“รับฟังเสียงที่แตกต่าง-พาคนกลับบ้าน” วิสัยทัศน์ดับไฟใต้ของแม่ทัพภาค 4 คนใหม่“รับฟังเสียงที่แตกต่าง-พาคนกลับบ้าน” วิสัยทัศน์ดับไฟใต้ของแม่ทัพภาค 4 คนใหม่

วันพุธที่ 13 ตุลาคม 2010 เวลา 02:33 น. ปกรณ์ พึ่งเนตร

เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ที่มาแบบ “เงียบๆ” สำหรับ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ และแม้เจ้าตัวจะรับมอบหน้าที่และเริ่มงานอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ก็ยังแทบไม่มี “เสียง” จาก พล.ท.อุดมชัย ปรากฏผ่านสื่อ โดยเฉพาะนโยบาย “ดับไฟใต้” ที่เป็นภารกิจอันหนักอึ้งของแม่ทัพภาคที่ 4 ทุกคนในระยะหลัง
เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ผู้นำศาสนา ผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคประชาชนในพื้นที่จำนวน 71 กลุ่ม ได้พร้อมใจกันเข้าพบและอวยพร พล.ท.อุดมชัย ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โอกาสนี้ พล.ท.อุดมชัย ได้กล่าวสุนทรพจน์ซึ่งเป็นดั่งการประกาศนโยบายและสัญญาประชาคมเกี่ยวกับ “ทิศทางดับไฟใต้” ต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการครั้งแรก “ทีมข่าวอิศรา” เห็นว่ามีหลายประเด็นน่าสนใจ จึงนำมาบันทึกไว้อย่างละเอียดดังนี้
วงจรความไม่สงบ
ประเด็นแรกที่แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ให้ความสำคัญ คือการมองปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นมีรากฐานสำคัญมาจากความแตกต่าง ต้องยอมรับว่าพื้นที่นี้มีความแตกต่าง เมื่อมีความแตกต่างแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือความไม่เข้าใจ นำมาสู่การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งได้เกิดเป็นความรุนแรงขึ้น กระทั่งเป็นวงจรของความไม่สงบ
“เมื่อเราอยู่ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน ถ้าอยู่กันด้วยความไม่เข้าใจก็จะเกิดปัญหา เมื่อเกิดปัญหาก็จะเกิดการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง บางครั้งก็เกิดเป็นความรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดความรุนแรงจึงเกิดวงจรของความไม่สงบ สุดท้ายแล้วกลายเป็นปัญหาของสังคม เมื่อเป็นปัญหาของสังคม ก็เลยทำให้มีปัญหาสลับซับซ้อนมากขึ้น และมีปัญหาแทรกซ้อนตามมา ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด ผู้แสวงประโยชน์ และสุดท้ายได้เกิดผลกระทบที่สำคัญคือกระทบกับผู้บริสุทธิ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง”

รับฟัง “เสียงที่แตกต่าง”
พล.ท.อุดมชัย กล่าวต่อว่า ตั้งแต่จบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเป็นต้นมา เขารับราชการในพื้นที่ภาคใต้มาตลอดกว่า 30 ปี ได้ติดตามสถานการณ์มาตั้งแต่เกิดเหตุปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2547 และได้ใช้เวลาในการศึกษา เรียนรู้ พูดคุย รวมทั้งทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
“ผมได้รับรู้และสัมผัสกับความรู้สึกของพี่น้องประชาชน ได้รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งผมก็ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างนั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อผมเข้ามารับหน้าที่แก้ไขปัญหา ผมจะเปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างได้แสดงความคิดเห็น เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา แต่สิ่งที่ผมยอมรับไม่ได้ก็คือชีวิตของผู้บริสุทธิ์ที่ต้องได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไข สิ่งสำคัญก็คือความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่จะมาร่วมกันคลี่คลายสถานการณ์”
แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ขยายความต่อว่า คำว่า “ทุกภาคส่วน” ที่พูดถึงนี้ หมายรวมถึงผู้ที่เห็นแตกต่างและมีความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งการจะแก้ปัญหาและนำความสงบสุขมาสู่ประชาชนได้อย่างถาวร ต้องแสวงหาความร่วมมือจาก “ทุกภาคส่วน” อย่างแท้จริง
“30 กว่าปีที่ผมอยู่ในพื้นที่มา ผมได้รับรู้และสัมผัสได้กับความรู้สึกของพี่น้องประชาชน รวมทั้งได้รับฟังคนที่มีความเห็นแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมจะดำเนินการก็คือ ยอมรับความแตกต่าง และเปิดโอกาสให้คนที่มีความคิดเห็นแตกต่างได้มาร่วมในการแก้ไขปัญหา” พล.ท.อุดมชัย ย้ำ

