ศุกร์เสวนาครั้งที่ 14 : เรื่องรอมฎอนเดือนแห่งสันติศุกร์เสวนาครั้งที่ 14 : เรื่องรอมฎอนเดือนแห่งสันติ
Category: Friday Cafe, News
โดยอาจารย์ โชคชัย วงษ์ตานี
จัดที่ สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จ.ปัตตานี
วันที่ 13 เดือน สิงหาคม 2553
ผู้ดำเนินรายการ
ที่สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพนี้ ทุกๆเดือนเราจะมีการจัดศุกร์เสวนา ในหนึ่งเดือนจะจัดสองครั้ง ซึ่งก็มีการนำประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ มาเป็นหัวข้อ สำหรับในเดือนนี้เป็นเดือนรอมฎอน เดือนแห่งสันติและสันติสุขทางคนทำงานก็เลยสนใจประเด็น รอมฎอนเดือนแห่งสันติ ซึ่งหลายคนก็พอจะรู้บ้างว่าเดือนรอมฎอนดียังไง ถ้าใครสนใจแลกเปลี่ยนตอนท้ายสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ เราเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนในตอนท้าย
วิทยากร
สลามน้องๆปัญญาชนที่ทำงานในภาคใต้ ผมชื่อ โชคชัย วงษ์ตานี ชื่อมุสลิมคือ อิบรอฮีม อาจารย์ก็เป็นอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เหมือนกัน เคยเป็นรุ่นพี่ ตอนเข้าเรียนรหัส38 จบที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา ได้รับการติดต่อมาไม่กี่วันมานี้ ก็รู้สึกดีใจที่ได้รับเกียติมาเป็นวิทยากร ภูมิใจเมื่อได้มีคนเชิญเรามาเป็นวิทยากร และก็ถือว่าเป็นอามานะห์หนึ่งที่ได้มาเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยน
ด้วยสาขาที่สอนหนังสือเกี่ยวกับสันติศึกษากับอิสลามศึกษามันเนื้อเดียวกัน ไหม ในสัดส่วนที่เหมือนกันก็มีในอิสลามก็มีในหลักการสันติภาพสากลก็มี แต่หลักสันติภาพสากลก็ไม่ใช่หลักศาสนาอิสลามเสมอไป ผมไม่ขอใช้คำว่าวิทยากร แต่จะใช้คำว่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึงตัวเองและผู้ฟังมาร่วมแลกเปลี่ยนกัน ผมอาจจะพูดไม่ถูกทั้งหมดก็ได้ เราก็แลกเปลี่ยนกันไป บางคนเรียนศาสนามากกว่าผมด้วยซ้ำไป แต่ผมไม่ได้พูดในมุมมองนักการศาสนา แต่ละคนคงจะรู้แล้วบ้างว่า อิสลามให้อะไรในเดือนรอมฎอน ถ้าพูดทางมุมมองศาสนาคงต้องมีหลักฐานมาอ้างอิง ผมจะพูดศาสตร์ด้านสันติหรือศาสตร์ทางสังคม เรามองรอมฎอนในแง่มุมใดบ้าง บางเรื่องเป็นเรื่องของฮิกมะห์ ผมก็ทำการบ้านมาพอสมควร ในทางสังคมศาสตร์อธิบายความเป็นรอมฎอนพอสมควร การอธิบายทางสังคมศาสตร์ทางสันติ หลักแรกคือ การเริ่มต้น ต้องเริ่มจากตัวเอง การเปลี่ยนแปลงโลกเริ่มมาจากตัวเอง การถือศิลอดเป็นการสร้างระเบียบให้กับตัวเอง