ก่อน เนื่องจากลูกชายของตัวเองตกเป็นจำเลยด้วย ซึ่งตอนนั้นต้องขึ้นลงศาลจังหวัดนราธิวาสตลอด
เมื่อต้องไปศาลหลายครั้ง คนอื่นๆ ที่มีญาติเป็นจำเลยด้วย จึงขออาศัยกะแยนะไปด้วย มีการพึ่งพากัน จากนั้นพวกองค์กรต่างที่ทำงานช่วยเหลือเยียวยาก็เข้ามาช่วย เริ่มจาก กะยา(นางโซรยา จามจุรี วิชาการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี) แล้วก็มีเจ้าหน้าที่จากสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย(ยมท.) ตามด้วยทีมทนายความที่เข้ามาว่าความในคดีนี้
“ตอนนี้มาไม่รู้องค์กรไหนต่อองค์กรไหนแล้ว ที่กะแยนะได้ร่วมงานด้วย องค์กรไหนอยากรู้ข้อมูลอะไรก็โทรศัพท์มาถาม แรกๆ ก็ถามเรื่องเหตุการณ์ตากใบ นานๆไปก็ลามไปถึงเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อะไรที่กะนะตอบได้ก็ตอบ อะไรที่กะนะตอบไม่ได้ก็ไม่ตอบ หรือให้ช่วยประสานงานให้ก็มี”
กิจกรรมที่เข้าร่วมกับองค์กรต่างๆ ส่วนมากคือการเข้าอบรม ซึ่งทำให้ได้ความรู้มาก มีความเข้าใจในหลายๆ เรื่องมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างกลุ่มคนที่ทำงานเยียว กลุ่มคนได้รับผลกระทบ และกลุ่มอื่นๆ ด้วย
ถึงตอนนี้กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบที่กะแยนะได้ช่วยเหลือมีหลายหลายรูปแบบ ทั้งญาติเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และพวกที่ถูกควบคุมตัวหรือถูกจับกุมดำเนินคดี ซึ่งมีวิธีช่วยเหลือเยียวยาที่แตกต่างกันไป
“ถ้าเป็นพวกที่ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ(พระราชกำหนดการบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ.2548) กะนะจะพยายามหาทางช่วยให้เขาได้กลับไปอยู่บ้านตามปกติ อาจไปพูดคุยหารือกับทหารหรือเจ้าหน้าที่เพื่อจะให้คนที่ถูกหมายควบคุมตัวออก มาแสดงตัวแล้วก็ปล่อยกลับบ้าน”
“การที่เราเข้าไปช่วยตรงนั้น ก็ทำให้เราได้รับความรู้มากขึ้น ทำให้เข้าใจเรื่องมากขึ้น ยิ่งทำให้มองเห็นทางที่จะช่วยเหลือคนอื่นมากขึ้นด้วย”
หลังจากที่ได้ช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบกรณีตากใบ ได้ไปร่วมกิจกรรมในที่ต่างๆ ทำให้ได้รับรางวัลมาด้วย เริ่มจากปี 2550 กะนะได้รับรางวัลผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากนั้นปี 2552 ได้รับรางวัลพลเมืองคนกล้า ซึ่งมาจากการคัดเลือกของสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามัน มูลนิธิเอเชีย เครือข่ายจิตอาสา และทีวีไทย ทีวีสาธารณะ และได้รับรางวัลจากรายการคนค้นคน
ในปี 2553 นี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ได้เดินทางไปร่วมงานของสหภาพยุโรปที่ประเทศไอร์แลนด์ จากนั้นในเดือนพฤษภาคมองค์กรพัฒนาเอกชนของประเทศเกาหลีใต้ เป็นตัวแทนจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปร่วมเรียนรู้เรื่องความขัดแย้งที่เมืองกวาง จู ประเทศเกาหลีใต้
“ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้อยู่บ้านมากนัก เพราะมีองค์กรต่างๆ เชิญเข้าร่วมงานตลอด ส่วนใหญ่จะไปคนเดียว ยกเว้นถ้าเขาต้องการให้พาคนในกลุ่มไปด้วย แต่คนอื่นไม่ค่อยอยากไป แต่เราไปได้ เพราะเราไม่ได้ทำงานอะไรแล้ว เป็นการเรียนรู้ไปด้วย ถ้าอยู่บ้าน เราก็ไม่ได้เรียนรู้”
กะแยนะ พูดถึงแนวคิดในการเยียวยาของตัวเองด้วยว่า “กะนะพยายามให้ผู้ได้รับผลกระทบรู้สึกว่า ตัวเองไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบ เหมือนที่กะนะเองไม่ได้รู้สึก และเราจะไม่แสดงให้เขาเห็นว่า เราคือผู้ได้รับผลกระทบ เราพยายามพูดให้เขาเข้าใจว่า เมื่อถึงเวลาความสูญเสียมันก็ต้องเกิดขึ้น”
“เมื่อได้พูดไปอย่างนั้นแล้ว ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เราพยายามให้คิดถึงพระเจ้าอย่างเดียว ให้เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว พระเจ้าทำให้ตายเมื่อถึงเวลา อยากให้เขาคิดอย่างนั้นอย่างเดียว เมื่อเขาคิดอย่างนั้นได้ ความเครียดก็ทุเลาลง”
ตอนนี้ไม่ใช่แค่เยียวยาผู้ที่สูญเสียญาติเท่านั้น กรณีถูกจับกุมและควบคุมตัว กะแยนะก็ได้เข้าไปช่วยเหลือด้วย ซึ่งกะแยนะบอกว่า “เพราะบางคนที่รู้จะไปพึ่งใคร จะพึ่งองค์กรที่มาช่วยก็ไม่รู้จัก แต่เขารู้จักกะนะ เขาก็มาขอช่วยกะนะ บางคนไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย แต่มีคนโทรศัพท์มาหาทุกวัน เหมือนมาร้องเรียนยังไงยังงั้น”
“ไม่ใช่ว่าเราช่วยเหลือเขาได้ แต่เราช่วยประสานให้ได้ บางทีก็ประสานไปยังมูลนิธิผสานวัฒนธรรม หรือประสานกับคุณอังคณา นีละไพจิตร หัวหน้าคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ หรือไม่ก็ประสานกับกะยาให้ช่วยเหลื่อเขาหน่อย แล้วแต่สถานการณ์”
บางครั้งก็ประสานกับทหาร ทั้งทหารในหน่วยในพื้นที่หรือประสานไปถึงระดับผู้คับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วย ทหาร ซึ่งเป็นการประสานไปพร้อมกับเสนอความต้องการขอตัวเองไปด้วยว่า “อยากให้ทหารกลับเข้าไปอยู่ในหน่วย ไม่ต้องเข้ามาตั้งฐานในหมู่บ้าน เพราะนั่นจะทำให้คนร้าย เห็นว่าทหารที่มาอยู่ในหมู่บ้านเป็นศัตรู” ซึ่งนั่นจะทำให้ความเกิดยุ่งยากลำบากกับชาวบ้านตามมาอีกก็เป็นได้
ที่มา http://prachatai.com/journal/2010/10/31613