สานใจสู่สันติ
แม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งต้องควบตำแหน่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (ผอ.รมน.ภาค 4) ด้วย กล่าวอีกว่า นโยบายดับไฟใต้ที่จะดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรม ก็คือ “นโยบายสานใจสู่สันติ” หมายถึงการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องใช้จิตใจและความรู้สึกมาช่วยกันจัดการ การร่วมใจและสานใจให้ผูกพัน สานสอดคล้องเป็นพวกพ้องน้องพี่กัน คือแนวทางที่ดีที่สุดที่จะนำความสงบสุขกลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชน
“แนวคิดพื้นฐานคือต้องเข้าใจก่อนว่าทุกคนคือคนไทย มีสิทธิและจะต้องได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ต้องยอมรับและรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง คนที่ก่อเหตุรุนแรงไม่ใช่อาชญากรโดยพื้นฐาน เพียงแต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และได้รับการปลูกฝังชี้แนะในแนวทางที่แตกต่างกันเท่านั้น ฉะนั้นการจะแก้ไขปัญหาได้ต้องยุติเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุของการก่อความไม่สงบให้ได้เสียก่อน ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความสำเร็จ”
ชูนโยบาย 206/2549
สำหรับกรอบนโยบายที่จะนำมาใช้ “สานใจสู่สันติ” ได้แก่ การน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นการสานต่อนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก และอดีตแม่ทัพ (พล.อ.พิเชษฐ์ วิสัยจร ผู้ช่วย ผบ.ทบ.) ที่ดำเนินการมา

อีกประการหนึ่งคือจะยึดถือคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2549 ซึ่งหมายถึงนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ออกมาในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มาเป็นตัวกำหนดทิศทางในการแก้ไขปัญหา
“ในวันที่ 16 ต.ค.นี้ จะมีการเชิญท่านเลขาธิการ สมช. (นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ) มาช่วยชี้แจงนโยบาย 206 เพื่อให้เข้าใจกรอบแนวทางในการทำให้พื้นที่มีความสงบสุข มีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และมีการกำหนดแนวปฏิบัติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ เพื่อให้ทุกหน่วยมีทิศทางการทำงานมุ่งสู่สิ่งเดียวกัน โดยหัวใจสำคัญคือการบูรณาการและเอกภาพในการปฏิบัติ”
ทำพื้นที่ให้ปลอดภัย-พาคนกลับบ้าน
สำหรับนโยบายเฉพาะที่จะดำเนินการ พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า ประการแรก คือต้องทำให้พื้นที่มีสภาพแวดล้อมของความปลอดภัย ซึ่งเรื่องนี้ทุกส่วนต้องร่วมกันดำเนินการ โดยเฉพาะภาคประชาชน จึงจะมีความสงบปลอดภัยอย่างยั่งยืน สิ่งที่มุ่งหวังในนโยบายเฉพาะข้อนี้ก็คือ การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ต้องมีการพูดคุยกัน และผู้ที่มีความเห็นต่างจะต้องสามารถเสนอแนวทางได้ เพื่อขจัดเงื่อนไขและสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สงบ
ประการที่สอง คือการอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ไม่ว่าจะในมิติใดก็ตาม ได้เดินทางกลับคืนสู่ภูมิลำเนา
“ประเด็นนี้คือหัวใจของนโยบายเฉพาะหน้า คือเอาคนกลับบ้าน หมายถึงทั้งคนที่ก่อเหตุ คนที่อพยพออกนอกพื้นที่ ทั้งพี่น้องไทยพุทธและมุสลิม เราต้องเอาคนเหล่านี้กลับบ้าน มาอยู่กับครอบครัว มีความสุขกับครอบครัว โดยเฉพาะคนที่หลบหนีไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแนวทางที่จะนำมาใช้ก็คือเปิดให้คนที่มีความเห็นแตกต่างได้มาร่วมกันแก้ปัญหา”
ประการที่สาม คือฟื้นฟูและส่งเสริมวิถีชีวิตตามหลักคุณธรรมอันดีงามของสังคม เพราะเห็นว่าปัญหาสังคมที่มองเห็นเด่นชัดในพื้นที่ขณะนี้คือ การที่มีแหล่งหรือกิจกรรมบันเทิงต่างๆ อยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น คาราโอเกะไปตั้งอยู่ใกล้ๆ มัสยิดหรือโรงเรียน เรื่องเหล่านี้สังคมจะต้องมาช่วยกันคิด ต้องร่วมกันหารือว่าจะช่วยกันจัดการพื้นที่อย่างไรเพื่อไม่ให้กระทบกับศีลธรรมอันดีงาม
ประการที่สี่ คือการสนับสนุนภาคประชาชนและภาคประชาสังคมให้ร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า และการทำให้ประชาชนได้ทำมาหากินโดยสุจริต มีที่ดินทำกินอย่างถูกต้อง
ประการสุดท้าย คือเรื่องการรณงค์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งจะต้องผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพราะปัญหายาเสพติดกำลังเป็นปัญหาที่หนักมากในพื้นที่ขณะนี้