ศีลอดในอิสลามเป็นการระงับการบริโภคเป็นหลัก จริงๆแล้วศีลอดไม่ได้เฉพาะการหยุดบริโภค แต่การลดสายตา อารมณ์ การพูด การควบคุมตัวเองทางเพศ การฝึกความอดทน ถ้าเราไม่ฝึกเราก็ไม่รู้ ถึงความอดทนนั้น ในทางการเมืองก็จะมีการหยุดบริโภคมีการอดอาหารในการประท้วง การหยุดบริโภคทำให้เราเข้าใจคนอื่น เข้าใจคนยากคนจน ตอนนี้สังคมเราคิดสองมาตรฐาน คนรวยปฏิบัติอีกแบบหนึ่ง คนจนก็ถูกปฏิบัติอีกแบบหนึ่ง จริงๆแล้วทางอิสลามคนรวยกับคนจนมีค่าเท่ากัน
โดยอาจารย์ โชคชัย วงษ์ตานี
จัดที่ สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จ.ปัตตานี
วันที่ 13 เดือน สิงหาคม 2553
ผู้ดำเนินรายการ
ที่สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพนี้ ทุกๆเดือนเราจะมีการจัดศุกร์เสวนา ในหนึ่งเดือนจะจัดสองครั้ง ซึ่งก็มีการนำประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ มาเป็นหัวข้อ สำหรับในเดือนนี้เป็นเดือนรอมฎอน เดือนแห่งสันติและสันติสุขทางคนทำงานก็เลยสนใจประเด็น รอมฎอนเดือนแห่งสันติ ซึ่งหลายคนก็พอจะรู้บ้างว่าเดือนรอมฎอนดียังไง ถ้าใครสนใจแลกเปลี่ยนตอนท้ายสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ เราเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนในตอนท้าย
วิทยากร
สลามน้องๆปัญญาชนที่ทำงานในภาคใต้ ผมชื่อ โชคชัย วงษ์ตานี ชื่อมุสลิมคือ อิบรอฮีม อาจารย์ก็เป็นอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เหมือนกัน เคยเป็นรุ่นพี่ ตอนเข้าเรียนรหัส38 จบที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา ได้รับการติดต่อมาไม่กี่วันมานี้ ก็รู้สึกดีใจที่ได้รับเกียติมาเป็นวิทยากร ภูมิใจเมื่อได้มีคนเชิญเรามาเป็นวิทยากร และก็ถือว่าเป็นอามานะห์หนึ่งที่ได้มาเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยน
ด้วยสาขาที่สอนหนังสือเกี่ยวกับสันติศึกษากับอิสลามศึกษามันเนื้อเดียวกันไหม ในสัดส่วนที่เหมือนกันก็มีในอิสลามก็มีในหลักการสันติภาพสากลก็มี แต่หลักสันติภาพสากลก็ไม่ใช่หลักศาสนาอิสลามเสมอไป ผมไม่ขอใช้คำว่าวิทยากร แต่จะใช้คำว่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึงตัวเองและผู้ฟังมาร่วมแลกเปลี่ยนกัน ผมอาจจะพูดไม่ถูกทั้งหมดก็ได้ เราก็แลกเปลี่ยนกันไป บางคนเรียนศาสนามากกว่าผมด้วยซ้ำไป แต่ผมไม่ได้พูดในมุมมองนักการศาสนา แต่ละคนคงจะรู้แล้วบ้างว่า อิสลามให้อะไรในเดือนรอมฎอน ถ้าพูดทางมุมมองศาสนาคงต้องมีหลักฐานมาอ้างอิง