ศุกร์เสวนาครั้งที่ 13: วิวาทะ:ความเป็นไปได้ของการรณรงค์ยกเลิกกฎหมายพิเศษ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ศุกร์เสวนาครั้งที่ 13: วิวาทะ:ความเป็นไปได้ของการรณรงค์ยกเลิกกฎหมายพิเศษ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

เปิดประเด็นโดย คุณอรพิณ ยิ่งยงพัฒนา และ คุณยิ่งชีพ อัชฌานนท์ กลุ่มกฎหมายภาคประชาชน (iLaw)

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 9.00-12.00น.

ณ สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จ.ปัตตานี

จัดโดยคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ และกลุ่มกฎหมายภาคประชาชน

วิยากร ในรัฐธรรมนูญไทย ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิยกเลิกกฎหมายเก่าได้ แต่เราต้องหาอะไรใหม่ๆมาแทนที่ ถ้ากฎหมายเก่าขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ กฎหมายเก่าก็ต้องยกเลิก แต่ต้องมีของใหม่มาแทน เราเคยคุยกันในกรุงเทพมหานครเพื่อหาทางยกเลิกกฎหมายสามฉบับในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ คือ พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และ พระราชบัญญัติความมั่นคง เพราะเห็นว่า กฎหมายทั้งสามฉบับให้อำนาจมากในการควบคุมพื้นที่ ส่วนใหญ่เวลาพูดที่กรุงเทพมหานครหรือมีการจัดเวที จะออกทางเชิงวิชาการ ขัดกับรัฐธรรมนูญบ้าง ขัดกับสิทธิเสรีภาพบ้าง แต่ที่จริงแล้วคนสามจังหวัดนี่แหละที่โดนผลกระทบจากกฎหมายสามฉบับ ที่ได้รับปัญหาโดยตรงจากกฎหมายที่ใช้อยู่สามฉบับในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทาง ilaw ก็เลยเปิดพื้นที่รณรงค์ให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคงสามฉบับ โดยใช้วิธีการเขียนกฎหมายขึ้นมาใหม่ เขียนกฎหมายหนึ่งกฎหมายขึ้นมาใหม่ ตั้งชื่อว่า “ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายด้านความมั่นคงที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพตาม ระบอบประชาธิปไตย” กฎหมายนี้สั้นมาก มีสามมาตรา มาตราแรกจะพูดเหมือนกฎหมายฉบับอื่นๆ แต่เนื้อหามีมาตราเดียวที่พูดถึง คือ มาตราสามบอกว่าจะยกเลิกกฎหมายพิเศษ พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ

เปิดประเด็นโดย คุณอรพิณ ยิ่งยงพัฒนา และ คุณยิ่งชีพ อัชฌานนท์ กลุ่มกฎหมายภาคประชาชน (iLaw)

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 9.00-12.00น.

ณ สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จ.ปัตตานี

จัดโดยคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ และกลุ่มกฎหมายภาคประชาชน

วิยากร ในรัฐธรรมนูญไทย ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิยกเลิกกฎหมายเก่าได้ แต่เราต้องหาอะไรใหม่ๆมาแทนที่ ถ้ากฎหมายเก่าขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ กฎหมายเก่าก็ต้องยกเลิก แต่ต้องมีของใหม่มาแทน เราเคยคุยกันในกรุงเทพมหานครเพื่อหาทางยกเลิกกฎหมายสามฉบับในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และ พระราชบัญญัติความมั่นคง เพราะเห็นว่า กฎหมายทั้งสามฉบับให้อำนาจมากในการควบคุมพื้นที่ ส่วนใหญ่เวลาพูดที่กรุงเทพมหานครหรือมีการจัดเวที จะออกทางเชิงวิชาการ ขัดกับรัฐธรรมนูญบ้าง ขัดกับสิทธิเสรีภาพบ้าง แต่ที่จริงแล้วคนสามจังหวัดนี่แหละที่โดนผลกระทบจากกฎหมายสามฉบับ ที่ได้รับปัญหาโดยตรงจากกฎหมายที่ใช้อยู่สามฉบับในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทาง ilaw ก็เลยเปิดพื้นที่รณรงค์ให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคงสามฉบับ โดยใช้วิธีการเขียนกฎหมายขึ้นมาใหม่ เขียนกฎหมายหนึ่งกฎหมายขึ้นมาใหม่ ตั้งชื่อว่า “ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายด้านความมั่นคงที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย” กฎหมายนี้สั้นมาก มีสามมาตรา มาตราแรกจะพูดเหมือนกฎหมายฉบับอื่นๆ แต่เนื้อหามีมาตราเดียวที่พูดถึง คือ มาตราสามบอกว่าจะยกเลิกกฎหมายพิเศษ พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ

ผู้เข้าร่วม ทำไมเราไม่ใช้ระบบการรณรงค์ให้รัฐบาลยกเลิกการใช้กฎหมาย

วิทยากร คือ ผมคิดว่า ประเด็นการรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในทางข้อเท็จจริงเราได้นำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นกับประชาชนว่า ได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ส่งผลร้ายกับประชาชนอะไรบ้าง เราก็ได้ทำไปแล้วและเราก็ต้องทำต่อไป อันนี้เป็นสิทธิในระบบที่เรามีในรัฐธรรมนูญ มีการจัดเสวนาบ้าง พูดคุยบ้าง มันยังมีวิธีในระบบที่เราต้องทำ เราทำแล้วรัฐบาลต้องทำ

มันมีหลากหลายวิธีในการที่จะทำ เราก็รู้สึกว่าถ้าทำอะไรให้ได้สุดๆได้ เราก็จะพยายามทำ และค่อนข้างคาดหวังกับคนเล็กกลุ่มน้อยที่มีส่วนในเรื่องนี้กับการเซ็นชื่อก็ ต้องมีการติดตามจากสื่อว่า พอเข้าสู่กระบวนการรัฐสภามันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไหม ถ้ามีการร่วมมือร่วมใจจากคนเป็นจำนวนมากหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศให้ความสนใจ ก็ถือว่าเป็นการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย

ผู้เข้าร่วม วิธีการรณรงค์สามารถทำให้ชาวบ้านมีความปลอดภัยมากที่สุด อย่างกรณีทนายความสมชาย ก็เคยคิดจะมีการล่ารายชื่อประชาชนเหมือนกัน แค่เซ็นชื่อเพื่อให้มีการยกเลิก แต่รู้สึกว่ามันไม่ปลอดภัย

วิทยากร วิธีนี้มันค่อนข้างยุ่งยากนิดหนึ่งแต่มันก็เป็นทางการก็คือว่า มันมีแบบฟอร์มเฉพาะ เซ็นชื่อเสนอยกเลิกกฎหมายเก่า ด้วยวิธีการยกเลิกโดยใช้กฎหมายฉบับใหม่ ให้เราเสนอ แนบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ให้มีชื่อ10,000 ชื่อ สิ่งที่เราสนใจทำกัน ก็มีการพูดเรื่องนี้ไม่เยอะและก็ไม่น้อย เราก็ติดตามไปทุกที่ที่มีคนพูดเรื่องนี้ แล้วก็เปิดเวปไซต์รณรงค์ทางเวปไซต์ ตอนเปิดองค์กรก็มีเวปไซต์ เพื่อเปิดช่องทางในการสื่อสารว่า กฎหมายมีผลกระทบยังไง มีข้อมูลกฎหมายว่ากฎหมายสามฉบับมีข้อดีข้อเสียยังไง คนที่อยู่ภายใต้การบังคับโดยกฎหมายสามฉบับถูกกระทำยังไง คิดว่า คนจะต้องมาอ่านเคลื่อนไหวกันได้ เราทำมาได้ไม่เท่าไหร่ ตอนนี้มีเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในภาคใต้ จึงคิดว่าจะลงพื้นที่พูดคุยกับคนพื้นที่สักหน่อย ว่าเรื่องนี้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้คิดเห็นกันยังไง ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้เข้าร่วม คือ การยกเลิกกฎหมายก็เห็นด้วยก็เรียกร้องมา แล้วก็กระบวนการที่จะขอยกเลิกในส่วนตัวคิดว่ายาก เวลาเราจะทำกิจกรรมในชุมชนก็ต้องเตรียมตัวไปเยอะ การรวบรวมหลักฐานก็ยาก บางทีไม่มีสำเนาบ้าง ไม่มีบัตรประชาชนบ้าง ถ้าใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชนก็พอไหว