ต้องชนะใจประชาชน
ส่วนนโยบายด้านการทหาร ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่านโยบายด้านอื่นๆ ในพื้นที่ที่มีปัญหาความไม่สงบเช่นนี้ พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องยึดแนวทาง “การเมืองนำการทหาร” อย่างเคร่งครัด การปฏิบัติการใดๆ จะต้องได้รับการยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องประชาชน สิ่งใดที่ทำให้พี่น้องประชาชนไม่ยอมรับ หรือทำแล้วเกิดผลเสีย ก็จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
“แนวทางทางการทหารคือ ทำเพื่อชนะจิตใจของประชาชน” พล.ท.อุดมชัย ย้ำทิ้งท้าย
และทั้งหมดนี้คือสัญญาประชาคมที่แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่มอบไว้ต่อสาธารณชน ส่วนผลจะเป็นอย่างไร…เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์!
————————————————————————————
บรรยายภาพ : พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์
ขอบคุณ : ภาพจากศูนย์ภาพเนชั่น
หมายเหตุ : ภาพผ่านการตกแต่งโดยฝ่ายศิลป์ โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา

ที่มา http://www.south.isranews.org/index.php?option=com_content&view=article&id=564:q-q–4-&catid=10:2009-11-15-11-15-01&Itemid=19วันพุธที่ 13 ตุลาคม 2010 เวลา 02:33 น. ปกรณ์ พึ่งเนตร

เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ที่มาแบบ “เงียบๆ” สำหรับ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ และแม้เจ้าตัวจะรับมอบหน้าที่และเริ่มงานอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ก็ยังแทบไม่มี “เสียง” จาก พล.ท.อุดมชัย ปรากฏผ่านสื่อ โดยเฉพาะนโยบาย “ดับไฟใต้” ที่เป็นภารกิจอันหนักอึ้งของแม่ทัพภาคที่ 4 ทุกคนในระยะหลัง
เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ผู้นำศาสนา ผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคประชาชนในพื้นที่จำนวน 71 กลุ่ม ได้พร้อมใจกันเข้าพบและอวยพร พล.ท.อุดมชัย ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โอกาสนี้ พล.ท.อุดมชัย ได้กล่าวสุนทรพจน์ซึ่งเป็นดั่งการประกาศนโยบายและสัญญาประชาคมเกี่ยวกับ “ทิศทางดับไฟใต้” ต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการครั้งแรก “ทีมข่าวอิศรา” เห็นว่ามีหลายประเด็นน่าสนใจ จึงนำมาบันทึกไว้อย่างละเอียดดังนี้
วงจรความไม่สงบ
ประเด็นแรกที่แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ให้ความสำคัญ คือการมองปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นมีรากฐานสำคัญมาจากความแตกต่าง ต้องยอมรับว่าพื้นที่นี้มีความแตกต่าง เมื่อมีความแตกต่างแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือความไม่เข้าใจ นำมาสู่การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งได้เกิดเป็นความรุนแรงขึ้น กระทั่งเป็นวงจรของความไม่สงบ
“เมื่อเราอยู่ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน ถ้าอยู่กันด้วยความไม่เข้าใจก็จะเกิดปัญหา เมื่อเกิดปัญหาก็จะเกิดการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง บางครั้งก็เกิดเป็นความรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดความรุนแรงจึงเกิดวงจรของความไม่สงบ สุดท้ายแล้วกลายเป็นปัญหาของสังคม เมื่อเป็นปัญหาของสังคม ก็เลยทำให้มีปัญหาสลับซับซ้อนมากขึ้น และมีปัญหาแทรกซ้อนตามมา ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด ผู้แสวงประโยชน์ และสุดท้ายได้เกิดผลกระทบที่สำคัญคือกระทบกับผู้บริสุทธิ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง”