ผมจะพูดศาสตร์ด้านสันติหรือศาสตร์ทางสังคม เรามองรอมฎอนในแง่มุมใดบ้าง บางเรื่องเป็นเรื่องของฮิกมะห์ ผมก็ทำการบ้านมาพอสมควร ในทางสังคมศาสตร์อธิบายความเป็นรอมฎอนพอสมควร การอธิบายทางสังคมศาสตร์ทางสันติ หลักแรกคือ การเริ่มต้น ต้องเริ่มจากตัวเอง การเปลี่ยนแปลงโลกเริ่มมาจากตัวเอง การถือศิลอดเป็นการสร้างระเบียบให้กับตัวเอง ศีลอดในอิสลามเป็นการระงับการบริโภคเป็นหลัก จริงๆแล้วศีลอดไม่ได้เฉพาะการหยุดบริโภค แต่การลดสายตา อารมณ์ การพูด การควบคุมตัวเองทางเพศ การฝึกความอดทน ถ้าเราไม่ฝึกเราก็ไม่รู้ ถึงความอดทนนั้น ในทางการเมืองก็จะมีการหยุดบริโภคมีการอดอาหารในการประท้วง การหยุดบริโภคทำให้เราเข้าใจคนอื่น เข้าใจคนยากคนจน ตอนนี้สังคมเราคิดสองมาตรฐาน คนรวยปฏิบัติอีกแบบหนึ่ง คนจนก็ถูกปฏิบัติอีกแบบหนึ่ง จริงๆแล้วทางอิสลามคนรวยกับคนจนมีค่าเท่ากัน
หลักแรกการฝึกระเบียบให้กับตัวเอง อันดับสองไม่มีความต่างของฐานะแล้ว หลักสำคัญของรอมฎอม คือ การมองไกลกว่าตัวเอง เพราะต้องมีซากาตฟิตเราะห์และซากาตประจำปี มีเงินเก็บจากการทำงานเท่าไร ภรรยาเรามีเงินเก็บ หรือทองเท่าไร ทรัพย์สินที่มีอยู่ต้องแบ่งให้คนแปดจำพวก เราสามารถมองไกลกว่าตัวเรา เราเห็นคนยากคนจน เราเห็นเด็กกำพร้า อย่างซากาตฟิตเราะห์เรามักจะจ่ายเงินหรือมอบให้กับตัวแทน แต่ที่ชวนคิด เป็นไปได้ไหม ที่เราะซื้อข้าวแล้วเอาข้าวไปหาคนจน เราจะได้เห็นคุ่นค่าของคนจน เราจะได้รู้ถึงคนจนที่แท้จริง แต่ถ้าเราไม่ไปเราไม่รู้หรอกว่า บ้านเขาอยู่เป็นยังไง เสื้อที่เขาใส่เป็นไงบ้าง ร้องเท้าเขาใส่เป็นยังไง แต่ถ้าเราได้ไปเยี่ยมบ้านเขา เราจะรู้ถึงความสำคัญของคนจน หลายคนกินข้าวไม่ครบสามมื้อ บางคนเสื้อผ้าในตู้ไม่มีเลย
อันที่สามรอมฎอน เป็นโอกาสและเวที ความเข้มข้นของการทำความดี มีการละหมาดทุกคืน เกือบทุกคนจะไปละหมาดมัสยิด มีโอกาสในการพบปะที่มัสยิดไปเยี่ยมเพื่อนรุ่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นการกระชับพื้นที่ใกล้ชิดเพื่อน เห็นใจเด็ก คนยากคนจน การได้เริ่มละหมาดด้วยกันเป็นการเพิ่มพูนความดี เป็นสิงที่ดีมากในการเปลี่ยนแปลงสังคม แน่นอนความมีศรัทธาของคนในเดือนรอมฎอนมีมาก ไม่มีการนินทาว่าคนอื่น ไม่เอาเวลาไปไร้สาระ กระชับเรากับมนุษย์และเรากับอัลลอฮ