วิทยากร เรื่องการพลักดันโดยประชาชนเกิดขึ้นเมื่อ 2540 ตอนนั้นให้ล่ารายชื่อ50,000 ชื่อแล้วก็แนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน จนถัดมารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมองว่าการล่าชื่อ50,000ชื่อมันเยอะมาก ล่าไม่ได้สักที ไม่ครบสักที เปลี่ยนกฎหมายใหม่เป็นล่ารายชื่อ10,000ชื่อ แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายลูก ที่จะกำหนดขั้นตอน มันมีองค์สองสามองค์กรที่ผลักดันว่าให้กฎหมายลูกประคับประคับประคอง รัฐธรรมนูญปี52

เราคาดหวังว่าอีกสักหน่อยคงไม่ต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้านแต่ในวันนี้ต้องใช้อยู่

ผู้เข้าร่วม แล้วในการล่ารายชื่อมีขั้นตอนยังไงหละ

วิทยากร ขั้นตอนก็คือ พอเราได้10,000ชื่อแล้ว หน่วยงานที่อยู่ในรัฐสภาที่เป็นหน่วยงานภาคประชาชนเพื่อรับรายชื่อไปพิจารณา ตรวจสอบรายชื่อ จากนั้นจะส่งชื่อไปยังหมู่บ้าน เพื่อสอบถามการยืนยันของผู้ที่เซ็นชื่อเพื่อยกเลิกกฎหมาย และเพื่อสอบถามผู้ที่เซ็นชื่อว่าใช่ลายมือชื่อของตัวเองจริงหรือเปล่าถ้า เป็นการปลอมแปลงรายชื่อรัฐสภามีอำนาจในการคัดค้าน เมื่อผ่านกระบวนการคัดค้านแล้ว เรื่องก็จะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรแล้วก็จะตั้งกรรมาธิการขึ้นมาเป็น กรรมาธิการพิจารณากฎหมาย กรรมาธิการจะมีองค์ประกอบจากภาคประชาชน ซึ่งเป็นผู้เสนอชื่อหนึ่งในสาม เวลาที่เขาผลักดันกฎหมาย ก็ถือว่าดีเพราะมันมีองค์กรภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย แต่ถ้าส่วนใหญ่ของสังคมมองเห็นร่วมกันในการใช้กฎหมายหมายสามฉบับ รัฐอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เราเลือกจะมีหน้าที่ยกมือแสดงความคิดเห็นว่า จะเอาหรือไม่เอากับกฎหมายที่ส่งพิจารณา แต่ก่อนที่จะเอาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยกมือเขาต้องเอาไปตั้งทีมก่อน เพื่อตรวจสอบเนื้อหาว่ามีความเห็นกันยังไง

ilaw ไม่ได้ทำงานนี้เฉพาะสามจังหวัด ทั่วประเทศไทยมีคนหกสิบกว่าล้านคน อาจจะมีตัวแทนจากสามจังหวัดสักห้าร้อย เชื่อว่าจะต้องมีคนกล้า ที่ผ่านมาถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จแต่สามารถสะท้อนให้รัฐรับรู้ว่า ชาวบ้านไม่เอากับกฎหมายพิเศษที่ใช้อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เขาแสดงสิทธิของตัวเองที่จะพูด บางคนไม่กล้าที่จะพูด

เราสามารถเล่าตัวอย่างเรื่องอื่นๆ การเซ็นชื่อสิ่งที่เคยทำมาแล้ว งานที่ไม่แรง งานสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เล่าถึงกระบวนการทั้งหมด เราเล่าเรื่องธรรมดา ประเทศอื่นเขารณรงค์ยังนี้กันหมดแหละ

ตอนนี้เหมือนในกรุงเทพก็มีที่แดงจัด เราไม่เอากฎหมายทหาร เราไม่ชอบทหาร กรุงเทพมันเหมือนเหลืองแดง เป็นสีที่แบ่งกันแล้ว แต่ในสามจังหวัดก็ยังมีตัวเลือกอยู่ว่า มันเกิดอะไรขึ้น