รับฟัง “เสียงที่แตกต่าง”
พล.ท.อุดมชัย กล่าวต่อว่า ตั้งแต่จบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเป็นต้นมา เขารับราชการในพื้นที่ภาคใต้มาตลอดกว่า 30 ปี ได้ติดตามสถานการณ์มาตั้งแต่เกิดเหตุปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2547 และได้ใช้เวลาในการศึกษา เรียนรู้ พูดคุย รวมทั้งทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
“ผมได้รับรู้และสัมผัสกับความรู้สึกของพี่น้องประชาชน ได้รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งผมก็ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างนั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อผมเข้ามารับหน้าที่แก้ไขปัญหา ผมจะเปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างได้แสดงความคิดเห็น เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา แต่สิ่งที่ผมยอมรับไม่ได้ก็คือชีวิตของผู้บริสุทธิ์ที่ต้องได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไข สิ่งสำคัญก็คือความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่จะมาร่วมกันคลี่คลายสถานการณ์”
แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ขยายความต่อว่า คำว่า “ทุกภาคส่วน” ที่พูดถึงนี้ หมายรวมถึงผู้ที่เห็นแตกต่างและมีความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งการจะแก้ปัญหาและนำความสงบสุขมาสู่ประชาชนได้อย่างถาวร ต้องแสวงหาความร่วมมือจาก “ทุกภาคส่วน” อย่างแท้จริง
“30 กว่าปีที่ผมอยู่ในพื้นที่มา ผมได้รับรู้และสัมผัสได้กับความรู้สึกของพี่น้องประชาชน รวมทั้งได้รับฟังคนที่มีความเห็นแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมจะดำเนินการก็คือ ยอมรับความแตกต่าง และเปิดโอกาสให้คนที่มีความคิดเห็นแตกต่างได้มาร่วมในการแก้ไขปัญหา” พล.ท.อุดมชัย ย้ำ

สานใจสู่สันติ
แม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งต้องควบตำแหน่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (ผอ.รมน.ภาค 4) ด้วย กล่าวอีกว่า นโยบายดับไฟใต้ที่จะดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรม ก็คือ “นโยบายสานใจสู่สันติ” หมายถึงการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องใช้จิตใจและความรู้สึกมาช่วยกันจัดการ การร่วมใจและสานใจให้ผูกพัน สานสอดคล้องเป็นพวกพ้องน้องพี่กัน คือแนวทางที่ดีที่สุดที่จะนำความสงบสุขกลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชน
“แนวคิดพื้นฐานคือต้องเข้าใจก่อนว่าทุกคนคือคนไทย มีสิทธิและจะต้องได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ต้องยอมรับและรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง คนที่ก่อเหตุรุนแรงไม่ใช่อาชญากรโดยพื้นฐาน เพียงแต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และได้รับการปลูกฝังชี้แนะในแนวทางที่แตกต่างกันเท่านั้น ฉะนั้นการจะแก้ไขปัญหาได้ต้องยุติเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุของการก่อความไม่สงบให้ได้เสียก่อน ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความสำเร็จ”
ชูนโยบาย 206/2549
สำหรับกรอบนโยบายที่จะนำมาใช้ “สานใจสู่สันติ” ได้แก่ การน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นการสานต่อนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก และอดีตแม่ทัพ (พล.อ.พิเชษฐ์ วิสัยจร ผู้ช่วย ผบ.ทบ.) ที่ดำเนินการมา