อันหนึ่งในเดือนรอมฎอน การหาสิ่งที่ขาดหายในตลอดปี การขออภัยโทษ การล้างบาป ล้างในสิ่งที่เป็นอดีต รอมฎอนนี้ถึงรอมฎอนหน้าในการดำเนินสู่หนทางที่ถูกต้อง หลายคนมีชีวิตเปลี่ยนในเดือนรอมฎอน เปลี่ยนแปลงตัวเองในเดือนรอมฎอนเราจะดีจะเลวก็ขึ้นอยู่กับตัวเราไม่ใช่ซัย ตอนหรือมารร้าย ตัวชี้วัดพบว่าคนเราจะดีหรือเลวในเดือนรอมฎอนไม่ได้เกี่ยวข้องกับซัยตอน อย่างเดือนปกติเรามักจะหาเหตุผลว่าเพราะซัยตอนหรือมารร้าย ในเดือนรอมฎอนซัยตอนถูกล่ามโซโดยพระเจ้า
ประเด็นต่อมาการทำให้คนเห็นคุณค่าของคน ทำให้คนรวยมองเห็นคนจน จะมีการใคร่ครวญ ในอิสลาม คนที่เป็นโตะอีหม่าม ผู้ใหญ่บ้าน คนรวย กษัตริย์ คนจน ทุกคนมีค่าเท่ากัน อิสลามเองมีรอมฎอนขึ้นมาเป็นสิ่งยืนยันว่ามนุษย์มีค่าเท่ากัน รวยหรือจน มีทรัพย์สินก็ต้องถามว่าให้ประโยชน์หรือให้อะไรกับส่วนรวม หรือไปสร้างปัญหามลภาวะ
ต่อมารอมฎอนไม่ได้ส่งผลต่อการสร้างระเบียบให้กับตัวเองเท่านั้น แต่การฝึกที่ร่างกายไปทำความสะอาดที่ใจ จิตวิญญาน ไม่พูดไร้สาระ การออกซากาต การอ่านอัลกุรอาน มันทำให้ชำระจิตวิญญาณ อุลามะห์บอกว่ารอมฎอนเป็นอาหารของจิตวิญญาณ ในการชำระล้างร่างกายให้สะอาด
ต่อมารอมฎอนทำให้เห็นว่าความหิวเป็นเรื่องปกติ แต่ความหิวเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ในหนังสือของอาจารย์นิธิ เขียนว่ามีเพื่อนไปดูคนจนสองประเทศและอธิบายความจนที่แตกต่างกัน เพื่อนอาจารย์นิธิไปแอฟริกาพบว่า คนแอฟริกาจนมาก เราดูบอลโลกข้างๆสนามบอลโลกมีคนสลัม เสื้อผ้าที่พวกเขาใส่เป็นเสื้อผ้ามือสอง เก่ามากติดฝุ่นอยู่ แต่คนแอฟริกาถูกรวมเป็นคนแอฟริกาด้วยเผ่าต่างๆ มีข้อคิดบางอย่างที่น่าสนใจคือ วันนี้เราจน วันพรุ่งนี้เราจะรวย คนจนแอฟริกาคิดว่า ถ้าวันนี้เราทำงาน ค้นคว้า วันหน้าเราจะรวย อยู่แบบมีความหวัง ถ้าเราขยันวันนี้พรุ่งนี้เราจะรวย ส่วนคนจนในอินเดีย ไม่เคยมีวันพรุ่งนี้ คนจนอินเดียมองว่ามื้อนี้จะกินอะไร คนขอทานในอินเดียเป็นประเทศต้นๆของโลก มีใครอีกหลายคนไม่สามารถฝันได้ว่าวันนี้จะกินอะไร ร้านขายขนมปังในอินเดีย เขาผลิตสองพันก้อน จะขายเพียงหนึ่งพัน ห้าร้อยก้อนที่เหลือจะมีการต่อแถวแจกให้กับคนยากจน ร้านค้าแบบนี้จะทำกันทั้งซอย ซึ่งมีความแตกต่างกับคนจนในประเทศไทยและมาเลเซีย จนแบบมาเลเซีย เขารู้แล้วว่ามือเช้ามื้อเย็นจะกินที่ไหน จะกินสเต็ก จะกินอะไรก็เลือกได้เพราะมีอะไรบางอย่างในกระเป๋า เช่น มื้อเย็นอยากกินข้าวเหนียว หรือ รอเยาะ แต่อัลลอฮก็ได้ทดสอบคนรวยที่กินเยอะ คนกินไก่เยอะก็เป็นโรค บางคนกินข้าวหมกเยอะก็มีโรคทางสายเลือดเกิดขึ้น จะพบว่าสิ่งเหล่านี้ ร่างกายเราเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าใจเพื่อนมนุษย์ เข้าใจคนอินเดีย คนแอฟริกา เข้าใจคนจน นี้คือฮิกมะห์หรือผลดี ของเดือนศิลอด