ไม่ว่าสุดท้ายคุณจะเซ็นหรือไม่เซ็นชื่อกับการยกเลิกกฎหมายก็ตาม วัตถุประสงค์อยู่ที่เนื้อหาของมัน คุณเข้าใจแค่ไหน ส่งผลกระทบอย่างไร ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้เข้าร่วม ทำไมเราไม่ใช้ระบบการรณรงค์ให้รัฐบาลยกเลิกการใช้กฎหมาย

วิทยากร คือ ผมคิดว่า ประเด็นการรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในทางข้อเท็จจริงเราได้นำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นกับประชาชนว่า ได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ส่งผลร้ายกับประชาชนอะไรบ้าง เราก็ได้ทำไปแล้วและเราก็ต้องทำต่อไป อันนี้เป็นสิทธิในระบบที่เรามีในรัฐธรรมนูญ มีการจัดเสวนาบ้าง พูดคุยบ้าง มันยังมีวิธีในระบบที่เราต้องทำ เราทำแล้วรัฐบาลต้องทำ

มันมีหลากหลายวิธีในการที่จะทำ เราก็รู้สึกว่าถ้าทำอะไรให้ได้สุดๆได้ เราก็จะพยายามทำ และค่อนข้างคาดหวังกับคนเล็กกลุ่มน้อยที่มีส่วนในเรื่องนี้กับการเซ็นชื่อก็ต้องมีการติดตามจากสื่อว่า พอเข้าสู่กระบวนการรัฐสภามันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไหม ถ้ามีการร่วมมือร่วมใจจากคนเป็นจำนวนมากหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศให้ความสนใจก็ถือว่าเป็นการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย

ผู้เข้าร่วม วิธีการรณรงค์สามารถทำให้ชาวบ้านมีความปลอดภัยมากที่สุด อย่างกรณีทนายความสมชาย ก็เคยคิดจะมีการล่ารายชื่อประชาชนเหมือนกัน แค่เซ็นชื่อเพื่อให้มีการยกเลิก แต่รู้สึกว่ามันไม่ปลอดภัย

วิทยากร วิธีนี้มันค่อนข้างยุ่งยากนิดหนึ่งแต่มันก็เป็นทางการก็คือว่า มันมีแบบฟอร์มเฉพาะ เซ็นชื่อเสนอยกเลิกกฎหมายเก่า ด้วยวิธีการยกเลิกโดยใช้กฎหมายฉบับใหม่ ให้เราเสนอ แนบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ให้มีชื่อ10,000 ชื่อ สิ่งที่เราสนใจทำกัน ก็มีการพูดเรื่องนี้ไม่เยอะและก็ไม่น้อย เราก็ติดตามไปทุกที่ที่มีคนพูดเรื่องนี้ แล้วก็เปิดเวปไซต์รณรงค์ทางเวปไซต์ ตอนเปิดองค์กรก็มีเวปไซต์ เพื่อเปิดช่องทางในการสื่อสารว่า กฎหมายมีผลกระทบยังไง มีข้อมูลกฎหมายว่ากฎหมายสามฉบับมีข้อดีข้อเสียยังไง คนที่อยู่ภายใต้การบังคับโดยกฎหมายสามฉบับถูกกระทำยังไง คิดว่า คนจะต้องมาอ่านเคลื่อนไหวกันได้ เราทำมาได้ไม่เท่าไหร่ ตอนนี้มีเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในภาคใต้ จึงคิดว่าจะลงพื้นที่พูดคุยกับคนพื้นที่สักหน่อย ว่าเรื่องนี้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้คิดเห็นกันยังไง ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้เข้าร่วม คือ การยกเลิกกฎหมายก็เห็นด้วยก็เรียกร้องมา แล้วก็กระบวนการที่จะขอยกเลิกในส่วนตัวคิดว่ายาก เวลาเราจะทำกิจกรรมในชุมชนก็ต้องเตรียมตัวไปเยอะ การรวบรวมหลักฐานก็ยาก บางทีไม่มีสำเนาบ้าง ไม่มีบัตรประชาชนบ้าง ถ้าใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชนก็พอไหว