อีกประการหนึ่งคือจะยึดถือคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2549 ซึ่งหมายถึงนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ออกมาในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มาเป็นตัวกำหนดทิศทางในการแก้ไขปัญหา
“ในวันที่ 16 ต.ค.นี้ จะมีการเชิญท่านเลขาธิการ สมช. (นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ) มาช่วยชี้แจงนโยบาย 206 เพื่อให้เข้าใจกรอบแนวทางในการทำให้พื้นที่มีความสงบสุข มีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และมีการกำหนดแนวปฏิบัติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ เพื่อให้ทุกหน่วยมีทิศทางการทำงานมุ่งสู่สิ่งเดียวกัน โดยหัวใจสำคัญคือการบูรณาการและเอกภาพในการปฏิบัติ”
ทำพื้นที่ให้ปลอดภัย-พาคนกลับบ้าน
สำหรับนโยบายเฉพาะที่จะดำเนินการ พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า ประการแรก คือต้องทำให้พื้นที่มีสภาพแวดล้อมของความปลอดภัย ซึ่งเรื่องนี้ทุกส่วนต้องร่วมกันดำเนินการ โดยเฉพาะภาคประชาชน จึงจะมีความสงบปลอดภัยอย่างยั่งยืน สิ่งที่มุ่งหวังในนโยบายเฉพาะข้อนี้ก็คือ การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ต้องมีการพูดคุยกัน และผู้ที่มีความเห็นต่างจะต้องสามารถเสนอแนวทางได้ เพื่อขจัดเงื่อนไขและสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สงบ
ประการที่สอง คือการอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ไม่ว่าจะในมิติใดก็ตาม ได้เดินทางกลับคืนสู่ภูมิลำเนา
“ประเด็นนี้คือหัวใจของนโยบายเฉพาะหน้า คือเอาคนกลับบ้าน หมายถึงทั้งคนที่ก่อเหตุ คนที่อพยพออกนอกพื้นที่ ทั้งพี่น้องไทยพุทธและมุสลิม เราต้องเอาคนเหล่านี้กลับบ้าน มาอยู่กับครอบครัว มีความสุขกับครอบครัว โดยเฉพาะคนที่หลบหนีไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแนวทางที่จะนำมาใช้ก็คือเปิดให้คนที่มีความเห็นแตกต่างได้มาร่วมกันแก้ปัญหา”
ประการที่สาม คือฟื้นฟูและส่งเสริมวิถีชีวิตตามหลักคุณธรรมอันดีงามของสังคม เพราะเห็นว่าปัญหาสังคมที่มองเห็นเด่นชัดในพื้นที่ขณะนี้คือ การที่มีแหล่งหรือกิจกรรมบันเทิงต่างๆ อยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น คาราโอเกะไปตั้งอยู่ใกล้ๆ มัสยิดหรือโรงเรียน เรื่องเหล่านี้สังคมจะต้องมาช่วยกันคิด ต้องร่วมกันหารือว่าจะช่วยกันจัดการพื้นที่อย่างไรเพื่อไม่ให้กระทบกับศีลธรรมอันดีงาม
ประการที่สี่ คือการสนับสนุนภาคประชาชนและภาคประชาสังคมให้ร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า และการทำให้ประชาชนได้ทำมาหากินโดยสุจริต มีที่ดินทำกินอย่างถูกต้อง
ประการสุดท้าย คือเรื่องการรณงค์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งจะต้องผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพราะปัญหายาเสพติดกำลังเป็นปัญหาที่หนักมากในพื้นที่ขณะนี้

ต้องชนะใจประชาชน
ส่วนนโยบายด้านการทหาร ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่านโยบายด้านอื่นๆ ในพื้นที่ที่มีปัญหาความไม่สงบเช่นนี้ พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องยึดแนวทาง “การเมืองนำการทหาร” อย่างเคร่งครัด การปฏิบัติการใดๆ จะต้องได้รับการยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องประชาชน สิ่งใดที่ทำให้พี่น้องประชาชนไม่ยอมรับ หรือทำแล้วเกิดผลเสีย ก็จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
“แนวทางทางการทหารคือ ทำเพื่อชนะจิตใจของประชาชน” พล.ท.อุดมชัย ย้ำทิ้งท้าย
และทั้งหมดนี้คือสัญญาประชาคมที่แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่มอบไว้ต่อสาธารณชน ส่วนผลจะเป็นอย่างไร…เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์!
————————————————————————————
บรรยายภาพ : พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์
ขอบคุณ : ภาพจากศูนย์ภาพเนชั่น
หมายเหตุ : ภาพผ่านการตกแต่งโดยฝ่ายศิลป์ โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา

ที่มา http://www.south.isranews.org/index.php?option=com_content&view=article&id=564:q-q–4-&catid=10:2009-11-15-11-15-01&Itemid=19