ต่อมารอมฎอมให้เราทบทวน ขอดุอาร์ในสิ่งที่ผ่านมา ในเดือนที่ผ่านมาทำความดีอะไรมาบ้าง ชีวิตในอิสลามก็ต้องมีการวางแผนและทบทวน รอมฎอนก็เป็นหนึ่งปีที่เรามาทบทวนกับการมุ่งหน้าไปข้างหน้า บางคนอัลลอฮได้เรียกให้ไปทำฮัจญ์ ความสำเร็จของเดือนรอมฎอน ถ้ารอมฎอนส่งผลดีต่อเขา เขาก็จะใช้ชีวิตในเดือนอื่นเหมือนเดือนรอมฎอน เช่น คนที่เคยละหมาดในเดือนรอมฎอน เมื่อขาดละหมาดก็จะรู้สึกอึดอัด เคยอ่านอัลกุรอาน พอไม่ได้อ่านก็รู้สึกอึดอัด หลายคนก็อ่านอัลกุรอานทุกวัน คุยกับเขาวันไหนที่เขาไม่ได้อ่าน เขาจะรู้สึกกระวนกระวาย เหมือนกันเมื่อเราฝึกรอมฎอนเป็นยังไง เดือนอื่นก็เป็นเหมือนรอมฎอมก็แสดงว่า เราได้รับความหอมหวานจากรอมฎอนนั้นไปด้วย
อันต่อมาสิ่งได้จากรอมฎอน คือ การติดเบรกกับการหยั่งคิด การหยุดกินแต่ไม่ได้หยุดคิด ไม่มีโอกาสคุยกับผู้หญิงเหมือนเดือนอื่นๆ การติดเบรคทำให้เราต้องมาคิด ทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้น มันมีโอกาสทำให้เราคิดว่าเราจะไปที่ไหน เรามาทำไม
รอมฎอนเองสำคัญมาก ที่ว่าใครทำไม่ได้ ต้องชดใช้ ทดแทน เช่นเดียวกันในฮาดิษหนึ่งกล่าวว่า คนที่เป็นมุสลิมอยู่ๆจะไม่ถือศิลอด ละเมิดตรงนี้โดยไม่มีเหตุผล บาปรุนแรงมาก นอกจากนี้เดือนรอมฎอมก็เป็นจุดศูนย์กลางของสี่อีบาดะห์ใหญ่รวมกัน มีการถือศีลอด ซากาต ละหมาด อ่านอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีในเดือนอื่น เดือนอื่นส่วนใหญ่จะเป็นละหมาดกับอ่านอัลกุรอาน เดือนรอมฎอนถือว่าใหญ่มาก เข้มข้นในเรื่องของอีบาดะห์มาก ถ้าร่วมฮัจญ์อยู่ในเดือนรอมฎอนด้วยถือว่าสาหัสมาก ถือว่าหนักหนาพอสมควร ในเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าเป็นการบำบัดร่างกาย ตับไต ไส้พุง คงได้พักบ้าง หลักหนึ่งที่เราพบว่า การทำความสะอาด ขจัดสารพิษในร่างกาย โดยในเดือนปกติบางคนบอกว่าต้องกินผักบ้าง น้ำผลไม้บ้าง แต่การถือศิลอดในทางศาสนาเป็นการล้างสารพิษในร่างกาย ผมพบว่าอินเดียไม่ได้ถือศีลอดเฉพาะแค่การกิน ในฮินดูมีการถือศีลอดการพูด ในประวัติของคานธีจะมีการศีลอดการพูด คานธีจะบอกภรรยาเสมอว่าวันนี้ คานธี ถือศีลไม่พูด ทั้งวันคานธีจะไม่พูดและจะบอกกับภรรยาว่าให้บอกกับคนที่มาหาคานธีว่า วันนี้คานธีถือศีลอดคำพูด บางคนที่มาหาคานธีจะต้องประสบกับความผิดหวัง การไม่พูดก็มีหลายสิ่งที่ดีเหมือนกัน เช่น ทุกๆครั้งที่เราเงียบหัวเราคิด ทบทวน ใคร่ครวญ นึกคิดสิ่งที่ผ่านมา ความนิ่งทำให้เราฝึกอะไรบางอย่าง นบีก็บอกให้ละหมาดตัฮยุต เพื่อใคร่ครวญตัวเอง ทบทวนในสิ่งที่ผ่านมา บางคนเวลาละหมาดตัฮยุตร้องไห้ด้วยซ้ำไป กับชีวิตที่ผ่านมา นบีก็ร้องไห้ขนาดทำบุญมาเยอะความชั่วติดตัวน้อย