วิทยากร เรื่องการพลักดันโดยประชาชนเกิดขึ้นเมื่อ 2540 ตอนนั้นให้ล่ารายชื่อ50,000 ชื่อแล้วก็แนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน จนถัดมารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมองว่าการล่าชื่อ50,000ชื่อมันเยอะมาก ล่าไม่ได้สักที ไม่ครบสักที เปลี่ยนกฎหมายใหม่เป็นล่ารายชื่อ10,000ชื่อ แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายลูก ที่จะกำหนดขั้นตอน มันมีองค์สองสามองค์กรที่ผลักดันว่าให้กฎหมายลูกประคับประคับประคองรัฐธรรมนูญปี52

เราคาดหวังว่าอีกสักหน่อยคงไม่ต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้านแต่ในวันนี้ต้องใช้อยู่

ผู้เข้าร่วม แล้วในการล่ารายชื่อมีขั้นตอนยังไงหละ

วิทยากร ขั้นตอนก็คือ พอเราได้10,000ชื่อแล้ว หน่วยงานที่อยู่ในรัฐสภาที่เป็นหน่วยงานภาคประชาชนเพื่อรับรายชื่อไปพิจารณา ตรวจสอบรายชื่อ จากนั้นจะส่งชื่อไปยังหมู่บ้าน เพื่อสอบถามการยืนยันของผู้ที่เซ็นชื่อเพื่อยกเลิกกฎหมาย และเพื่อสอบถามผู้ที่เซ็นชื่อว่าใช่ลายมือชื่อของตัวเองจริงหรือเปล่าถ้าเป็นการปลอมแปลงรายชื่อรัฐสภามีอำนาจในการคัดค้าน เมื่อผ่านกระบวนการคัดค้านแล้ว เรื่องก็จะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรแล้วก็จะตั้งกรรมาธิการขึ้นมาเป็นกรรมาธิการพิจารณากฎหมาย กรรมาธิการจะมีองค์ประกอบจากภาคประชาชน ซึ่งเป็นผู้เสนอชื่อหนึ่งในสาม เวลาที่เขาผลักดันกฎหมาย ก็ถือว่าดีเพราะมันมีองค์กรภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย แต่ถ้าส่วนใหญ่ของสังคมมองเห็นร่วมกันในการใช้กฎหมายหมายสามฉบับ รัฐอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เราเลือกจะมีหน้าที่ยกมือแสดงความคิดเห็นว่า จะเอาหรือไม่เอากับกฎหมายที่ส่งพิจารณา แต่ก่อนที่จะเอาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยกมือเขาต้องเอาไปตั้งทีมก่อน เพื่อตรวจสอบเนื้อหาว่ามีความเห็นกันยังไง

ilaw ไม่ได้ทำงานนี้เฉพาะสามจังหวัด ทั่วประเทศไทยมีคนหกสิบกว่าล้านคน อาจจะมีตัวแทนจากสามจังหวัดสักห้าร้อย เชื่อว่าจะต้องมีคนกล้า ที่ผ่านมาถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จแต่สามารถสะท้อนให้รัฐรับรู้ว่า ชาวบ้านไม่เอากับกฎหมายพิเศษที่ใช้อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เขาแสดงสิทธิของตัวเองที่จะพูด บางคนไม่กล้าที่จะพูด

เราสามารถเล่าตัวอย่างเรื่องอื่นๆ การเซ็นชื่อสิ่งที่เคยทำมาแล้ว งานที่ไม่แรง งานสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เล่าถึงกระบวนการทั้งหมด เราเล่าเรื่องธรรมดา ประเทศอื่นเขารณรงค์ยังนี้กันหมดแหละ

ตอนนี้เหมือนในกรุงเทพก็มีที่แดงจัด เราไม่เอากฎหมายทหาร เราไม่ชอบทหาร กรุงเทพมันเหมือนเหลืองแดง เป็นสีที่แบ่งกันแล้ว แต่ในสามจังหวัดก็ยังมีตัวเลือกอยู่ว่า มันเกิดอะไรขึ้น

ไม่ว่าสุดท้ายคุณจะเซ็นหรือไม่เซ็นชื่อกับการยกเลิกกฎหมายก็ตาม วัตถุประสงค์อยู่ที่เนื้อหาของมัน คุณเข้าใจแค่ไหน ส่งผลกระทบอย่างไร ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้