สิ่งที่ผมเห็นด้วยกับคานธีตรงที่ว่า บางครั้งเราใช้แต่ละวันเยอะมาก วันหนึ่งเราใช้ร้อยครั้งเก้าสิบครั้งที่ดีมีเปล่า บางทีก็เป็นลบหมด เราคิดว่าเราเงียบบ้างก็ดี
หลักแรกการฝึกระเบียบให้กับตัวเอง อันดับสองไม่มีความต่างของฐานะแล้ว หลักสำคัญของรอมฎอม คือ การมองไกลกว่าตัวเอง เพราะต้องมีซากาตฟิตเราะห์และซากาตประจำปี มีเงินเก็บจากการทำงานเท่าไร ภรรยาเรามีเงินเก็บ หรือทองเท่าไร ทรัพย์สินที่มีอยู่ต้องแบ่งให้คนแปดจำพวก เราสามารถมองไกลกว่าตัวเรา เราเห็นคนยากคนจน เราเห็นเด็กกำพร้า อย่างซากาตฟิตเราะห์เรามักจะจ่ายเงินหรือมอบให้กับตัวแทน แต่ที่ชวนคิด เป็นไปได้ไหม ที่เราะซื้อข้าวแล้วเอาข้าวไปหาคนจน เราจะได้เห็นคุ่นค่าของคนจน เราจะได้รู้ถึงคนจนที่แท้จริง แต่ถ้าเราไม่ไปเราไม่รู้หรอกว่า บ้านเขาอยู่เป็นยังไง เสื้อที่เขาใส่เป็นไงบ้าง ร้องเท้าเขาใส่เป็นยังไง แต่ถ้าเราได้ไปเยี่ยมบ้านเขา เราจะรู้ถึงความสำคัญของคนจน หลายคนกินข้าวไม่ครบสามมื้อ บางคนเสื้อผ้าในตู้ไม่มีเลย
อันที่สามรอมฎอน เป็นโอกาสและเวที ความเข้มข้นของการทำความดี มีการละหมาดทุกคืน เกือบทุกคนจะไปละหมาดมัสยิด มีโอกาสในการพบปะที่มัสยิดไปเยี่ยมเพื่อนรุ่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นการกระชับพื้นที่ใกล้ชิดเพื่อน เห็นใจเด็ก คนยากคนจน การได้เริ่มละหมาดด้วยกันเป็นการเพิ่มพูนความดี เป็นสิงที่ดีมากในการเปลี่ยนแปลงสังคม แน่นอนความมีศรัทธาของคนในเดือนรอมฎอนมีมาก ไม่มีการนินทาว่าคนอื่น ไม่เอาเวลาไปไร้สาระ กระชับเรากับมนุษย์และเรากับอัลลอฮ
อันหนึ่งในเดือนรอมฎอน การหาสิ่งที่ขาดหายในตลอดปี การขออภัยโทษ การล้างบาป ล้างในสิ่งที่เป็นอดีต รอมฎอนนี้ถึงรอมฎอนหน้าในการดำเนินสู่หนทางที่ถูกต้อง หลายคนมีชีวิตเปลี่ยนในเดือนรอมฎอน เปลี่ยนแปลงตัวเองในเดือนรอมฎอนเราจะดีจะเลวก็ขึ้นอยู่กับตัวเราไม่ใช่ซัยตอนหรือมารร้าย ตัวชี้วัดพบว่าคนเราจะดีหรือเลวในเดือนรอมฎอนไม่ได้เกี่ยวข้องกับซัยตอน อย่างเดือนปกติเรามักจะหาเหตุผลว่าเพราะซัยตอนหรือมารร้าย ในเดือนรอมฎอนซัยตอนถูกล่ามโซโดยพระเจ้า
ประเด็นต่อมาการทำให้คนเห็นคุณค่าของคน ทำให้คนรวยมองเห็นคนจน จะมีการใคร่ครวญ ในอิสลาม คนที่เป็นโตะอีหม่าม ผู้ใหญ่บ้าน คนรวย กษัตริย์ คนจน ทุกคนมีค่าเท่ากัน อิสลามเองมีรอมฎอนขึ้นมาเป็นสิ่งยืนยันว่ามนุษย์มีค่าเท่ากัน รวยหรือจน มีทรัพย์สินก็ต้องถามว่าให้ประโยชน์หรือให้อะไรกับส่วนรวม หรือไปสร้างปัญหามลภาวะ
ต่อมารอมฎอนไม่ได้ส่งผลต่อการสร้างระเบียบให้กับตัวเองเท่านั้น แต่การฝึกที่ร่างกายไปทำความสะอาดที่ใจ จิตวิญญาน ไม่พูดไร้สาระ การออกซากาต การอ่านอัลกุรอาน มันทำให้ชำระจิตวิญญาณ อุลามะห์บอกว่ารอมฎอนเป็นอาหารของจิตวิญญาณ ในการชำระล้างร่างกายให้สะอาด
ต่อมารอมฎอนทำให้เห็นว่าความหิวเป็นเรื่องปกติ แต่ความหิวเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ในหนังสือของอาจารย์นิธิ เขียนว่ามีเพื่อนไปดูคนจนสองประเทศและอธิบายความจนที่แตกต่างกัน เพื่อนอาจารย์นิธิไปแอฟริกาพบว่า คนแอฟริกาจนมาก เราดูบอลโลกข้างๆสนามบอลโลกมีคนสลัม เสื้อผ้าที่พวกเขาใส่เป็นเสื้อผ้ามือสอง เก่ามากติดฝุ่นอยู่ แต่คนแอฟริกาถูกรวมเป็นคนแอฟริกาด้วยเผ่าต่างๆ มีข้อคิดบางอย่างที่น่าสนใจคือ วันนี้เราจน วันพรุ่งนี้เราจะรวย คนจนแอฟริกาคิดว่า ถ้าวันนี้เราทำงาน ค้นคว้า วันหน้าเราจะรวย อยู่แบบมีความหวัง ถ้าเราขยันวันนี้พรุ่งนี้เราจะรวย ส่วนคนจนในอินเดีย ไม่เคยมีวันพรุ่งนี้ คนจนอินเดียมองว่ามื้อนี้จะกินอะไร คนขอทานในอินเดียเป็นประเทศต้นๆของโลก มีใครอีกหลายคนไม่สามารถฝันได้ว่าวันนี้จะกินอะไร ร้านขายขนมปังในอินเดีย เขาผลิตสองพันก้อน จะขายเพียงหนึ่งพัน ห้าร้อยก้อนที่เหลือจะมีการต่อแถวแจกให้กับคนยากจน ร้านค้าแบบนี้จะทำกันทั้งซอย ซึ่งมีความแตกต่างกับคนจนในประเทศไทยและมาเลเซีย จนแบบมาเลเซีย เขารู้แล้วว่ามือเช้ามื้อเย็นจะกินที่ไหน จะกินสเต็ก จะกินอะไรก็เลือกได้เพราะมีอะไรบางอย่างในกระเป๋า เช่น มื้อเย็นอยากกินข้าวเหนียว หรือ รอเยาะ แต่อัลลอฮก็ได้ทดสอบคนรวยที่กินเยอะ คนกินไก่เยอะก็เป็นโรค บางคนกินข้าวหมกเยอะก็มีโรคทางสายเลือดเกิดขึ้น จะพบว่าสิ่งเหล่านี้ ร่างกายเราเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าใจเพื่อนมนุษย์ เข้าใจคนอินเดีย คนแอฟริกา เข้าใจคนจน นี้คือฮิกมะห์หรือผลดี ของเดือนศิลอด
ต่อมารอมฎอมให้เราทบทวน ขอดุอาร์ในสิ่งที่ผ่านมา ในเดือนที่ผ่านมาทำความดีอะไรมาบ้าง ชีวิตในอิสลามก็ต้องมีการวางแผนและทบทวน รอมฎอนก็เป็นหนึ่งปีที่เรามาทบทวนกับการมุ่งหน้าไปข้างหน้า บางคนอัลลอฮได้เรียกให้ไปทำฮัจญ์ ความสำเร็จของเดือนรอมฎอน ถ้ารอมฎอนส่งผลดีต่อเขา เขาก็จะใช้ชีวิตในเดือนอื่นเหมือนเดือนรอมฎอน เช่น คนที่เคยละหมาดในเดือนรอมฎอน เมื่อขาดละหมาดก็จะรู้สึกอึดอัด เคยอ่านอัลกุรอาน พอไม่ได้อ่านก็รู้สึกอึดอัด หลายคนก็อ่านอัลกุรอานทุกวัน คุยกับเขาวันไหนที่เขาไม่ได้อ่าน เขาจะรู้สึกกระวนกระวาย เหมือนกันเมื่อเราฝึกรอมฎอนเป็นยังไง เดือนอื่นก็เป็นเหมือนรอมฎอมก็แสดงว่า เราได้รับความหอมหวานจากรอมฎอนนั้นไปด้วย
อันต่อมาสิ่งได้จากรอมฎอน คือ การติดเบรกกับการหยั่งคิด การหยุดกินแต่ไม่ได้หยุดคิด ไม่มีโอกาสคุยกับผู้หญิงเหมือนเดือนอื่นๆ การติดเบรคทำให้เราต้องมาคิด ทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้น มันมีโอกาสทำให้เราคิดว่าเราจะไปที่ไหน เรามาทำไม
รอมฎอนเองสำคัญมาก ที่ว่าใครทำไม่ได้ ต้องชดใช้ ทดแทน เช่นเดียวกันในฮาดิษหนึ่งกล่าวว่า คนที่เป็นมุสลิมอยู่ๆจะไม่ถือศิลอด ละเมิดตรงนี้โดยไม่มีเหตุผล บาปรุนแรงมาก นอกจากนี้เดือนรอมฎอมก็เป็นจุดศูนย์กลางของสี่อีบาดะห์ใหญ่รวมกัน มีการถือศีลอด ซากาต ละหมาด อ่านอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีในเดือนอื่น เดือนอื่นส่วนใหญ่จะเป็นละหมาดกับอ่านอัลกุรอาน เดือนรอมฎอนถือว่าใหญ่มาก เข้มข้นในเรื่องของอีบาดะห์มาก ถ้าร่วมฮัจญ์อยู่ในเดือนรอมฎอนด้วยถือว่าสาหัสมาก ถือว่าหนักหนาพอสมควร ในเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าเป็นการบำบัดร่างกาย ตับไต ไส้พุง คงได้พักบ้าง หลักหนึ่งที่เราพบว่า การทำความสะอาด ขจัดสารพิษในร่างกาย โดยในเดือนปกติบางคนบอกว่าต้องกินผักบ้าง น้ำผลไม้บ้าง แต่การถือศิลอดในทางศาสนาเป็นการล้างสารพิษในร่างกาย ผมพบว่าอินเดียไม่ได้ถือศีลอดเฉพาะแค่การกิน ในฮินดูมีการถือศีลอดการพูด ในประวัติของคานธีจะมีการศีลอดการพูด คานธีจะบอกภรรยาเสมอว่าวันนี้ คานธี ถือศีลไม่พูด ทั้งวันคานธีจะไม่พูดและจะบอกกับภรรยาว่าให้บอกกับคนที่มาหาคานธีว่า วันนี้คานธีถือศีลอดคำพูด บางคนที่มาหาคานธีจะต้องประสบกับความผิดหวัง การไม่พูดก็มีหลายสิ่งที่ดีเหมือนกัน เช่น ทุกๆครั้งที่เราเงียบหัวเราคิด ทบทวน ใคร่ครวญ นึกคิดสิ่งที่ผ่านมา ความนิ่งทำให้เราฝึกอะไรบางอย่าง นบีก็บอกให้ละหมาดตัฮยุต เพื่อใคร่ครวญตัวเอง ทบทวนในสิ่งที่ผ่านมา บางคนเวลาละหมาดตัฮยุตร้องไห้ด้วยซ้ำไป กับชีวิตที่ผ่านมา นบีก็ร้องไห้ขนาดทำบุญมาเยอะความชั่วติดตัวน้อย
สิ่งที่ผมเห็นด้วยกับคานธีตรงที่ว่า บางครั้งเราใช้แต่ละวันเยอะมาก วันหนึ่งเราใช้ร้อยครั้งเก้าสิบครั้งที่ดีมีเปล่า บางทีก็เป็นลบหมด เราคิดว่าเราเงียบบ้างก็ดี